ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถม

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถ

ในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชื่อผู้วิจัย นายสะมะแอ บินเง๊าะ

หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดประชาภิรมย์) สำนักการศึกษา เทศบาลเมือง

นราธิวาส อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

ปีที่พิมพ์ 2561

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ / = 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดประชาภิรมย์) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 5) แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 6) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่า ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t - test แบบ dependent และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการพัฒนาพบว่า

1. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นี้มีชื่อเรียกว่า “PLOASE Model” โดยมี

องค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่เสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นจูงใจในการเรียน (Preparing and Motivating step : P) 2) ขั้นเรียนรู้กระบวนการคิดโดยฝึกปฏิบัติ (Learning Thinking by Practice step : L) 3) ขั้นจัดระเบียบความรู้ (Organization Knowledge step : O) 4) ขั้นประยุกต์ใช้กระบวนการคิด (Applying Thinking Process step : A) 5) ขั้นสรุป (Summarizing step : S)

และ 6) ขั้นประเมินผล (Evaluating step : E) ค่าประสิทธิภาพ ( / ) ของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 82.25/81.08 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่สอดด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียน

การสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติการคิดด้วยเองและร่วมกันเรียนรู้กับผู้อื่น ครูเรียงเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมและนักเรียนสามารถสรุปความรู้เชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนและกำหนดให้ความสามารถในการคิดเป็นสมรรถนะหนึ่งในสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การพัฒนาผู้เรียน ประเด็นหลักของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นอยู่ที่เป้าหมาย นั่นคือ คุณภาพของผู้เรียน ผู้สอนจะใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แต่สิ่งที่ต้องยึดถือไว้คือเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด 4 ประการ ได้แก่ 1) มีวิธีคิดระดับสูง เช่น คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ 2) มีวิธีการเรียนรู้หรือเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถสืบเสาะแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม 3) มีทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนมีทักษะสังคม 4) มีสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล, 2552 : 94-95) การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องพัฒนาให้ถึงมาตรฐานและตัวชี้วัด ดังนั้นในกระบวนการควบคู่กับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม โดยเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ คือการพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักคิด มีเหตุมีผล สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาและการทำงานในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2552 : 99) การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานของความเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาเต็มตามศักยภาพและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลผู้เรียนต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการคิดแก้ปัญหาเป็นกระบวนการเรียนรู้หนึ่งที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน ซึ่งความสามารถในการคิดและความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและเป็นมาตรฐานหนึ่งในทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาให้เกิดขึ้น ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างและทักษะการคิดประเภทอื่น ๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า เพื่อช่วยให้การคิดแก้ปัญหาประสบความสำเร็จ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการคิดแก้ปัญหาที่ควรได้รับการสอนและฝึกฝนพัฒนาควบคู่กับทักษะการคิดได้แก่ การเข้าใจปัญหาคณิตศาสตร์ การรู้จักขั้นตอนหรือกระบวนการแก้ปัญหา รู้จักจุดอ่อนหรือปัจจัยที่ทำให้มีปัญหาในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์นั้นมีหลายวิธี เช่น ผู้สอนสามารถใช้วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving Method) ซึ่งเป็นวิธีสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างมีหลักการ มีลำดับขั้นตอน เป็นวิธีการคิดที่สามารถสอดแทรกอยู่ในวิธีสอนทุกวิธี ไม่ว่าครูผู้สอนจะเลือกวิธีสอนใดในการเรียนคณิตศาสตร์ก็ต้องเป็นการแก้ปัญหาทั้งสิ้น ซึ่งผู้สอนจะต้องรู้กลวิธีและเทคนิคการสอนที่หลากหลายในการเน้นจุดสำคัญและลำดับขั้นการแก้ปัญหา สร้างและเร้าความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้คิดตามฝึกใช้ทักษะทางกระบวนการคิดจนสามารถคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ เพื่อให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรและพัฒนาด้วยตนเองให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนด ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และนำไปใช้ในการคิดแก้ปัญหาอื่น ๆ ต่อไป ครูผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญกับเทคนิควิธีสอนหรือวิธีจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนมีพลังในการเรียนรู้ รู้วิธีเรียน (Learning How to Learn) ก่อให้เกิดแนวทางในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องบนพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ หลักการ แนวคิด การจัดการเรียนการสอนและผลการวิจัยรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นระบบแสดงให้เห็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำหรับการสอนอย่างมืออาชีพ การนำวิธีการเชิงระบบ (System approach) มาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน เรียกว่า การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design : ISD) สอดคล้องกับที่ กาญจนา คุณารักษ์ (2552 : 7) ได้ให้นิยามของการออกแบบการเรียนการสอนว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์สถานการณ์หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย โดยอาศัยความรู้จากหลาย ๆ ทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฏีการเรียนการสอน ทฤษฏีการติดต่อสื่อสาร และได้ให้แนวคิดว่าความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ ด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคลและมนุษย์โดยทั่วไป และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร ซึ่งวิธีการออกแบบการเรียนการสอนโดยการใช้วิธีการเชิงระบบด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผล โดยเริ่มจากการประเมินความต้องการจำเป็น การระบุปัญหาการทำปัญหาให้ชัดเจน การวางแผนสำหรับการแก้ไขปัญหานั้น ตลอดจนทดสอบการแก้ปัญหาแล้วปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา แล้วจึงเริ่มต้นออกแบบการเรียนการสอนใหม่อีก ซึ่งหากมีการนำวิธีการเชิงระบบมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนก็จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะระบบจะช่วยให้ครูมีความเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องของส่วนประกอบของการเรียนการสอนในระบบโดยตลอดและรวดเร็ว การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบจึงเป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีทั้งศิลป์และศาสตร์ในการสอน โดยสรุปแล้วการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะนำไปสู่การพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพแบบองค์รวม การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการนำวิธีการเชิงระบบ (System Approach) มาใช้ในการออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนพื้นฐานของหลักการ แนวคิด ทฤษฏีและผลการวิจัย โดยการประเมินความต้องการจำเป็น ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง ระบุปัญหา กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการประเมินผล ซึ่งวิธีการเชิงระบบเป็นกระบวนการที่ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีประสิทธิผล (Effectiveness) ขั้นตอนของการออกแบบเป็นกระบวนการเชิงระบบที่ประกอบด้วยการวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้และการประเมินผล จึงเป็นกระบวนการของการแก้ปัญหาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าทำให้การจัดการเรียนการสอนของครูดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีขั้นตอน กระบวนการที่ชัดเจนและสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน การศึกษาในทุกกลุ่มสาระไม่ใช่เพียงเพื่อชีวิตในปัจจุบันเท่านั้น แต่เป็นชีวิตในอนาคตด้วย ครูจึงควรสามารถช่วยให้นักเรียนมีรูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เพื่อค้นพบวิธีการเรียน การมีประสบการณ์ ทัศนะการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายวิธีจะทำให้นักเรียนได้พัฒนา ไม่ติดอยู่ในกรอบเดิม ทั้งนี้ไม่มีรูปแบบการสอนใดที่เป็นระบบหรือการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเป็นหนทางหนึ่งที่จะสร้างระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะการสอนที่เป็นระบบ คือการสอนที่พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพแบบองค์รวมซึ่งดำเนินการตามหลักการ แนวคิด ทฤษฏีการเรียนรู้ ที่เป็นที่ยอมรับและมีผลการวิจัยรองรับหัวใจสำคัญคือ สอนให้นักเรียนเรียนรู้เป็น ไม่ใช่สอนให้นักเรียนรู้แต่เพียงเนื้อหา สอนให้นักเรียนมีความสามารถในการเรียนแบะมีประสิทธิผลในอนาคต (Joyce, Weil and Calhoun, 2009 : 6) การสอนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากจะมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจแล้วยังต้องให้ได้ผลสะท้อนกลับไปสู่ตัวผู้เรียน สะสมทีละเล็กละน้อยให้มีพัฒนาการที่ได้ผลออกมาเป็นนามธรรม เช่น ความเป็นผู้มีเหตุผล มีวิจารณญาณ มีความละเอียด สุขุม รอบคอบในการทำโจทย์คณิตศาสตร์ผู้เรียนจะต้องมีความละเอียดรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ทำให้ได้คำตอบถูกต้องสมบูรณ์ เกิดเป็นอุปนิสัยประจำตัว ความเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบที่ดี เฉลียงฉลาดเพราะในการทำโจทย์คณิตศาสตร์ต้องอาศัยเทคนิควิธีการ ความรู้ในเนื้อหาต่าง ๆ มากมายในการแก้ปัญหาโจทย์ ต้องสามารถพลิกเพลงประยุกต์ได้ การที่นักเรียนจะได้คุณสมบัติเหล่านี้จากการเรียนคณิตศาสตร์ ครูจะต้องสอนให้นักเรียนคิด สอนให้เกิดแนวคิด ไม่ใช่สอนเพียงเพื่อให้ผู้เรียนจดจำวิธีการ ขั้นตอน แล้วให้เลียนแบบเท่านั้น การสอนวิธีทำหรือให้แสดงวิธีทำ วิธีคิด เป็นวิธีการหาคำตอบโดยอาศัยการกระทำทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน คือ การบวก การลบ การคูณและการหารแต่ก่อนที่จะแสดงวิธีทำได้ นักเรียนจะต้องเกิดแนวคิดเชื่อมโยงไปสู่วิธีทำ ช่วยให้เข้าใจว่าทำไมจึงมีวิธีทำเช่นนั้น ครูจะต้องพยายามแสดงเหตุผลหรืออธิบาย แสดงให้นักเรียนเห็นที่มาของวิธีทำให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติควบคู่กันไปและได้ร่วมกันคิด วิธีคิดจะต้องมีความสัมพันธ์กันในแง่ที่แสดงให้เห็นว่าวิธีทำนั้นเป็นการกระทำทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้การคิดคำนวณถูกต้องรวดเร็ว โดยวิธีทำนั้นได้มาจากการใช้แนวคิดและหลักการ การที่นักเรียนได้เริ่มต้นเรียนรู้จากแนวคิดและหลักการไปสู่วิธีทำ จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจได้อย่างชัดเจน มีความคงทนในการจดจำ หลักเกณฑ์ กระบวนการต่าง ๆ ที่ใช้ในการแก้ปัญหา เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เกิดความมั่นใจ มีหลักการในการแก้ปัญหา วัชรา เล่าเรียนดี (2554 : 1-2) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิด การเรียนรู้เพียงเพื่อความรู้ ความจำ ความเข้าใจและการนำไปใช้ในห้องเรียนเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนเจริญเติบโตขึ้นเป็นบุคคลที่เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไปได้ เนื่องจากขาดความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขาดความสามารถในการคิด การใช้ความรู้ในสถานการณ์จริงและวิธีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างต่อเนื่องและจริงจังจะช่วยให้ผู้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น แก้ปัญหาเป็นอย่างสร้างสรรค์ ครูซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการเรียนรู้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills) ซึ่งเป็นความสามารถและความคล่องแคล่วในการคิด ทักษะการคิดสามารถพัฒนาได้ตามลำดับขั้นตอนจากการใช้คำถามของครู ให้นักเรียนฝึกคิดให้เหตุผลง่าย ๆ การสร้างความคิดรวบยอดไปจนถึงการคิดที่สร้างสรรค์และหลากหลายในการนำไปใช้ในสภาพการณ์จริง ที่สำคัญการคิดต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ เป็นพื้นฐาน เพราะการมีข้อมูลหรือรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดได้ดีกว่าการไม่รู้เรื่องนั้นเลย ดังนั้น การฝึกทักษะการคิดโดยบูรณาการกับเนื้อหาสาระในหลักสูตรจะช่วยให้การเรียนรู้ในเนื้อหาสาระนั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น (Meaningful Knowledge)

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด หลักการและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด หลักการและทฤษฏีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ การวิจัยและพัฒนา การออกแบบระบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และทฤษฏีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

กรอบแนวคิดในการวิจัยดังกล่าวได้ดังแผนภาพ 1

แผนภาพ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริม

ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ / = 80/80

2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

สมมติฐานของการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมมติฐานของการวิจัยดังนี้

1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๕

(วัดประชาภิรมย์) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 24 คน

2. ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยตัวแปร 2 ประเภท คือ

2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ

2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่

2.2.1 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

2.2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน

3. เนื้อหา

เนื้อหาที่นำมาสร้างแผนการสอนเป็นเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 จำนวน 18 ชั่วโมง ได้แก่ หน่วยที่ 15 การแก้โจทย์ปัญหา

4. ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา

.ใช้ระยะเวลาในการทดลองสอน ตามรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ โดยภาพรวม ก่อนการทดลอง (Pretest) และหลังดำเนินการทดลองจนเสร็จสิ้นแล้ว (Posttest) โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent)

2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนการทดลอง (Pretest) และหลังดำเนินการทดลองจนเสร็จสิ้นแล้ว (Posttest) โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent)

3. เปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนการทดลอง (Pretest) และ

หลังดำเนินการทดลองจนเสร็จสิ้นแล้ว (Posttest) โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent)

4. เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลอง (Pretest) และหลังดำเนินการทดลองจนเสร็จสิ้นแล้ว (Posttest) โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent)

5. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

สรุปผลการวิจัย

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “PLOASE Model”

โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุนรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นจูงใจในการเรียน (Preparing and Motivating Step : P) 2) ขั้นเรียนรู้กระบวนการคิดโดยฝึกปฏิบัติ (Learning Thinking by Practice Step : L) 3) ขั้นจัดระเบียบความรู้ (Organization Knowledge Step : O) 4) ขั้นประยุกต์ใช้กระบวนการคิด (Applying Thinking Process Step : A) 5) ขั้นสรุป (Summarizing Step : S) 6) ขั้นประเมินผล (Evaluating Step : E) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้องสอดคล้องกัน (IOC = 1.00) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ ( / ) แบบกลุ่มใหญ่ (Filed Tryout) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๖ (ถนนโคกเคียน) จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 82.25/81.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1

2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทั้ง 3 ด้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านหลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

2.2 ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

2.3 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 , = 0.49) ส่วนความพึงพอใจรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านประโยชน์ของรูปแบบการเรียนการสอน ( = 4.71 , = 0.47) รองลงมา ได้แก่ ด้านตัวครูผู้สอน ( = 4.68 , = 0.47) รองลงมา ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( = 4.65 , = 0.50) และด้านวัดและประเมินผล ( = 4.50 , = 0.54) เป็นลำดับสุดท้าย

ข้อเสนอแนะ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตสาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เสนอแนะได้ดังนี้

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. จากผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการคิด ผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อนำรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง โดยเน้นการสอนทักษะการคิดควบคู่ไปกับเนื้อหาสาระคณิตศาสตร์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ครูควรเตรียมแหล่งข้อมูลในการค้นคว้าที่หลาหลายไว้ล่วงหน้า เช่น หนังสือจาหลากหลายสำนักพิมพ์ที่เชื่อถือได้ บุคคลที่มีความรู้ คอมพิวเตอร์พร้อมอินเตอร์เน็ต โดยครูต้องศึกษาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องสอดคล้องกับปัญหาหรือข้อคำถามที่นำมาเป็นบทเรียนอย่างจริงจัง นอกจากนี้ต้องฝึกนักเรียนให้กำกับการเรียนรู้ของตนเอง โดยครูคอบดุแล แนะนำ ช่วยเหลือในการเรียนรู้ให้เป็นไปตามขั้นตอน อีกทั้งส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพราะมีการเรียนเป็นกลุ่ม ฝึกคิดแก้ปัญหา ทดลองเป็นกลุ่ม ครูควรแนะนำให้นักเรียนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนในการทำงานกลุ่มและให้ทุกคนในกลุ่มมีบทบาท มีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ครูควรแนะนำขยายความเข้าใจในการคิดทุกขั้นตอน กระตุ้นเสริมแรงให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ชมเชยเมื่อผู้เรียนมีความก้าวหน้ามากขึ้นจากเดิม ประเมินผลการเรียนระหว่างเรียนและสิ้นสุดการเรียน ครูต้องจัดเนื้อหาให้บูรณาการเชื่อมโยงกันและจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง

2. จากผลการวิจัย พบว่า ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนทักษะการคิดอยู่ในระดับสูงทุกรายการ แต่ทักษะในการระบุปัญหาได้อย่างชัดเจนถูกต้อง อยู่ในระดับต่ำที่สุด ดังนั้น ครูผู้สอนที่จะใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณควรเน้นฝึกให้นักเรียนประเมินข้อมูลในด้านความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือและความเพียงพอและฝึกการตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลให้มากขึ้น ซึ่งระยะแรกควรให้เวลาในการคิดอย่างเพียงพอและควรให้นักเรียนมุ่งมั่นและตระหนักถึงความสำเร็จในการคิดปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและควนยกตัวอย่างสถานการณ์ในการคิดที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียน

3. จากผลการวิจัย พบว่า ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเกิดขึ้นเรียงตามลำดับจากทักษะขั้นต้นไปถึงขั้นสูงตามพัฒนาการตามวัยของนักเรียน ดังนั้นครูจะนำรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นี้ไปใช้ควรคำนึงถึงทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้แต่ละแผน เน้นการปฏิบัติจริง พัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปอย่างช้า และพัฒนาสม่ำเสมอ โดยครูควรใส่ใจพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ขั้นต้นให้มาก ตั้งแต่ช่วงแรก เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ต่าง ให้เข้าใจอย่างถูกต้องและแม่นยำตามลำดับทักษะที่ต้องการพัฒนา

4. จากผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้มีการปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติการคิดด้วยตนเองและร่วมกันเรียนรู้กับผู้อื่น รูปแบบการเรียนการสอนมีการเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมและสรุปความรู้เชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สำหรับครูที่นำรูปแบบการเรียนการสอนนี้ไปใช้ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ถูกต้องตามขั้นตอน ควรเตรียมแหล่งรู้ให้นักเรียนค้นคว้าอย่างเพียงพอ ให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองและทำงานเป็นกลุ่ม

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

1. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณสามารถพัฒนาทั้งการคิด ผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไปจึงควรพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาอื่น เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นต้น โดยมุ่งเน้นทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นของวิชานั้น ๆ เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นี้ได้ศึกษาตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับความแตกต่างของตัวแปร เช่น นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันจะมีทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันด้วย

3. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นี้มีการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแล้ว ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาการวัดเจตคติ ความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนควบคู่กันด้วย

โพสต์โดย แอร์ : [6 ส.ค. 2563 เวลา 06:00 น.]
อ่าน [3766] ไอพี : 171.7.250.46
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 32,066 ครั้ง
ปวดหัว แก้ด้วยวารีบำบัด
ปวดหัว แก้ด้วยวารีบำบัด

เปิดอ่าน 25,763 ครั้ง
เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์

เปิดอ่าน 15,968 ครั้ง
ที่สุดของดาราศาสตร์
ที่สุดของดาราศาสตร์

เปิดอ่าน 23,858 ครั้ง
ก้อนอะไรกลมๆ บนดาวอังคาร?
ก้อนอะไรกลมๆ บนดาวอังคาร?

เปิดอ่าน 17,478 ครั้ง
อำลาโทรเลขไทย 133 ปี
อำลาโทรเลขไทย 133 ปี

เปิดอ่าน 30,027 ครั้ง
ภาพกีฬามันๆ โหด มัน ฮา ตลก ขำๆ มาดูกันคลายเครียด
ภาพกีฬามันๆ โหด มัน ฮา ตลก ขำๆ มาดูกันคลายเครียด

เปิดอ่าน 10,977 ครั้ง
นอร์เวย์มอบรางวัลไทย ปท.น่าเที่ยวที่สุด6ปีซ้อน
นอร์เวย์มอบรางวัลไทย ปท.น่าเที่ยวที่สุด6ปีซ้อน

เปิดอ่าน 12,650 ครั้ง
แรงบิดและแรงม้า
แรงบิดและแรงม้า

เปิดอ่าน 1,046 ครั้ง
Blog คืออะไร
Blog คืออะไร

เปิดอ่าน 44,752 ครั้ง
เช็ดตัวลดไข้ ใช้ "น้ำอุ่น" หรือ"น้ำเย็น"?
เช็ดตัวลดไข้ ใช้ "น้ำอุ่น" หรือ"น้ำเย็น"?

เปิดอ่าน 10,965 ครั้ง
บั๊กในลินุกซ์รุ่นใหม่อาจทำให้การ์ดแลนเสียถาวร
บั๊กในลินุกซ์รุ่นใหม่อาจทำให้การ์ดแลนเสียถาวร

เปิดอ่าน 8,449 ครั้ง
ยูฟ่าประกาศห้ามทรูวิชั่นส์ถ่ายทอดบอลยูโร
ยูฟ่าประกาศห้ามทรูวิชั่นส์ถ่ายทอดบอลยูโร

เปิดอ่าน 10,126 ครั้ง
ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" ว่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" ว่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?

เปิดอ่าน 26,724 ครั้ง
การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ
การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ

เปิดอ่าน 10,797 ครั้ง
แนวทางการพัฒนาและประเมินค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
แนวทางการพัฒนาและประเมินค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

เปิดอ่าน 15,711 ครั้ง
ผลิตพืชอินทรีย์ / สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง
ผลิตพืชอินทรีย์ / สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง
เปิดอ่าน 23,663 ครั้ง
อันตรายจากการกินของดอง
อันตรายจากการกินของดอง
เปิดอ่าน 9,742 ครั้ง
หัวเราะฮา ฮ่า เป็นยาวิเศษ!!
หัวเราะฮา ฮ่า เป็นยาวิเศษ!!
เปิดอ่าน 15,360 ครั้ง
คอกาแฟมีหวังอายุยืนกว่าคนไม่ดื่ม ช่วยป้องกันภัยโรคหัวใจหลอดเลือด
คอกาแฟมีหวังอายุยืนกว่าคนไม่ดื่ม ช่วยป้องกันภัยโรคหัวใจหลอดเลือด
เปิดอ่าน 15,063 ครั้ง
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ