บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย 2. เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย 3. เพื่อทดลองรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย 4. เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แบบสอบถามมาตราประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 สำรวจความต้องการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ฉบับที่ 2 สอบถามผลประเมินรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลจากการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ผลการสำรวจความต้องการการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนนั้น พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยสุด ได้แก่ ด้านปัจจัยเอื้อสำหรับการนิเทศ ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ด้านกระบวนการนิเทศ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านวัตถุประสงค์ของการนิเทศ และด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในชั้นเรียน
2. รูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียน วัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย ผู้วิจัยได้นำประเด็นหลัก 8 ประเด็น ได้แก่ ด้านวัตถุประสงค์ของ การนิเทศ ด้านกระบวนการนิเทศ ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้านปัจจัยเอื้อสำหรับการนิเทศ และประเด็นย่อย 64 ประเด็น
3. ผลการทดลองรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย พบว่า ผู้วิจัยร่วมกับโรงเรียนสามารถดำเนินงานตาม กระบวนการในคู่มือการนิเทศชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย คือ ครูผู้สอนมีการประเมินตนเองเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนทุกคนโดยเชิญผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลย่านยาว ไปให้ความรู้แนวทาง การพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับคุณภาพ โรงเรียนวิเคราะห์จุดหรือเรื่องที่ต้องการพัฒนาโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย กำหนดภาพความสำเร็จโดยการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ด้านหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลและการบริหารจัดการชั้นเรียน รวมทั้งวางแนวทางการพัฒนา กำหนดวิธีการที่จะใช้ในการสื่อสาร ภาพความสำเร็จ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สร้างทีมงานที่เข้มแข็ง โดยครูวิชาการของโรงเรียนที่เป็นแกนนำผู้นำการเปลี่ยนแปลง และครูผู้สอนที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงในระยะเริ่มแรกจากข้อมูลการสำรวจความต้องการการนิเทศ ผู้นิเทศสร้างสื่อ เครื่องมือการนิเทศ ดำเนินการนิเทศ และส่งเสริมให้ความสำเร็จระยะสั้น ประเมินติดตามผลการดำเนินงานโดยใช้วิธีการประเมินอย่างสมดุล ขยายผลและสร้างวัฒนธรรมคุณภาพโดยประยุกต์ใช้กระบวนการจัดการความรู้หลังการทดลองใช้ผู้วิจัยได้สอบถามผู้เข้าร่วมการทดลอง
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย พบว่า ผลการตอบแบบสอบถามของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 30 คน ในการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย ที่พัฒนาขึ้น พบว่า ทั้งผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนวัดท่าช้าง จังหวัดสุโขทัย โดยและรายด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการปรับปรุงแก้ไข ด้านการปฏิบัติตามแผน ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านการตรวจสอบการปฏิบัติ ด้านการวางแผน และด้านความถูกต้อง