ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานผลการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้ขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับโรงเรียนในสังกัด โดยมีกระบวนการขับเคลื่อน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 G - Goal กำหนดนโยบาย ขั้นตอนที่ 2 D - Design ออกแบบการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 3 T - Team ดำเนินงานเป็นทีม ขั้นตอนที่ 4 E - Evaluate ประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 5 S - Share แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 6 E - Excellent นำพาสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 G - Goal กำหนดนโยบาย

เป็นการกำหนดนโยบาย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ หรือจากการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา สรุปเป็นประเด็นที่จะดำเนินการพัฒนา แล้วนำมา “กำหนดนโยบายการพัฒนาร่วมกัน” เกี่ยวกับนโยบายพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

ขั้นตอนที่ 2 D - Design ออกแบบการดำเนินงาน

เป็นการดำเนินงานให้ความรู้ความเข้าใจและแนวทางการดำเนินงาน ให้แก่ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับ การทบทวนความรู้ความเข้าใจและร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลช่วยเหลือนักเรียน การสร้างความรู้ความเข้าใจและเพิ่มทักษะการสังเกตพฤติกรรมรวมทั้งการสร้างความตระหนักรับรู้ และความสำคัญในบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานขับเคลื่อนเพื่อการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ขั้นตอนที่ 3 T - Team ดำเนินงานเป็นทีม

ในขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนการสร้างและแต่งตั้งทีมงานขับเคลื่อนการดำเนินงานระบบ

การดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้แต่งตั้งคณะทีมงานเครือข่ายพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน และระดับโรงเรียนที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายและทุกภาคส่วน มีรายละเอียดดังนี้

1. ทีมงานขับเคลื่อนระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ตัวแทนผู้บริหารโรงเรียน และตัวแทนครูผู้สอน ร่วมเป็นทีมดำเนินงานขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

2. ทีมงานกำกับ ติดตาม และนิเทศให้ความช่วยเหลือระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์ทุกคน จำนวน 5 ทีม แยกตามพื้นที่อำเภอ จำนวน 5 อำเภอ

3. ทีมงานติดตาม ชี้แนะ และให้ความช่วยเหลือ ระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอ 5 อำเภอ

ขั้นตอนที่ 4 E - Evaluate ประเมินผลการดำเนินงาน

เป็นขั้นตอน “การขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สัมฤทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม” โดยมุ่งเป้าไปสู่การยกระดับการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งการเสริมแรง เยี่ยมเยียนให้กำลังใจ กำกับ ติดตาม นิเทศและให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นกัลยาณมิตร มีรายละเอียดดังนี้

1. ผู้บริหารโรงเรียนรับนโยบายจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 นำสู่การปฏิบัติ โดยประสานความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ชุมชน ในการพัฒนาการงานระบบการดูแลช่วยเหลือ

2. ผู้บริหารโรงเรียน และ/หรือคณะทีมนิเทศภายใน ดำเนินการนิเทศ ติดตาม เยี่ยมเยียนให้กำลังใจและชี้แนะแนวทาง รวมทั้งการตรวจสอบและประเมินตนเองระหว่างดำเนินงาน

3. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

4. ทีมนิเทศระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอ ดำเนินการติดตาม เสริมแรง ให้กำลังใจ และเติมเต็มต่อยอดการพัฒนาการดำเนินงานให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนด

5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ดำเนินการกำกับ ติดตาม และนิเทศให้ความช่วยเหลือ โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 พร้อมด้วยทีมนิเทศ โดยแบ่งออกเป็น 5 ทีม ตามจำนวนพื้นที่อำเภอ

ขั้นตอนที่ 5 S - Share แลกเปลี่ยนเรียนรู้

เป็นการขั้นตอน “ทบทวนผลการดำเนินงาน ประเมินระหว่างดำเนินงาน ปรับปรุงพัฒนาระหว่างดำเนินงาน” โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียนร่วมกันตรวจสอบและประเมินตนเอง จากนั้นจึงประเมินโดยบุคลากรภายนอก ได้แก่ ทีมศึกษานิเทศก์ มีรายละเอียดดังนี้

1. โรงเรียนแต่งตั้งคณะทีมงานและดำเนินการประเมินตนเอง ร่วมกันทบทวน ตรวจสอบผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

2. จัดประชุมทบทวนการรายงานผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ขั้นตอนที่ 6 E - Excellent นำพาสู่ความเป็นเลิศ

เป็นการนำเสนอผลงานการปฏิบัติที่ดีเชิงประจักษ์ มอบโล่รางวัล ประกาศยกย่อง เชิดชูเกียรติ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ผลงาน เป็นการสะท้อนกิจกรรมการพัฒนาระบบ

การดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีรายละเอียดดังนี้

1. ประเมินผลการดำเนินงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 แต่งตั้งคณะทีมงานประเมินผลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ศึกษานิเทศก์ และตัวแทนผู้บริหารโรงเรียน

2. ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้กับโรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมขวัญกำลังใจให้แก่โรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และครูที่มีผลงานเชิงประจักษ์

3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมด้านดำเนินงานด้านระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังนี้

3.1 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับประเทศ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กวัยเรียน สำหรับประธานสภานักเรียนเพื่อ การดูแลช่วยเหลือเพื่อนนักเรียน

3.2 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียน และนำเสนอผลงานที่มีการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

สรุปกระบวนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้ดังนี้

นอกจากนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้จัดทำคู่มือเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด ให้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องให้สามารถขับเคลื่อนกระบวนการทำงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และตอบสนองความต้องการพัฒนาดูแลช่วยเหลือของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยได้รวบรวมความคิดเห็นและข้อสรุปจากผู้เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มาศึกษา วิเคราะห์ เรียบเรียง และจัดทำเป็นคู่มือการขับเคลื่อนการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ซึ่งได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนพร้อมยกตัวอย่างประกอบและมีแบบฟอร์มในการจัดทำตลอดจนคำอธิบายการกรอกแบบฟอร์ม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้ โดยมีเนื้อหา สาระสำคัญ แบ่งออกเป็น 4 บท และภาคผนวก ดังต่อไปนี้

บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2 กรอบแนวคิดเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย ความหมายของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน วัตถุประสงค์ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ขอบข่ายการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประโยชน์ของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลยุทธ์ความสำเร็จในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และแนวคิดทฤษฎีความพึงพอใจ

บทที่ 3 แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ประกอบด้วย การกำหนดนโยบาย การออกแบบแผนดำเนินงาน การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน และการกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน

บทที่ 4 แนวทางการดำเนินงานตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ประกอบด้วย บทนำ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหาและการส่งต่อ

ภาคผนวก ประกอบด้วย เนื้อหาสาระ และเอกสารอ้างอิงที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์และแนวทางในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติตามขั้นตอน ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลจากการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ที่มีกระบวนการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน มีแผนงาน โครงการ และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจน ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการกำกับติดตามอย่างเป็นระบบ ส่งผลนักเรียนที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 อย่างเห็นได้ชัด ดังนี้

1. ผลการดำเนินงานการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

1.1 จำนวนนักเรียนที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีดังนี้ กลุ่มปกติ คิดเป็นร้อยละ 98.59 กลุ่มเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 94.31 กลุ่มมีปัญหา คิดเป็นร้อยละ 95.97 กลุ่มพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 94.31 โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียน 22,810 คน คิดเป็นร้อยละ 98.31

1.2 จำนวนโรงเรียนที่มีการบริการงานแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ มีผลการดำเนินงาน โดยภาพรวมจำนวนโรงเรียนที่มีการบริการงานแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ คิดเป็นร้อยละ 95.43

นอกจากนี้ จากการสังเคราะห์สรุปข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ได้วางแผนพัฒนาต่อยอดโดยจัดทำแผนงานการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนให้ชัดเจนขึ้น พัฒนากิจกรรมดีเด่นส่งเสริมการดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นนวัตกรรมของโรงเรียน มีเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน และจัดทำแผนงานและปฏิทินกำกับ ติดตาม นิเทศให้ความช่วยเหลือภายในโรงเรียนให้ต่อเนื่อง ส่งผลต่อ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เกี่ยวกับผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เห็นว่ากระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรายข้อจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา

3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

จากการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ส่งผลให้ผู้บริหารโรงเรียนมีเครือข่ายความร่วมมือใน

การขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน และครูได้รับองค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาผลงานเชิงประจักษ์ ได้แนวคิด แนวทางในการดำเนินกิจกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้งยังเป็นแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่นำไปพัฒนางานการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามประเภทการคัดกรอง ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ที่มีผลการปฏิบัติที่ดีเชิงประจักษ์ โดยจากการศึกษาความพึงพอใจของชุมชนของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติที่ดีเชิงประจักษ์ พบว่าชุมชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรายข้อจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา

4. ผลการศึกษาผลลัพธ์ (Outcome) ข้อค้นพบ และปัจจัยความสำเร็จ ที่ได้จากการดำเนิน การขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติที่ดี เชิงประจักษ์ พบว่า

4.1 ผลลัพธ์ (Outcome) สรุปได้ดังนี้

4.1.1 นักเรียน ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริม ป้องกันและแก้ปัญหาอย่างมีระบบโดยวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูประจำชั้น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปลอดภัยจากสารติด ได้นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของนักเรียนในการศึกษารายกรณี และเห็นได้จากรางวัลที่นักเรียนได้รับประเภทต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ ระดับเขตตรวจราชการ และระดับ เขตพื้นที่การศึกษา ดังเช่น รางวัล “เด็กและเยาวชนดีเด่น” เด็กได้รับรางวัลต่าง ๆ 35 รางวัล เป็นต้น

4.1.2 ผู้บริหารโรงเรียน ครูทุกคน และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจหลัก การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพจนประสบความสำเร็จ ซึ่งครูที่มีผลงานการปฏิบัติงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในการส่งเสริม และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ และเห็นได้จากรางวัลที่ครูได้รับประเภทต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ ระดับเขตตรวจราชการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ดังเช่น รางวัล ครูดีไม่มีอบายมุข รางวัลเสมา ป.ป.ส. ระดับเพชร รางวัลคนดีศรีเชียงใหม่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูได้รับรางวัลต่าง ๆ 38 รางวัล เป็นต้น

4.1.3 โรงเรียนมีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีทักษะชีวิตที่ดีในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และปลอดภัย และเห็นได้จากรางวัลที่ครูได้รับประเภทต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ ระดับเขตตรวจราชการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ดังเช่น รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) รางวัลเสมา ป.ป.ส. ระดับเพชร สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนได้รับรางวัลต่าง ๆ 8 รางวัล เป็นต้น

4.1.4 ชุมชนให้ความศรัทธา เห็นความสำคัญของการศึกษา ให้ความร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพเข้าเรียนด้วยความเต็มใจ อาทิ

1) ชุมชนเข้ามาใช้อาคาร สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกของโรงเรียนใน

การจัดกิจกรรมร่วมกัน

2) ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องการจัดการศึกษาของโรงเรียน ส่งผลให้จำนวนนักเรียนของโรงเรียนมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา

3) ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้นและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

4) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เช่น การเข้ามาเป็นวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนได้

5) ชุมชนมีความเชื่อมั่นในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

6) ชุมชน ผู้ปกครอง ได้รับรู้ รับทราบถึงกระบวนการทำงานการจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จนเกิดความเชื่อมั่น รักและศรัทธาในโรงเรียนของตนเอง อาทิ การส่งเสริมนักเรียนในชุมชน ด้านการมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน ในการดูแลรักษาความสะอาด ความสงบเรียบร้อยในชุมชนโดยไม่ทำตนให้เป็นปัญหาต่อชุมชนในด้านการประพฤติปฏิบัติตนที่สร้างความเดือดร้อนแก่ชุมชน การไม่ไปข้องเกี่ยวกับปัญหาด้านยาเสพติดและสิ่งอบายมุข รวมถึงปฏิบัติตนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ภูมิคุ้มกัน สู่คนในครอบครัว

4.2 ข้อค้นพบที่ได้จากการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สรุปได้ ดังนี้

ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดำเนิน การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน โดยมีภาคีเครือข่าย เครือข่ายสหวิชาชีพภายในโรงเรียน ได้แก่ ครูอนามัย ครูฝ่ายปกครอง สภานักเรียน นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ทำหน้าที่ประสาน และให้ความร่วมมือกับครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว มีคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย และกรรมการสถานศึกษา ซึ่งได้จัดประชุมปรึกษาหารือ วางแผนพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้พัฒนายิ่งขึ้นไป โดยจัดประชุมเป็นประจำและต่อเนื่องอย่างน้อยเทอมละ 2 ครั้ง มีเครือข่ายผู้ปกครองชั้นเรียนที่ได้จากการประชุมชั้นเรียนเป็นคณะทำงานสอดส่องดูแล พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน และประสานไปยังผู้ปกครองของนักเรียนคนนั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที มีการส่งต่อนักเรียนที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาอย่างเป็นระบบ เครือข่ายภายนอกโรงเรียน ได้แก่ สภาเด็กและเยาวชน ได้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนขึ้นเป็นประจำและต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ให้ความช่วยเหลือด้านการส่งต่อเบื้องต้นในกรณีที่นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย โรงพยาบาลให้บริการด้านสุขภาพอนามัย เช่น การตรวจสุขภาพปากและฟัน การฉีดวัคซีน กิจกรรมชวนพ่องดเหล้า และกิจกรรมท้องไม่พร้อม ชมรมครูแนะแนว จัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอบรม ครูแนะแนวอย่างต่อเนื่อง มีการส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตแก่โรงพยาบาลสวนปรุง คณะพยาบาลศาสตร์ จัดกิจกรรมฉันพร้อมจะเติบใหญ่ คณะทันตแพทยศาสตร์ จัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยปากและฟัน และกิจกรรมสานฝันแม่ค้าน้อย และโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ เรื่องเพศศึกษา จัดกิจกรรมการเลือกซื้ออาหารและยาอย่างปลอดภัย จัดกิจกรรมความรู้เกี่ยวกับ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สถานีตำรวจภูธรจัดกิจกรรมการสอนเรื่องยาเสพติด โดย ครู DARE และกิจกรรมสถานศึกษาร่วมใจสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน มีการส่งต่อภายในแก่ครูอนามัย ครูแนะแนว หรือภายนอก ได้แก่ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา แพทย์ พร้อมมีข้อมูล ผลการช่วยเหลือเบื้องต้น ส่งต่อภายนอกให้ผู้เชี่ยวชาญ ติดตามประเมินผลการส่งต่อภายนอก และรายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยผลที่ได้รับจากการประสานความร่วมมือจาก ภาคเครือข่ายคือนักเรียนได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมทักษะชีวิตสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพจึงส่งผลให้ระบบการดูแลช่วยเหลือมีผลการปฏิบัติ ที่ดีเชิงประจักษ์ (Good Practice)

4.3 ปัจจัยความสำเร็จจากการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สรุปได้ดังนี้

ผู้บริหารโรงเรียน คณะครูและชุมชน มีทัศนคติที่ดีต่องานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนงานระบบดูและช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้งมีการพัฒนาครู ให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสามารถดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นอย่างดี โดยโรงเรียนมีโครงการและหลักสูตรพัฒนาความเข้มแข็งระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยในการอบรมแต่ละครั้งผู้ที่ได้เข้าร่วมอบรมได้นำความรู้มาขยายผล โดยการจัดประชุมอบรมครูในโรงเรียนทุกครั้ง มีการประชุมคณะครูเพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดี มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ทีมนำ ทีมทำทีมประสาน และนำผลการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมาสรุปและร่วมอภิปรายร่วมกันเพื่อหาทางพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นไป อีกทั้งคณะครูเป็นทีมทำที่มีทัศนคติที่ดีมีความรู้ความเข้าใจใน

การปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ มีวินัย คุณธรรมจริยธรรม ปฏิบัติงานด้วยความรักความเมตตาต่อศิษย์ ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างดีและต่อเนื่อง ส่งผลให้ครูหลายท่านได้รับรางวัลดีเด่นมากมาย อาทิ รางวัลครูผู้ฝึกสอนกิจกรรมเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ ระดับเขตพื้นที่และระดับโรงเรียนได้รับรางวัลเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นประจำต่อเนื่องมาโดยตลอด และรางวัลเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนานักเรียนอีกมากมาย จึงส่งผลให้ระบบดูแลช่วยเหลือมีผลการปฏิบัติที่ดีเชิงประจักษ์ (Good Practice)

โพสต์โดย สุทธิชัย เดชสุวรรณนิธิ : [14 ก.ย. 2563 เวลา 07:09 น.]
อ่าน [3563] ไอพี : 202.29.215.238
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,595 ครั้ง
คณิตศาสตร์ชุมชน : โดย สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน, ชุติมา ชุมพงศ์
คณิตศาสตร์ชุมชน : โดย สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน, ชุติมา ชุมพงศ์

เปิดอ่าน 2,884 ครั้ง
13 ตุลาคม ของทุกปี "วันนวมินทรมหาราช"
13 ตุลาคม ของทุกปี "วันนวมินทรมหาราช"

เปิดอ่าน 11,447 ครั้ง
รับชมย้อนหลัง การประชุมทางไกล "เครือข่ายโรงเรียนดีใกล้บ้าน" 2 ธันวาคม 2559
รับชมย้อนหลัง การประชุมทางไกล "เครือข่ายโรงเรียนดีใกล้บ้าน" 2 ธันวาคม 2559

เปิดอ่าน 16,466 ครั้ง
เคล็ดลับเร่ง "ผม" ให้ยาวเร็วขึ้น
เคล็ดลับเร่ง "ผม" ให้ยาวเร็วขึ้น

เปิดอ่าน 14,808 ครั้ง
ไขปริศนา! น้ำดื่มมีวันหมดอายุด้วยหรือ
ไขปริศนา! น้ำดื่มมีวันหมดอายุด้วยหรือ

เปิดอ่าน 12,427 ครั้ง
สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร
สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร

เปิดอ่าน 9,645 ครั้ง
งานแฟร์ เพื่อนพึ่ง(ภา) 2552 ช็อปของขวัญปีใหม่สไตล์วัง
งานแฟร์ เพื่อนพึ่ง(ภา) 2552 ช็อปของขวัญปีใหม่สไตล์วัง

เปิดอ่าน 31,791 ครั้ง
10 สมุนไพรไทย ประโยชน์เยอะ ช่วยบรรเทา "โรคความดันสูง"
10 สมุนไพรไทย ประโยชน์เยอะ ช่วยบรรเทา "โรคความดันสูง"

เปิดอ่าน 11,898 ครั้ง
ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?
ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?

เปิดอ่าน 37,747 ครั้ง
5 วิธีดื่มเบียร์ไม่ให้หนุ่ม ๆ อ้วนจนพุงปลิ้น
5 วิธีดื่มเบียร์ไม่ให้หนุ่ม ๆ อ้วนจนพุงปลิ้น

เปิดอ่าน 13,034 ครั้ง
การเลี้ยงไก่ไข่
การเลี้ยงไก่ไข่

เปิดอ่าน 10,112 ครั้ง
กระเป๋านักเรียนหนักเสี่ยง! หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
กระเป๋านักเรียนหนักเสี่ยง! หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

เปิดอ่าน 27,790 ครั้ง
หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในสถานพยาบาลของเอกชน ว 333
หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในสถานพยาบาลของเอกชน ว 333

เปิดอ่าน 9,389 ครั้ง
คลิปรวมยอดฮิต 2013 ของ YouTube
คลิปรวมยอดฮิต 2013 ของ YouTube

เปิดอ่าน 17,489 ครั้ง
ดูกันชัดๆ ค่าเทอมหลักแสน โรงเรียนอินเตอร์
ดูกันชัดๆ ค่าเทอมหลักแสน โรงเรียนอินเตอร์

เปิดอ่าน 9,415 ครั้ง
เคล็ดลับดูแลผมในหน้าร้อน
เคล็ดลับดูแลผมในหน้าร้อน
เปิดอ่าน 76,178 ครั้ง
สรรพคุณของ "ปลีกล้วย"
สรรพคุณของ "ปลีกล้วย"
เปิดอ่าน 13,857 ครั้ง
9 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำบน Facebook
9 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำบน Facebook
เปิดอ่าน 10,042 ครั้ง
หมอนดีนอนหลับสบายลดอาการปวดคอ
หมอนดีนอนหลับสบายลดอาการปวดคอ
เปิดอ่าน 18,248 ครั้ง
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ