ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 1

การประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 1

THE EVALUATION OF THE PROJECT FOR EDUCATION MANAGEMENT OF THE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY INTO SCHOOL AT KAMPHAENGPHET EDUACTION SERVICE AREA

เสาวนีย์ ตาคำ

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ใน 3 ด้าน คือ

ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและ ด้านผลผลิต 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการจัดการศึกษาตาม

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 144 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 135 คน ครูผู้สอน จำนวน 313 คน และ นักเรียน จำนวน 379 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้

ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1) ผลการประเมิน พบว่าโดยภาพรวมผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือครูผู้สอน ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คืองบประมาณ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินกิจกรรม ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการตรวจติดตาม ด้านผลผลิตผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียน 2) แนวทางพัฒนาโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 พบว่าด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ควร มีการวางแผนงบประมาณครอบคลุมตามกิจกรรมโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ควรมีการวัดผลประเมินผลครอบคลุมความรู้ด้านทักษะ กระบวนการด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวัดผลประเมินผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ควรให้นักเรียนได้ฝึกการวิเคราะห์และประพฤติปฏิบัติตนด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง มีเหตุผลและภูมิคุ้มกันที่ดี

Abstract

The purposs of this research were 1) to evaluate the project organized under the concept of Philosophy of Sufficiency Economy and 2) to find the guidance to develop of Philosophy Sufficiency Economy in schools under the Office Of Kamphaeng Phet Provincial Primary Educational Service Area 1. The samples used in this study were 144 directors,135 project supervisors, 313 teachers, and 379 students. Data were gathered with 10 experts in Philosophy of Sufficiency Economy. The research instruments included a 5-point likert scale questionnaire and focus group discussion. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation , content analysis, and frequencies.

The results of the study were as follows :

1) For the assessment, the overall assessment of the projects was at the high level. The input was rated at the high level. When considering by each aspect, it was found that the teacher related aspect showed the highest level. The lowest was the budget related aspect.

The process of the project, the overall assessment of the projects was at high level.When considering by each aspect, it was found that the improvement activity was the highest.The lowest level was monitoring and evaluation.

For the product of the project, the overall assessment was at the high level.When considering by each aspect, it was found that the aspect of teachers and officers was at the highest level and the students was at the lowest level.

2) For the guidelines to develop Philosophy of Sufficiency Economy in schools under the Office of Kamphaeng Phet Provincial Primary Educational Service Area 1, the input aspect should be covered by the budget planning used for Philosophy of Sufficiency Economy. The process of the project should be evaluated in a comprehensive assessment of knowledge and skills.

For the characteristics of the students based on the Philosophy of Sufficiency Economy, they should have appropriate grading assessment methods for each activity. For the product of the project, it was found that the students should practice to analyze, behave with diligence, carefulness, be realistic, and have a good immunity.

หลักการและเหตุผล

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด โดยคำนึงถึง 3 หลักการ ได้แก่ 1) ความพอประมาณกับศักยภาพของตนเองและสภาวะแวดล้อมตามความเป็นจริง 2) ความมีเหตุผลบนพื้นฐานความถูกต้องและ 3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ในตัวเองคือ ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต ที่ต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ความพอประมาณ หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เป็นทุนเดิมของตนเอง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้พอเหมาะ และต้องไม่น้อยเกินไปจนขาดแคลน หรือไม่พอเพียงที่จะดำเนินการให้เกิดประโยชน์ ความมีเหตุผล ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล บนพื้นฐานของความถูกต้อง ความเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมเพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที (จิรายุ อิศรางกูร และ ปรียานุช พิบูลสราวุธ, 2552 ,หน้า 9-10,17-19) กระทรวงศึกษาธิการมีความตระหนักในภารกิจที่สำคัญดังกล่าวที่จะมุ่งพัฒนาคนโดยมีนโยบายการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาในทุกระดับ เพื่อให้ผู้บริหารองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรด้านการศึกษาและนักเรียนนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำหลักคิดหลักปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบริหารจัดการ การเรียน การสอนตลอดจนการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างต่อเนื่อง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีหน้าที่กำหนดทิศทางกรอบนโยบายเพื่อให้งานโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงได้น้อมนำการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดนโยบายนั่นคือ หลัก 3 ประกัน ได้แก่ การประกันโอกาส การประกันคุณภาพ และการประกันประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กที่ได้เข้ารับบริการได้ศึกษาทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในเมือง ชนบทหรือเด็กทุกกลุ่มเป้าหมาย มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในด้านโอกาสที่จะได้เข้าเรียนมีการเน้นให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักในเรื่อง “คุณธรรมนำความรู้” เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพเป็นที่พึงประสงค์ของสังคม พร้อมทั้งการมีประสิทธิภาพของการบริหารจัดการที่ได้พัฒนาให้เกิดความคล่องตัวและชัดเจน ส่งผลให้เกิดการกระจายอำนาจสู่การปฏิบัติในแต่ละช่วงชั้นได้อย่างเหมาะสม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550, หน้า 4)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 มีความตระหนักในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจสู่สถานศึกษาจึงได้กำหนด พันธกิจไว้ในข้อที่ 2 คือส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทยมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้กำหนดกลยุทธ์ คือ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทยมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้มีการจัดทำโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาในสังกัดอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึง การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตามตรวจสอบประเมินโครงการ เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามแนววิธีดำเนินการที่กำหนดไว้ ว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใดบ้าง เพื่อจะได้นำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจดำเนินงานหรือปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานตามโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีประสิทธิผล ผู้ประเมินจึงสนใจที่จะทำการประเมิน โครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 เพื่อให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นประโยชน์อันเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการต่อไป

วัตถุประสงค์ของการประเมิน

1. เพื่อประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 2) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และ 3) ด้านผลผลิตของโครงการ

2. เพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1

ขอบเขตของการประเมิน

ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 การประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

1. ขอบเขตเนื้อหา

ในการประเมินครั้งนี้ผู้ประเมินได้ดำเนินการประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินเชิงระบบ (System Approach โดยมุ่งประเมิน 3 ด้านคือ ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ(Input) ประเมินด้านกระบวนการ (Process) และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Output)

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1 ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 229 คน

ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 206 คน ครูผู้สอน จำนวน 1,704 คน นักเรียน จำนวน 32,719 คน

2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มประชากรที่ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970 : pp 607-610) ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน และนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร

เขต 1 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 144 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 135 คน ครูผู้สอน จำนวน 313 คน นักเรียน จำนวน 379 คน

3. ขอบเขตตัวแปรที่ศึกษา

3.1 ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ

ครูผู้สอน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่

3.2 ประเมินด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงาน

การดำเนินกิจกรรม การตรวจติดตามการดำเนินกิจกรรม การแก้ไข และปรับปรุงการดำเนินกิจกรรม

3.3 ประเมินด้านผลผลิต (Output) ได้แก่ สถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ นักเรียน

ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

1. ขอบเขตเนื้อหา

เพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ผู้ประเมินได้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการการสนทนากลุ่ม (focus group) โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 10 คน

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ในการประเมินครั้งนี้แหล่งข้อมูลหรือผู้ให้ข้อมูลเพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ประกอบด้วย 1) ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประเมิน สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) จากกระทรวงศึกษาธิการ

2) ผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) จากกระทรวงศึกษาธิการ 3) ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานหรือมีผลงานเชิงประจักษ์ในด้านการดำเนินงานการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง 4) ครูผู้รับผิดชอบโครงการจัดการศึกษาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(สถานศึกษาพอเพียง) จากกระทรวงศึกษาธิการ 5) ครูผู้สอนที่มีวิทยฐานะชำนาญการขึ้นไป ในสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) จากกระทรวงศึกษาธิการ

วิธีการดำเนินประเมินโครงการ

ตอนที่ 1 การประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ได้แก่ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน และนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างในการประเมินครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 592 คน และนักเรียน จำนวน 379 คน ได้จากวิธีการสุ่ม โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซีและมอร์แกน( บุญชม ศรีสะอาด, 2554 ,หน้า 39-41) และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยจำแนกตามอำเภอในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้สร้างแบบสอบถามสำหรับประเมินโครงการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ในการประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา ครั้งนี้มี ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ

การวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน ผลผลิตของโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาแปลความหมาย

ตอนที่ 2 เพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

แหล่งข้อมูล / ผู้ให้ข้อมูล

ในการประเมินครั้งนี้แหล่งข้อมูลหรือผู้ให้ข้อมูลเพื่อหาแนวทางโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ จำนวน 10 คน

เครื่องมือ และการเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยผู้ประเมินเลือกใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (focus group) การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการแจกแจงความถี่

สรุปผลการประเมิน

1. ผลการประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินเชิงระบบ (System Approach) ดังต่อไปนี้

1.1 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน ด้าน ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่

1.1.1 ด้านผู้บริหาร โดยภาพรวมผลการประเมินตามเกณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีประสบการณ์ในการบริหารโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ผู้บริหาร กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายของโรงเรียนโดยยึดหลักของความพอประมาณความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไข ความรู้และคุณธรรม ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ผู้บริหารปรับปรุงเพิ่มเติมหรือจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของโรงเรียนครอบคลุมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ

1.1.2 ด้านครูผู้รับผิดชอบโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้และประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ต่ำสุด คือครู ผู้รับผิดชอบโครงมีความสามารถดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์

1.1.3 ด้านครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจความเป็นมาของแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่ำสุดคือครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.1.4 ด้านงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า

การวางแผนงบประมาณครอบคลุมตามกิจกรรมโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การใช้งบประมาณตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือการจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินโครงการและกิจกรรม ตามลำดับ

1.1.5 ด้านวัสดุอุปกรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า เอกสาร ตำรา เพียงพอ เหมาะสม ในการประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ต่ำสุดคือ สื่อ เพียงพอ เหมาะสม สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ

1.1.6 ด้านสถานที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สถานที่เพียงพอสำหรับใช้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด

ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือสถานที่มีความเหมาะสมสำหรับใช้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินกิจกรรม ด้านการตรวจติดตามกาดำเนินกิจกรรม และ ด้านการแก้ไข และปรับปรุงการดำเนินกิจกรรม

1.2.1 ด้านการวางแผน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการวางแผนการดำเนินโครงการอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือการจัดปฏิทินการปฏิบัติงานโครงการ โดยกำหนดกิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน

ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือการกำหนดคณะบุคคลรับผิดชอบงานกิจกรรมที่เหมาะสม

1.2.2 ด้านการดำเนินกิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การจัดกิจกรรมด้านวิชาการของครูที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการเรียนการสอนทุกรายวิชาและ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมนักเรียนได้เรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงทุกๆด้าน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดหลักความพอประมาณความมีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกันในตัวโดยใช้ความรู้และคุณธรรมเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดกับนักเรียน

และ การจัดกิจกรรมฝึกให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้โดยใช้หลักของความพอเพียง เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรมในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การจัดแสดง เผยแพร่ ประกวด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานของนักเรียนที่เกิดจากการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ตามลำดับ

1.2.3 ด้านการตรวจติดตามการดำเนินกิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การการกำหนดระยะเวลาติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการชัดเจน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงอย่างมีคุณภาพ ครอบคลุมความรู้ด้านทักษะ กระบวนการด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการด้วยวิธีการที่เหมาะสม ตามลำดับ

1.2.4 ด้านการแก้ไข และปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การนำผลการประเมินมาปรับปรุงกิจกรรมในโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือการแจ้งผลการประเมินกิจกรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องตามลำดับ

1.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา

ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน ด้านสถานศึกษา ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านนักเรียน

1.3.1 ด้านสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้

มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือสถานศึกษามีนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ สถานศึกษามีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา

ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ

1.3.2 ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดรองลงมาคือครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดการทรัพยากร และดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการบูรณาการหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระ

1.3.3 ด้านนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนเก็บของได้แล้วส่งคืนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดรองลงมาคือ นักเรียนใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัด ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือนักเรียนใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาตนเอง โรงเรียน ชุมชน และสังคมโดยรวม ตามลำดับ

2. แนวทางพัฒนาโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

จากการวิจัยสามารถสรุปแนวทางพัฒนาการดำเนินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ได้ดังนี้

2.1 ปัจจัยนำเข้า ด้านงบประมาณ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ มีการวางแผนงบประมาณครอบคลุมตามกิจกรรมโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา ได้แก่ จัดสรรงบประมาณให้เพียงพ่อและทั่วถึงทุกกิจกรรม , กำกับติดตามการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ , แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการใช้งบประมาณ อันดับที่สาม ได้แก่ จัดทำรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในการใช้จ่าย และหาแนวทางปรับปรุงการใช้จ่ายงบประมาณให้เหมาะสมและเพียงพอ

2.2 การดำเนินกิจกรรมของโครงการ ด้านการตรวจติดตาม ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ การวัดผลประเมินผลครอบคลุมความรู้ด้านทักษะ กระบวนการด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การวัดผลประเมินผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม รองลงมา ได้แก่ ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการด้วยวิธีการที่เหมาะสม , เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลประเมินผลควรหลากหลายและวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ อันดับที่สาม ได้แก่ การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงอย่างมีคุณภาพ , กำหนดระยะเวลาติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการให้ชัดเจน

2.3 ผลผลิตของโครงการ ด้านนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ ให้นักเรียนได้ฝึกการวิเคราะห์และประพฤติปฏิบัติตนด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง มีเหตุผลและภูมิคุ้มกันที่ดี รองลงมา ได้แก่ ส่งเสริมให้นักเรียนใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาตนเอง โรงเรียน ชุมชน และสังคม , จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนตระหนัก ในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันดับที่สาม ได้แก่ เน้นทักษะ กระบวนการคิด พฤติกรรมอันพึงประสงค์ของนักเรียนให้

สอดคลองกับแนวคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อภิปรายผล

1. การประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

จากผลการประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน สรุปได้ดังนี้

1.1 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ เป็นการประเมินด้านผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ สถานที่ โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ผู้บริหารให้ความสนใจในโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา มีการแต่ตั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการดำเนินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา และผู้บริหารมีการสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับ กับผลการประเมินของ พัชรี ศรีอ่อน (2551, หน้า 125) ได้ประเมินโครงการ พัฒนาคุณภาพครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในโรงเรียนเซนโยเซฟต์ ท่าแร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สกลนครเขต 1 พบว่า ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผลการประเมินด้านครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ครูผู้สอน มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการครูให้ความสำคัญในการหาความรู้ในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะการที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายซึ่งครูเป็นบุคคลสำคัญที่จะถ่ายทอดความรู้ ให้แนวคิดต่าง ๆ กับเด็กนักเรียน ครูจะต้องมีความเข้าใจอย่างท่องแท้ ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของสุชีรา วิบูลย์สุข (2551,หน้า 252-259 ) ที่ได้ทำการศึกษาบทบาทของภาคีหุ้นส่วนในการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (พหุกรณีศึกษา) พบว่าการ บูรณาการความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมเสริมหลักสูตรและงานบริการวิชาชีพแก่สังคม ทั้ง 3 ด้าน ภาคีหุ้นส่วนที่มีบทบาทสำคัญคือครูผู้สอน โดยจะมีบทบาทเป็นกาลังหลักสำคัญในการดาเนินงานทั้ง 3 ด้านคือ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอนซึ่งครูเป็นผู้ที่มอบความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในหลักทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่สร้างความตระหนักในการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดแก่ผู้เรียนมากที่สุด ยุทธวิธีที่ใช้ในการส่งเสริมในด้านการจัดการเรียนการสอนคือใช้หลักของการ บูรณาการ รวมทั้งสอดแทรกแนวคิดต่างๆ ที่นักเรียนสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตัวเองและครอบครัว

2) ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูจะเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษา คำแนะนาในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งให้นักเรียนได้ดำเนินงานด้วยตนเองอย่างอิสระ ยุทธวิธีที่ใช้การส่งเสริมการจัดกิจกรรมคือ การนิเทศติดตามอย่างด้วยความใกล้ชิด และ 3) ด้านงานบริการวิชาชีพแก่สังคม ครูเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาชีพให้มีความเหมาะสมกับชุมชน พร้อมทั้งควบคุมและดูแลการฝึกอาชีพ ยุทธวิธีที่ครูใช้ในการส่งเสริมการบริการด้านวิชาชีพคือ ครูผู้สอนมีการการพัฒนาฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ โดยการเข้ารับการอบรมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานเอกชน อีกทั้งยังมีการสำรวจความต้องการของตลาดอาชีพ นอกจากนั้นยังมีการศึกษาพื้นที่ชุมชนก่อนออกบริการว่ามีลักษณะอย่างไร มีผลิตผลอะไรที่โดดเด่นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านงบประมาณมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ โรงเรียนยังขาดการการวางแผนการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องศึกษาปัญหาและความต้องการของโรงเรียน ต้องมีการบริหารงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด โดยใช้หลักการบริหาร ตามหลักปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เข้ามาบริหารจัดการงบประมาณ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ฉวีวรรณ เหล่ารอด (2551, หน้า 98) ได้ประเมินโครงการแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 พบว่า ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านงบประมาณในการดำเนินโครงการ ที่มีผลประเมินตามเกณฑ์ไม่มีความเหมาะสม

1.2 ด้านการดำเนินกิจกรรม เป็นการประเมินด้านการวางแผนการดำเนินกิจกรรม

การดำเนินกิจกรรม การตรวจติดตาม และ การดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมโดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก อาจเป็นเพราะโรงเรียนดำเนินงานของโครงการเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานที่ได้กำหนดไว้ มีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกกิจกรรม บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินกิจกรรม โรงเรียนมีการติดตามผล ประเมินผล การดำเนินกิจกรรมของโครงการทุกระยะ มีการสรุปผลการดำเนินงาน โดยนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของสตัฟเฟิลบีม ( Worthen and Sander, 199, p. 43 ) ได้กล่าวว่า การประเมินปัจจัยนำเข้าเป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม ความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เช่นเรื่องของอาคารสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เวลา งบประมาณ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนเก็บรวมรวมข้อมูลที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการทุกขั้นตอน นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ใช้ข้อมูลนั้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ ซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่ได้นำมาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอนมีความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการปฏิบัติตามขั้นตอนมีการพัฒนาและปรับปรุงตนเองเป็นประจำ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สมชาย สัพโส (2548, หน้า 154) ได้ประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่า ผลการประเมินกระบวนการด้านการปรับปรุงวิธีการดำเนินการโดยรวม สภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ด้านการตรวจติดตามมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อาจเป็นเพราะโรงเรียนมีบุคลากรไม่เพียงพอ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจติดตามยังไม่ครอบคลุมทุกกิจกรรม อาจเพิ่มแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตในการตรวจติดตาม ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินของ ดวงใจ อินทร์พรหม (2550, หน้า 115) ได้ประเมินโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงของจังหวัดตาก พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงของจังหวัดตาก ได้แก่ด้านการดำเนินกิจกรรม ส่วนผลการประเมินไม่เหมาะสมได้แก่ ด้านการประสานงาน และด้านการติดตามและประเมินผล

1.3 ด้านผลผลิต เป็นการประเมินด้านสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผลผลิตด้านด้านครูและบุคลากร

ทางการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ครูซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการจัดกระบวนการเรียน

การสอนที่เน้นการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกหน่วยการเรียนรู้ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อ แหล่งเรียนรู้และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน พัฒนาการคิดของนักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินของ ธนันสิน อวิโรธนานนท์ (2552, หน้า 77) ได้ประเมินโครงการเกษตรผสมผสานเพื่อรากฐานเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย พบว่า ผลการประเมินผลผลิตของโครง ครูให้ความสนใจ เอาใจใส่ ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี เป็นข้อที่เหมาะสมและสอดคล้องที่สุด ค่าเฉลี่ยต่ำสุดด้านนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินของ คมศร ม่วงมี (2549, หน้า 80 ) ได้ประเมินโครงการโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี พบว่า ผลการประเมินผลผลิตของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์

2. แนวทางพัฒนาโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 แนวทางการพัฒนาโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

2.1 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ มีการวางแผนงบประมาณครอบคลุมตามกิจกรรมโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหาร ของ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) ปรมาจารย์ด้านการบริหาร วงจรนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า “วงจรเด็มมิ่ง” วงจร PDCA นั้นสามารถนำมาใช้ได้กับทุกกิจกรรม P D C A เป็นอักษรนำของศัพท์ภาษาอังกฤษ 4 คำคือ P D C A ซึ่ง การวางแผน (Plan: P) พอล อาร์วีสัน ( Arveson, 1998, p.1) และหน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญ (2540, หน้า 83-84) ได้กล่าวว่า การวางแผน เป็นส่วนประกอบของวงจรที่มีความสำคัญ เนื่องจากการวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นของงานและเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำงานในส่วนอื่น เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล การวางแผนในวงจรเดมมิ่ง เป็นการหาองค์ประกอบของปัญหา โดยวิธีการระดมความคิด การหาสาเหตุของปัญหา การหาวิธีการแก้ปัญหา การจัดทำตารางการปฏิบัติงาน การกำหนดวิธีดาเนินการ การกำหนดวิธีการตรวจสอบ และประเมินผล ในขั้นตอนนี้ มีการดำเนินการตระหนักและกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินงาน หรือหาสาเหตุ ของปัญหา อธิบายปัญหาและกำหนดทางเลือก วิเคราะห์ปัญหา เพื่อใช้กำหนดสาเหตุ ของความบกพร่อง ตลอดจนแสดงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น การวางแผนนั้นควรยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีความพอประมาณ ไม่น้อยไม่มากเกิดไปไม่เบียดเบียนด้านอื่นๆ ความมีเหตุผล คือการตัดสินใจในการใช้งบประมาณควรจะต้องกระทำโดยมีเหตุมีผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงผลที่จะเกิดจากการกระทำนั้น และหลักการมีภูมิคุ้มกัน คือ มีการเตรียมพร้อม

รับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549 , หน้า 41)

2.1 ด้านการดำเนินกิจกรรมของโครงการ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ การวัดผลประเมินผลครอบคลุมความรู้ด้านทักษะ กระบวนการด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การวัดผลประเมินผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของสมยศ ปั๋นแก้ว (2546,บทคัดย่อ) พบว่าปัญหาที่สำคัญที่สุดในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานคือ ไม่มีการประเมินผลแผน กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานไม่เป็นระบบ โรงเรียนควรแสวงหางประมาณสนับสนุนบุคลากรจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการควรมีการประเมินแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องควรมีระบบการประเมินตนเอง ประเมินภายในที่ชัดเจน ควรให้ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินอย่างจริงจัง

2.3 ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ ให้นักเรียนได้ฝึกการวิเคราะห์และประพฤติปฏิบัติตนด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง มีเหตุผลและภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ได้กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียน พัฒนาการคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มุ่งพัฒนาความสามารถทางอารม เข้าใจตนเองเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาได้ ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้นควร ใช้รูปแบบวิธีการที่หลากหลายเน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงเรียนรู้แบบบูรณาการการใช้วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ การเรียนรู้คู่คุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545, หน้า 21-22)

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

จากผลการประเมินโครงการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะต่อโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาในการนำผลการศึกษาไปใช้ ดังต่อไปนี้

1. ด้านงบประมาณ ในสถานศึกษาแต่ละแห่งควรกำหนดการใช้งบประมาณให้เหมาะสมเป็นไปตามนโยบาย มีการมีการวางแผนการใช้งบประมาณ บริหารจัดการงบประมาณให้เหมาะสม กำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบงบประมาณให้ชัดเจนและมีความรู้ความสามารถด้านงบประมาณ โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีความพอประมาณ ไม่น้อยไม่มากเกิดไป ไม่เบียดเบียนด้านอื่นๆ ความมีเหตุผล คือการตัดสินใจในการใช้งบประมาณควรจะต้องกระทำโดยมีเหตุมีผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงผลที่จะเกิดจากการกระทำนั้น และหลักการมีภูมิคุ้มกัน คือ มีการเตรียมพร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ

2. ด้านการตรวจติดตาม ควรมีการกำหนดการตรวจติดตามให้เป็นระบบ มีการดำเนินการในทุกขั้นตอน ก่อนการดำเนินการ ระหว่างการดำเนินการ และหลังดำเนินการ และมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง กำหนดผู้รับผิดชอบในการประเมินให้ชัดเจน จัดอบรม พัฒนาบุคลากรประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในเรื่องการประเมิน ควรมีระบบการประเมินตนเอง ประเมินภายในที่ชัดเจน ควรให้ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินอย่างจริงจัง เพิ่มแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตในการตรวจติดตามการดำเนินโครงการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงมากที่สุด

3. ด้านนักเรียน ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้เทคนิคและวิธีการที่ให้นักเรียนได้เข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย ฝึกให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ ให้นักเรียนทุกคนใช้ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียน พัฒนาการคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มุ่งพัฒนาความสามารถทางอารม เข้าใจตนเองเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาได้ ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้นควร ใช้รูปแบบวิธีการที่หลากหลายเน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงเรียนรู้แบบบูรณาการการใช้วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ การเรียนรู้คู่คุณธรรมรู้จักการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

บรรณานุกรม

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา , ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2552). ตามรอยพ่อชีวิตพอเพียง...สู่การพัฒนาที่

ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550) . ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

(พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินโครงการอัน

เนื่องมาจากพระราชดำริ.สำนักพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษาและกิจการพิเศษ,

นักงานปลัดกระทรวง.

พัชรี ศรีอ่อน. (2551). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้น

ผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนเซนต์โยเซฟ ท่าแร่. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ฉวีวรรณ เหล่ารอด. (2551). การประเมินโครงการโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วม สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สมชาย สัพโส. (2548). การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ดวงใจ อินทร์พรม. (2550). การประเมินโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจ

แบบพอเพียงของจังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิยาลัยราชภัฎ

กำแพงเพชร.

ธนันสิน อวิโรธนานนท์ (2552). การประเมินโครงการเกษตรผสมผสาน เพื่อรากฐานเศรษฐกิจ

พอเพียง โรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คมศร ม่วงมี. (2549). การประเมินโครงการโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สระบุรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2555). แผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ สิบเอ็ด (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงาน

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

. (2554). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : โรง

พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

โพสต์โดย ครูนา : [4 ม.ค. 2564 เวลา 07:33 น.]
อ่าน [3666] ไอพี : 118.172.34.14
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 3,690 ครั้ง
วิธีใช้ "เขียง" ให้ปลอดภัย
วิธีใช้ "เขียง" ให้ปลอดภัย

เปิดอ่าน 12,072 ครั้ง
ภัยร้ายหน้าร้อน-สาวๆ ไม่อยากหมดสวยต้องอ่าน 6 กลเม็ดสู้ "ผิวไหม้แดด"
ภัยร้ายหน้าร้อน-สาวๆ ไม่อยากหมดสวยต้องอ่าน 6 กลเม็ดสู้ "ผิวไหม้แดด"

เปิดอ่าน 49,126 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 9 การเริ่มเล่นและการเริ่มเล่นใหม่
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 9 การเริ่มเล่นและการเริ่มเล่นใหม่

เปิดอ่าน 9,492 ครั้ง
หน้ากากอนามัยใส่ให้เป็น
หน้ากากอนามัยใส่ให้เป็น

เปิดอ่าน 11,380 ครั้ง
มหัศจรรย์สมุนไพรไทยต้านโรคคนเมือง
มหัศจรรย์สมุนไพรไทยต้านโรคคนเมือง

เปิดอ่าน 27,462 ครั้ง
แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด
แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด

เปิดอ่าน 11,361 ครั้ง
ทำอย่างไรให้ "เด็ก" ปลอดภัย ใน "อินเตอร์เน็ต"
ทำอย่างไรให้ "เด็ก" ปลอดภัย ใน "อินเตอร์เน็ต"

เปิดอ่าน 10,799 ครั้ง
ภัยจากการไม่กินผัก
ภัยจากการไม่กินผัก

เปิดอ่าน 27,340 ครั้ง
E-mail Scams คืออะไร?
E-mail Scams คืออะไร?

เปิดอ่าน 26,689 ครั้ง
พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เปิดอ่าน 16,174 ครั้ง
ประวัติจังหวัดนครพนม
ประวัติจังหวัดนครพนม

เปิดอ่าน 10,347 ครั้ง
"การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์
"การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์

เปิดอ่าน 21,112 ครั้ง
ถาม - ตอบ เพื่อสุขภาพ
ถาม - ตอบ เพื่อสุขภาพ

เปิดอ่าน 19,554 ครั้ง
การเรียนรู้โดยใช้แป้นพิมพ์แทนการเขียน ดีหรือไม่?
การเรียนรู้โดยใช้แป้นพิมพ์แทนการเขียน ดีหรือไม่?

เปิดอ่าน 6,725 ครั้ง
กองทุนการศึกษา โครงการพระราชดำริสุดท้าย ด้วยความห่วงใยอนาคตชาติ
กองทุนการศึกษา โครงการพระราชดำริสุดท้าย ด้วยความห่วงใยอนาคตชาติ

เปิดอ่าน 15,725 ครั้ง
แชร์ว่อนเน็ต คลิป"มอเตอร์ไซค์รับจ้าง"พูดอังกฤษคล่องปรื๋อ! ให้สัมภาษณ์ทีวีสิงคโปร์ หลายคนแห่ชื่นชม !!
แชร์ว่อนเน็ต คลิป"มอเตอร์ไซค์รับจ้าง"พูดอังกฤษคล่องปรื๋อ! ให้สัมภาษณ์ทีวีสิงคโปร์ หลายคนแห่ชื่นชม !!
เปิดอ่าน 15,544 ครั้ง
รายได้ และ ค่าครองชีพ AEC
รายได้ และ ค่าครองชีพ AEC
เปิดอ่าน 31,811 ครั้ง
"ฮาร์เล็ม เชค (Harlem Shake)" ขึ้นอันดับ 1 บิลบอร์ดแล้ว มาชมคลิปกันครับ
"ฮาร์เล็ม เชค (Harlem Shake)" ขึ้นอันดับ 1 บิลบอร์ดแล้ว มาชมคลิปกันครับ
เปิดอ่าน 20,101 ครั้ง
การระบายสีจุดของกราฟ
การระบายสีจุดของกราฟ
เปิดอ่าน 96,177 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal):  กติกาข้อ 8  ระยะเวลาของการแข่งขัน
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 8 ระยะเวลาของการแข่งขัน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ