ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1
ผู้ศึกษา นางวรพร โรจนหัสดินทร์
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา ๒๕62
บทคัดย่อ
รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕62 โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ห้องเรียนที่ผู้รายงานทำการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีจำนวนทั้งหมด ๕ เล่ม ได้แก่ เล่มที่ ๑ คำประวิสรรชนีย์ ไม่ประวิสรรชนีย์ เล่มที่ ๒ คำที่ใช้ รอ หัน (รร) เล่มที่ ๓ คำที่ใช้บัน/บรร เล่มที่ ๔ คำที่มีตัวการันต์ และเล่มที่ ๕ คำพ้อง แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน 17 แผน รวมทั้งสิ้น 17 ชั่วโมง รวมทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ 3๐ คะแนน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (t-test Dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
๑.แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘4.55/๘2.87
๒.คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
๓.ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ เฉลี่ยโดยส่วนรวมอยู่ในระดับมากที่สุด