ชื่อเรื่อง กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ชื่อผู้รายงาน นาย ชูชาติ แปลงล้วน
ปีการศึกษา 2562
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง 1 (AC 1) จังหวัดเชียงราย 20 โรงเรียน จำนวน 244 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน จำนวน 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดย 1) ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาการศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน 3) ยกร่างกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และ 4) ตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของกระบวนการ พัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยใช้การจัดประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน จากนั้นนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขเป็นกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายที่สมบูรณ์ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 7 ขั้นตอน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง 1 (AC 1) จังหวัดเชียงราย 20 โรงเรียน จำนวน 244 คน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล ได้แก่ การประเมินคุณภาพนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และการประเมินด้านวิชาชีพครู ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การสรุปทักษะและประสบการณ์ของครูที่ได้รับ และการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง 1 (AC 1) จังหวัดเชียงราย 20 โรงเรียน จำนวน 244 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน จำนวน 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพก่อนเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาในภาพรวมมีอยู่ในระดับมาก 2) สภาพปัจจุบันในการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในมากที่สุด และ 3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในภาพรวมมีความต้องการจำเป็นอยู่ในมากที่สุด
2. กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ปัจจัย (Input) 4) กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Process) 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นให้ความรู้ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นวางแผน ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นนิเทศและติดตามผล ขั้นประเมินผล ขั้นขยายผลสู่ชุมชน 5) ผลลัพธ์/ผลการพัฒนา (Output) และ 6) ปัจจัยความสำเร็จ
3. ผลการทดลองใช้กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 7 ขั้นตอน พบว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และระดับการศึกษาปฐมวัย ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา วางแผนการจัดการเรียนรู้ ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน สังเกตและสะท้อนผล และปรับปรุงใหม่ จนทำให้ได้นวัตกรรม คือ แผนการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมการสอน จำนวน 32 ชิ้น ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป
4. ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า 1) ในภาพรวมนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในภาพรวมมีอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ครูมีทักษะและประสบการณ์การออกแบบการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกัน 4) ความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด