ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาข

ชื่อผลงาน การพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล

๓.๑ ความเป็นมา และความสำคัญ

๑) ความเป็นมาและสภาพปัญหา

การศึกษาเป็นกระบวนการของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เจริญงอกงาม เป็นการพัฒนาสังคม พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน การพัฒนาคนไทยยุคใหม่ จึงต้องสร้างและเตรียมเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๖๑) คือ พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ได้ด้วยตนเองแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถสื่อสาร คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร มีศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกและความภูมิใจความเป็นไทย (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. ๒๕๕๒) และตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ ก็ได้ให้ความสำคัญของการคิดโดยกำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายว่า เมื่อจบการศึกษาแล้วผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิดและการแก้ปัญหา และกำหนดสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนข้อที่ ๒ ระบุถึงความสามารถในการคิดในเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๕๑)

การคิดสร้างสรรค์มีความจำเป็นในโลกที่มีการสื่อสารเชื่อมโยงอย่างทั่วถึงและมีความสำคัญในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เพื่อจะสามารถประสบความสำเร็จในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้คนใช้ความคิดจากมุมมองที่แตกต่างออกไป คิดแบบทำลายรูปแบบการคิดแบบเดิมๆ คิดแบบฉีกออกจากกฎเกณฑ์เก่าๆ โดยใช้จินตนาการเพื่อก่อให้เกิดความเป็นไปได้ ทั้งนี้การที่เราไม่สามารถคิดหรือเกิดความคิดสร้างสรรค์หรือความคิดใหม่ๆ นั้น เป็นเพราะเรายึดติดกับสิ่งที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวันมากเกินไป จนไม่อาจเปลี่ยนมุมมองและวิธีการในการมองโลกหรือมองปัญหาในแง่มุมที่แตกต่างได้ (คงรัฐ นวลแปง. ๒๕๕๔) โดยอาศัยความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ อันจะทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงหรือต่ำ ปัจจัยที่สำคัญคือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ ความหมายใหม่หรือเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการบูรณาการระหว่างความรู้เดิมที่มีอยู่กับสิ่งพบเห็น เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง จากสภาพแวดล้อมแล้วทำให้ผู้เรียนที่มีการปรับเปลี่ยนความรู้ความคิดให้สอดคล้องกับประสบการณ์มากขึ้น โดยความรู้สร้างขึ้นเกิดจากการนำความรู้เดิมเป็นฐานแล้วนำมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ที่ได้รับอย่างสัมพันธ์กัน

จากผลการติดตามและประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังไม่เป็นที่พอใจ พิจารณาจากคะแนน O-Net ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ของนักเรียน ม.๓ และ ม.๖ ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เกือบทุกวิชา ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทั้ง ม.๓ และ ม.๖ พบว่าได้ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เช่นกัน สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล พบปัญหาและอุปสรรคทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการคิด และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่อยู่ในระดับที่ต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนา (โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล. 2562) อีกทั้งการจัดการเรียนรู้โดยการมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนั้น ส่วนใหญ่นักเรียนจะใช้วิธีการคัดลอกกับเพื่อน คัดลอกตามหนังสือ ไม่ได้เกิดการค้นคว้าด้วยตัวเอง ซึ่งขาดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ การสังเคราะห์เนื้อหาให้เป็นข้อสรุปหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้ รวมถึงสิ่งที่นำเสนอนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่นักเรียนมีความเข้าใจอย่างแท้จริง สังเกตได้จากการซักถามนักเรียนเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ พบว่าหลายๆ ครั้งนักเรียนไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้ามาได้ จากการซักถามเพิ่มเติมพบว่าสาเหตุนั้นเกิดจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้อยู่ยังไม่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงยังไม่ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้และการคิดอย่างสร้างสรรค์เท่าที่ควร ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักเรียนยังขาดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการกลุ่ม

๒) แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา

แนวทางหนึ่งที่โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล โดยความร่วมมือของคุรุสภา ได้ร่วมดำเนินการผ่านโครงการการพัฒนางานวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน (Professional Learning Community: PLC) จนประสบความสำเร็จ คือ การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบสอบด้วยการทำงานกลุ่ม หรือเป็นทีม หรือเรียกว่าการเรียนรู้แบบร่วมพลัง ด้วยเหตุผลเราะแนวการสอนดังกล่าวเน้นให้นักเรียนสืบสอบ หรือแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ ซึ่งต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และการวิเคราะห์เป็นหลัก และการเรียนรู้แบบร่วมพลังคือทำงานเป็นกลุ่มอย่างมีคุณภาพ กำหนดหน้าที่ชัดเจน ร่วมกันทำงานอย่างร่วมมือร่วมใจดูแลกันและกัน โดยประยุกต์ใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการดำเนินงาน ในลักษณะวงจรคุณภาพแบบประยุกต์ ๓ วงรอบ

ดังนั้น จึงได้พัฒนาการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล ภายใต้รูปแบบการเรียนปกติ (Onsite) ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ขึ้น

๓.๒ จุดประสงค์และเป้าหมาย

จุดประสงค์

๑) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

๒) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

๓) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๑ ห้องเรียน เป็นประชากรทั้งหมดจำนวน ๑๔ คน ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ (๓Rs๘Cs) และคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามเกณฑ์ที่กำหนด

๓.๓ กระบวนการ หรือขั้นตอน

๑) การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม

การพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล ได้อาศัยหลักการและแนวคิดในการออกแบบและพัฒนา ดังนี้

๑.๑) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) คือ การรวมกลุ่มของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาในลักษณะของชุมชนทางวิชาชีพที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การถอดบทเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชุมชนแห่งการเรียนรู้มีลักษณะเฉพาะดังนี้ ๑.การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง ๒.มีวัฒนธรรมการร่วมพลังเป็นการร่วมมือร่วมพลังของผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และชุมชน ๓.เป็นการให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน หรือผลการเรียนรู้ของนักเรียน ๔.มีการแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งการศึกษาแบบเยี่ยมเยียนเพื่อเปิดโลกทัศน์ และ ๕.มีการสะท้อนคิดด้วยสุนทรียสนทนา โดยมีกระบวนการเริ่มด้วยการสร้างทีม การเลือกปัญหา การประชุม/การออกแบบบทเรียน การลงมือปฏิบัติ และการสะท้อนผล

๑.๒) การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson study) คือ การพัฒนาครูวิชาชีพที่ว่าด้วยการพัฒนาตนเองของครู ในบริบทการทำงานจริงในชั้นเรียนและในโรงเรียนของตนผ่านการทำงานแบบรวมพลังของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งดำเนินงานโดยร่วมกันเลือกบทเรียนที่ต้องการสอนมาทำการศึกษาตามขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันประกอบด้วย ๑.การวิเคราะห์ (Analyze) เป็นการวิเคราะห์แบบรวมพลังในเนื้อหาที่จะจัดการเรียนรู้และวิเคราะห์ตัวชี้วัดของมาตรฐานการเรียนรู้ ๒.การวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้อย่างรวมพลังเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓.การปฏิบัติและสังเกต (Do & See) เป็นขั้นตอนที่ผู้วางแผนปฏิบัติการเรียนการสอนตามแผน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพรวมพลังสังเกตพฤติกรรมการเรียนของกลุ่มนักเรียนที่จัดแบบคละเพศและคละความสามารถ ๔.การสะท้อนคิด (Reflect) เป็นขั้นที่ครูผู้วางแผนและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพรวมพลังสะท้อนคิดด้วยการสนทนาแบบสุนทรียสนทนา โดยเน้นที่ผลลัพธ์ของนักเรียน และ ๕.การออกแบบใหม่ (Redesign) เป็นขั้นที่ชุมชนแห่งการเรียนรู้นำข้อมูลข้อคิดจากการสะท้อนคิดแบบรวมพลัง มาแนะนำให้ผู้สอนปรับแผนการจัดการเรียนรู้ในฉบับนั้น และแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเขียนแผน โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่เพื่อแก้ปัญหานักเรียนให้ได้ผลลัพธ์ตามกำหนด

๑.๓) กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Collaborative 5 STEPs) เป็นแนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งประยุกต์ใช้ความรู้ได้บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบทำงานกลุ่มรวมพลัง โดยทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน เด็กเก่งช่วยเด็กเรียนช้ากว่า เด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อยกว่า เพื่อให้มีความสุขในการเรียน บทบาทของผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ ส่วนบทบาทของครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑.ขั้นเสนอสิ่งเร้าและระบุคำถามสำคัญอย่างร่วมพลัง ๒.ขั้นแสวงหาสารสนเทศและวิเคราะห์อย่างรวมพลัง ๓.ขั้นรวมพลังอภิปรายและสร้างความรู้ ๔.ขั้นสื่อสารและสะท้อนคิดอย่างรวมพลัง และ ๕.ขั้นประยุกต์และตอบแทนสังคม

๑.๔) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง ปลูกฝัง และเสริมสร้าง วิธีการคิดและคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓ หลักการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนพื้นฐานการใช้ความรู้ ซึ่งรวมถึงความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน ความเพียร มีน้ำใจ การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต และใช้ความรู้ทางหลักวิชาการอย่างรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อการนำสู่การพัฒนาตนให้ชีวิตก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงใน ๔ มิติ ได้แก่ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยยึดการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง Version ๓.๓ ของศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ

๑.๕) คุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ คือ การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การเรียนรู้ ๓Rs8Cs ได้แก่

(๑) คุณลักษณะการเรียนรู้ ๓Rs ประกอบด้วย การอ่าน (Reading) การเขียน (Writing) การใช้ตัวเลข (Arithmetic)

(๒) ทักษะการเรียนรู้ ๘Cs ประกอบด้วย ๑.ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ๒.ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ๓.ทักษะด้านความเข้าใจความแตกต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ๔.ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration Teamwork and Leadership) ๕.ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications Information and Media Literacy) ๖.ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ๗.ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และ ๘.ความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม และจริยธรรม (Compassion)

๒) การดำเนินงานตามกิจกรรม

การดำเนินงานตามการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๔ มีการประยุกต์ใช้กระบวนการตามแนวเดมมิ่ง (Demming Approach) คือ PDCA ร่วมกับกระบวนการ PLC ดังนี้

การวางแผน (Plan)

ขั้นตอนที่ ๑ การสร้างและพัฒนาทีม PLC โดยมีดำเนินการวางแผนพัฒนาตนเองของครูมืออาชีพ (ID Plan) มีการศึกษาความรู้เพิ่มเติมโดยการประชุมการจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการบ่มเพาะคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามโครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในวันที่ ๒๒ – ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ และรวมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สมาชิกประกอบด้วย

๑) นางวิลานี ศรีมุกดา ตำแหน่ง ครู บทบาทครูผู้วางแผน (Model T.)

๒) นางจุฬารัตน์ ศรีสุนาครัว ตำแหน่ง ครู บทบาทครูผู้ร่วมวางแผน (Buddy T.)

๓) นายมานพ ศรีจันเทพ ตำแหน่ง ครู บทบาทครูผู้ร่วมวางแผน (Buddy T.)

๔) นางปภิชญา ดำวรรณ ตำแหน่ง ครู บทบาทพี่เลี้ยง (Mentor T.)

๕) นายอนุพงษ์ ชุมแวงวาปี ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน บทบาทที่ปรึกษา

๖) นายสนิท มหาโยธี ตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา บทบาทผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นตอนที่ ๒ การวิเคราะห์และเลือกปัญหา (Analyze) โดยการวิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์และเสนอประเด็นปัญหาหรือประเด็นในการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียน จากนั้นพัฒนาแผนการจัดการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ จำนวน ๖ แผน รวมทั้งหมด ๑๒ ชั่วโมง เป็นการวางแผนการออกแบบการเรียนรู้ระหว่างครูผู้วางแผน (Model T.) กับครูผู้ร่วมวางแผน (Buddy T.)

ขั้นตอนที่ ๓ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) โดยกลุ่ม PLC ซึ่งประกอบด้วย ครูผู้วางแผน ครูผู้ร่วมวางแผน พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกันวางแผนและให้การชี้แนะ และคำปรึกษาในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการวางแผนเรื่องการจัดการชั้นเรียนตามมาตรการป้องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) การจัดโต๊ะเรียนแบบเป็นกลุ่ม การเตรียมสื่อการเรียนรู้ และเครื่องมือในการวัดและประเมินผลคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียน

การลงมือปฏิบัติ (Do)

ขั้นตอนที่ ๔ การปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Do & See) นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างไปปฏิบัติการจัดการเรียนรู้โดยมีกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมสังเกตการณ์ ครูผู้สอนเขียนบันทึกหลังการสอน โดยมีรายละเอียดการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

แผนที่ ๑ เรื่อง โครงสร้างไต และการทำงานของไต สอนวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓

แผนที่ ๒ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารในร่างกาย สอนวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓

แผนที่ ๓ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของกรด-เบส ของเลือด สอนวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓

แผนที่ ๔ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกาย สอนวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓

แผนที่ ๕ เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน สอนวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๓

แผนที่ ๖ เรื่อง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน สอนวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๓

การตรวจสอบ (Check)

ขั้นตอนที่ ๕ การสะท้อนความคิด (Reflect) กลุ่ม PLC ซึ่งประกอบด้วย ครูผู้วางแผน ครูผู้ร่วมวางแผน พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ สะท้อนความคิดโดยครูผู้วางแผนเป็นผู้สะท้อนความคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ จุดเด่น จุดที่ต้องแก้ไขในการจัดการเรียนรู้ แล้วกลุ่ม PLC ร่วมกันสะท้อนความคิดทั้งจุดเด่น จุดด้อย ปัญหา อุปสรรค รวมทั้งแนะนำวิธีการแก้ปัญหา เน้นสุนทรียสนทนา

การปรับปรุง (Act)

ขั้นตอนที่ ๖ การปรับปรุงใหม่ (Redesign) การแนะนำให้ปรับแก้แผนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ตลอดจนการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น

๓) ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน

จากการดำเนินงานสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ และคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่ รูปแบบ วิธีการที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ได้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า และสอดคล้องกับตามสภาพบริบทของโรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล และการป้องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

๔) การประยุกต์ใช้ทรัพยากร

๔.๑) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่อยู่ในโรงเรียนและห้องเรียน เช่น การใช้สื่อออนไลน์ (Online) การใช้สื่อการเรียนการสอนทางไกล (DLTV) การใช้ DEEP การการสืบค้นข้อมูล การใช้ Face book YouTube เป็นต้น

๔.๒) การประยุกต์ใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น ห้องปฏิบัตการวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้ เป็นต้น

๔.๓) การขอความอนุเคราะห์ครูผู้สอนในวิชาต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมการบูรณาการในการเรียนรู้ของนักเรียน การนำเสนอผลงานผู้ปกครองนักเรียนในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทัศนคติ และประสบการณ์ในการเรียนรู้กับนักเรียน เป็นต้น

๓.๔ ผลการดำเนินงาน

๑) ผลที่เกิดตามจุดประสงค์

๑.๑ ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนรวมเฉลี่ย ๕๑.๓๖ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ ๘๐ ดังแสดงในตาราง ๑

ตาราง ๑ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ ๘๐

แผนการจัดการเรียนรู้ คะแนนหลังเรียน เกณฑ์ร้อยละ ๘๐

เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (คะแนน)

แผนที่ ๑ เรื่อง โครงสร้างไต และการทำงานของไต ๘.๖๔ ๐.๕๐ ๘.๐๐

แผนที่ ๒ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารในร่างกาย ๘.๕๗ ๐.๔๓ ๘.๐๐

แผนที่ ๓ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของกรด-เบส ๘.๓๖ ๐.๒๓ ๘.๐๐

แผนที่ ๔ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกาย ๘.๖๘ ๐.๔๒ ๘.๐๐

แผนที่ ๕ เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน ๘.๑๔ ๐.๒๓ ๘.๐๐

แผนที่ ๖ เรื่อง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ๘.๙๖ ๐.๕๗ ๘.๐๐

รวม ๕๑.๓๖ ๒.๓๙ ๒๔.๐๐

๑.๒ ผลการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า นักเรียนมีคะแนนคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ (๓Rs๘Cs) หลังเรียนรวมเฉลี่ย ๙๑.๘๖ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ ๗๕ ดังแสดงในตาราง ๒

ตาราง ๒ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑(๓Rs๘Cs) ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ ๗๕

คุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ คะแนน เกณฑ์ร้อยละ ๗๕

(คะแนน)

เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

การอ่าน (Reading) ๘.๓๖ ๐.๔๑ ๗.๕

การเขียน (Writing) ๘.๓๙ ๐.๔๙ ๗.๕

การใช้ตัวเลข (Arithmetic) ๘.๑๔ ๐.๓๑ ๗.๕

คุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ คะแนน เกณฑ์ร้อยละ ๗๕

เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (คะแนน)

ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา ๘.๐๗ ๐.๔๓ ๗.๕

ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ๘.๑๔ ๐.๔๖ ๗.๕

ทักษะด้านความเข้าใจความแตกต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ ๘.๓๙ ๐.๔๐ ๗.๕

ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ๘.๖๑ ๐.๒๑ ๗.๕

ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๘.๓๖ ๐.๒๓ ๗.๕

ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ ๘.๒๙ ๐.๒๖ ๗.๕

ความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม และจริยธรรม ๘.๗๑ ๐.๔๓ ๗.๕

รวม ๙๑.๘๖ ๔.๑๕ ๘๒.๕

๑.๓ ผลการพัฒนาคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า นักเรียนมีคะแนนคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง หลังเรียนรวมเฉลี่ย ๗๗.๗๑ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ ๘๐ ดังแสดงในตาราง ๓

ตาราง ๓ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ ๘๐

คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง คะแนน เกณฑ์ร้อยละ ๘๐

เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (คะแนน)

เงื่อนไขความรู้ ๘.๓๙ ๐.๔๕ ๘.๐๐

เงื่อนไขคุณธรรม ๘.๕๔ ๐.๔๑ ๘.๐๐

หลักความพอประมาณ ๘.๕๐ ๐.๓๔ ๘.๐๐

หลักความมีเหตุผล ๘.๕๐ ๐.๔๔ ๘.๐๐

หลักความมีภูมิคุ้มกันที่ดี ๘.๖๑ ๐.๓๕ ๘.๐๐

ด้านวัตถุ ๘.๖๔ ๐.๔๖ ๘.๐๐

ด้านสังคม ๘.๙๖ ๐.๑๓ ๘.๐๐

ด้านสิ่งแวดล้อม ๘.๕๗ ๐.๒๗ ๘.๐๐

ด้านวัฒนธรรม ๙.๐ ๐.๐ ๘.๐๐

รวม ๗๗.๗๑ ๒.๘๕ ๗๒.๐๐

๒) ผลสัมฤทธิ์ของงาน

รูปแบบพัฒนาการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สามารถนำไปใช้พัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ (๓Rs๘Cs) และคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงได้อย่างมั่นใจแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน และขั้นตอนแต่ละขั้นตอนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีการใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และเป็นขั้นตอน รวมกับการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง ๕ ขั้นตอน เป็นแนวการสอนที่สามารถนำวิธีสอนต่างๆ เทคนิคการสอนที่เสริมสร้างการคิด เทคนิคการสอนที่เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือกันอย่างมีน้ำใจต่อกัน อีกทั้งเทคนิคการคิดเพื่อให้เกิดความเสมอภาค ได้ผลการเรียนรู้เป็นภาพมาตรฐานการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทิ้งเด็กคนใดไว้ (No Child Left Behind) รวมถึงการบูรณาการหลักคิด หลักปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างยั่งยืน

๓) ประโยชน์ที่ได้รับ

นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันกับครูผู้สอนและผู้ปกครอง โดยนักเรียนถือเป็นส่วนหนึ่งของทีมการเรียนรู้ ส่วนครูผู้สอน ผู้ปกครอง และชุมชน ก็ได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจนประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ของนักปฏิบัติ (PLC) ก่อให้เกิดคุณค่าในทางการปฏิบัติ และคุณค่าในทางวิชาการ ดังนี้

๓.๑ การนำผลไปใช้ในทางปฏิบัติ

รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นทิศทางการวิจัยเพื่อแสวงหาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งสามารถนำผลไปใช้ในทางปฏิบัติ โดยนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นที่มีธรรมชาติของรายวิชาใกล้เคียง ส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ (๓Rs๘Cs) และคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงสูงขึ้น

๓.๒ การนำผลไปใช้ในทางวิชาการ

รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งสามารถนำผลไปใช้ในทางวิชาการ โดยนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนของตนเอง ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ไปใช้ในชีวิตจริง นักเรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำไปเป็นเครื่องมือในการศึกษาเรียนรู้ของตนเองและประเทศชาติ พร้อมทั้งทำการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนผลการวิจัยตามทิศทางการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๓.๕ ปัจจัยความสำเร็จ

๑) ด้านบุคคล การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ครูผู้สอนควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้ชัดเจนก่อนนำไปใช้ โดยครูผู้สอนที่นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ไปใช้ จะมีบทบาทที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยเปลี่ยนจากผู้ถ่ายทอดความรู้ มาเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวก และเป็นผู้คอยชี้แนะการปฏิบัติงานของนักเรียน และบทบาทของนักเรียนที่เรียนรู้เป็นทีมการเรียนรู้หรือทีมการทำงานแบบรวมพลัง ที่มีนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน เพื่อให้มีการช่วยเหลือกัน นักเรียนที่เก่งกว่าสามารถช่วยเหลือนักเรียนที่อ่อนกว่าได้ โดยครูผู้สอนต้องเสริมให้กำลังใจนักเรียนอ่อน เพื่อให้นักเรียนอ่อนมีบทบาทมากขึ้น

๒) ด้านหน่วยงาน/องค์กร คือ โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูลและสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้การยอมรับ ปรับปรุง และพัฒนาการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถด้านอื่นๆ ของนักเรียนโดยนำกระบวนการหรือขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นต่อไป และขยายผลการศึกษาเพื่อตรวจสอบซ้ำ เพื่อให้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆ

๓) กลวิธี/ กลยุทธ์ คือ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการจัดการเรียนรู้ของครูจากการเรียนรู้ของครูจากการเรียนรู้เชิงรับ (Passive Learning) ไปเป็นการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง (Collaborative Active Learning)

๓.๖ บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)

๑) ข้อสรุป คือ รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สามารถพัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ (๓Rs๘Cs) และคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิผลจริง

๒) ข้อสังเกต/ ข้อเสนอแนะ คือ การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ควรศึกษาสภาพบริบทของโรงเรียนและความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน รวมถึงต้องปรับปรุง/แก้ไขอยู่เสมอด้วยวงจรคุณภาพ เดมิ่ง (PDCA)

๓) แนวทางการพัฒนาต่อยอดสู่ความสำเร็จและยั่งยืน คือ การประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และการวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง

โพสต์โดย Wilanee : [26 ส.ค. 2563 เวลา 10:29 น.]
อ่าน [2967] ไอพี : 1.1.137.199
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,563 ครั้ง
ไม่อยากเป็นโรคกระดูกพรุน น้ำมะเขือเทศช่วยได้
ไม่อยากเป็นโรคกระดูกพรุน น้ำมะเขือเทศช่วยได้

เปิดอ่าน 41,623 ครั้ง
อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?
อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?

เปิดอ่าน 11,491 ครั้ง
วัคซีน"หวัด09"เข็มเดียวอยู่
วัคซีน"หวัด09"เข็มเดียวอยู่

เปิดอ่าน 19,135 ครั้ง
คลิปการ์ตูน ก-ฮ แบบเอาฮา พล็อตเรื่องดี
คลิปการ์ตูน ก-ฮ แบบเอาฮา พล็อตเรื่องดี

เปิดอ่าน 14,962 ครั้ง
ขนส่งฯ แจ้ง เปลี่ยนทะเบียนแตกลายงา ฟรี! วันนี้ - 30 ก.ย. 56
ขนส่งฯ แจ้ง เปลี่ยนทะเบียนแตกลายงา ฟรี! วันนี้ - 30 ก.ย. 56

เปิดอ่าน 12,124 ครั้ง
คลิปถ่ายทอดสด "หนุ่มโดดดิ่งเวหา" จากขอบโลกยอดคนดูทำลายสถิติยูทูป
คลิปถ่ายทอดสด "หนุ่มโดดดิ่งเวหา" จากขอบโลกยอดคนดูทำลายสถิติยูทูป

เปิดอ่าน 55,662 ครั้ง
ขั้นตอนการขอต่อใบอายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ขั้นตอนการขอต่อใบอายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

เปิดอ่าน 12,652 ครั้ง
Download เอกสาร " แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน " ของ สพฐ.
Download เอกสาร " แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน " ของ สพฐ.

เปิดอ่าน 4,655 ครั้ง
"องุ่นทะเล" ไม้ใหญ่ประโยชน์เยอะ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
"องุ่นทะเล" ไม้ใหญ่ประโยชน์เยอะ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

เปิดอ่าน 64,396 ครั้ง
4 พฤติกรรม “ผู้นำ” ที่ดี
4 พฤติกรรม “ผู้นำ” ที่ดี

เปิดอ่าน 41,981 ครั้ง
โมเดลกระดาษ
โมเดลกระดาษ

เปิดอ่าน 12,969 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552

เปิดอ่าน 8,573 ครั้ง
เตรียมตัวก่อนไปทะเล
เตรียมตัวก่อนไปทะเล

เปิดอ่าน 24,069 ครั้ง
แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

เปิดอ่าน 12,088 ครั้ง
จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกกี่แห่ง? : รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกกี่แห่ง? : รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก

เปิดอ่าน 4,132 ครั้ง
พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจ
เปิดอ่าน 12,421 ครั้ง
รักษาอาการท้องเสียด้วยฝรั่ง
รักษาอาการท้องเสียด้วยฝรั่ง
เปิดอ่าน 40,888 ครั้ง
เลี้ยงตะพาบน้ำ ส่งขายนอก งานสร้างรายได้ ที่สุพรรณบุรี
เลี้ยงตะพาบน้ำ ส่งขายนอก งานสร้างรายได้ ที่สุพรรณบุรี
เปิดอ่าน 21,371 ครั้ง
เมื่อเทคโนโลยีล้างสมองเด็ก อะไรจะเกิดขึ้น?
เมื่อเทคโนโลยีล้างสมองเด็ก อะไรจะเกิดขึ้น?
เปิดอ่าน 10,108 ครั้ง
ประกาศจัดตั้งอุทยานใหม่อีก 15 แห่ง
ประกาศจัดตั้งอุทยานใหม่อีก 15 แห่ง

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ