บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานพื้นบ้านภาษาไทย-ท้องถิ่น (ภาษา
ภูไท) เพื่อพัฒนาทักษะการฟังของเด็กปฐมวัย สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดประสบการณ์เรียนรู้
โดยใช้นิทานพื้นบ้านภาษาไทย-ท้องถิ่น (ภาษาภูไท) สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานพื้นบ้านภาษาไทย-ท้องถิ่น (ภาษาภูไท) สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3-4 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังยาง สังกัดเทศบาลตำบลวังยาง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินทักษะการฟังของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาษาไทย-ท้องถิ่น (ภาษาภูไท) สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานพื้นบ้านภาษาไทย-ท้องถิ่น (ภาษาภูไท) สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเปรียบเทียบทักษะการฟังของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานพื้นบ้านภาษาไทย-ท้องถิ่น (ภาษาภูไท) สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว พบว่า โดยภาพรวมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้นิทานพื้นบ้านภาษาไทย-ท้องถิ่น (ภาษาภูไท) สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมาก ( = 4.45)