ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการประเมินผลโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
ของโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี
ผู้รายงาน : นายธีรพัชญ์ ศรีนาเครือธนัต ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี
วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สมุทรปราการ เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา : 2561
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการประเมินผลโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องด้น (Input evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 3) เพื่อประเมินกระบวนการ ( Process evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
4. เพื่อประเมินผลผลิต ( Product evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) 2 ประเภท คือ ครู และนักเรียน ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี มีจำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาวะแวดล้อม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการดำเนินงาน 4) ด้านผลผลิตโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย ซึ่งผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สรุปผลการประเมินโครงการ ได้ดังนี้ 1) การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ผลการประเมินโดยรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านผลผลิตด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านปัจจัยนำเข้า 2) การประเมินสภาวะแวดล้อม ผลการประเมินพบว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หลักการและเหตุผลของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและกิจกรรมและการดำเนินงาน ของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการในด้านทักษะพื้นฐาน ด้านการเกษตรการดำรงชีวิตออย่างมีคุณภาพสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 3) การประเมินปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินพบว่ามีความเพียงพอ เหมาะสม อยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมตามโครงการเป็นผู้มีความรู้ ความสนใจ ความสามารถเหมาะสมและเพียงพอจำนวนบุคลากรที่ดำเนินโครงการมีความเหมาะสม เพียงพอสำหรับการดำเนินโครงการและสถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม และเพียงพอ 4) การประเมินกระบวนการดำเนินงาน ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ การกำหนดขั้นตอนการจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความชัดเจนสาระเนื้อหาตามองค์ประกอบของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความชัดเจน ปฏิบัติได้กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการและการรายงานผลการประเมินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง 5) การประเมินผลผลิต ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ผลการดำเนินกิจกรรมถั่วงอกคอนโดทำให้นักเรียน มีทักษะพื้นฐานในการปลูกพืชผลการดำเนินกิจกรรมพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ทำให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ผลการดำเนินกิจกรรมถั่วงอกคอนโดทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในครอบครัวของตนเองได้ และผลการดำเนินกิจกรรมสมุนไพรใกล้ตัวทำให้นักเรียนได้รู้จักสมุนไพรที่ใช้ในครัวเรือนของตนเอง