การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.5 ขึ้นไป
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยการใช้ชุดกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 3 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม จำนวน 30 คน ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ชุดกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม จำนวน 16 แผน จัดกิจกรรมการเรียนรู้รวมเวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุดกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่างค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.24 ถึง 0.70 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ