ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การส่งเสริมเจตคติในการส่งงานของนักเรียนชั้นปรถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านถนน ปีการศึกษา 2563

วิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง การส่งเสริมเจตคติในการส่งงานของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านถนน

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ผู้วิจัย

นายมะสานูสี อาลี

ครูชานาญการ โรงเรียนบ้านถนน

สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2

บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ โรงเรียนบ้านถนน อาเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

ที่ ศธ 04092.052 /2563 วันที่ 1 ธันวาคม 2563

เรื่อง วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

เรียน ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านถนน

ตามที่ ข้าพเจ้า ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบทาวิจัยในชั้นเรียน ข้าพเจ้าเลือกทาวิจัยในชั้นเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

บัดนี้การปฏิบัติงานวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ได้ดาเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จึงขอรายงานผลการดาเนินงานวิจัยในชั้นเรียน ตามเอกสารตามที่แนบมา

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ลงชื่อ

(นายมะสานูสี อาลี)

ครูชานาญการ โรงเรียนบ้านถนน

ความคิดเห็นของผู้อานวยการโรงเรียน

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ

(นายสุวิทย์ โรจนสุวรรณ)

ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านถนน

สารบัญ

บทที่ หน้า

1 บทนา……………………………… …………………………………………………………………….…………………. 1

1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา……………………………………….………………….. 1

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย……………………………………..………………………………………… 1

1.3 ขอบเขตการวิจัย……………………………………………………………………………………………. 2

1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ………………………………………………………………………….……….………. 2

1.5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย…………………………………………………………….……….…… 2

2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………….………………….……………. 3

2.1 ความหมายของการวิจัย………………………………………………..…………………………………. 3

2.2 การวิจัยในชั้นเรียน…………………………………………………………….………………………….… 4

2.3 ความหมายเจตคติ…………………………………………………………………………………………... 5

2.4 ลักษณะของเจตคติ……………………………………………….……………………………………….… 5

2.5 องค์ประกอบของเจตคติ…………………………………………………………….……………….….… 5

3. วิธีการดาเนินงาน………………………………………………………………………………………………….…… 7

3.1 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง……………………………………………………………………………….…… 7

3.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย…………………………………………………………………….………….. 7

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย…………………………………………………………………………..……… 7

3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล.............................................................................................. 7

3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้............................................................................... 7

4. ผลการวิจัยและอภิปรายข้อมูล………………………………………………………………………..…………. 8

4.1 ผลการวิจัย…………………………………………………………………….................................... 8

4.2 อภิปรายผล…………………………………………………………………………………………………. 9

5. สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ……………………………….…………………………………………… 10

5.1 สรุปผลการวิจัย……………………………………………………………………………………………. 10

5.2 ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………………………………………….. 11

บรรณานุกรม

1

บทที่ 1

บทนา

1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา

ความเจริญก้าวหน้าของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงนั้น เพื่อให้สังคมไทยก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์ สังคมไทยต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในการสร้างนิสัย ให้คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ให้เป็นคนยุคใหม่ ก้าวทันโลกแห่งความเจริญในปัจจุบันและอนาคต สามารถปรับตัว “ ให้อยู่รอด ก้าวทัน ก้าวหน้า ก้าวนา ” การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 เป็นกฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งให้ความสาคัญเรื่องต่าง ๆ เช่น มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิตที่สามารถอยู่ร่วม กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในหมวด ตั้งแต่มาตรา 22 – 30 ได้กล่าวถึง หัวใจการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ หรือเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

จะเห็นได้ว่า กระแสของการปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลการปฏิบัติงานของคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและบรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรการจัดการศึกษา ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ระบุไว้ในมาตรา 24(5) มีข้อความสาคัญ ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และมาตร 30 ระบุโดย สรุปว่าให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอน สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา ดังนั้นครูเป็นบุคลากร

จากเหตุผลดังกล่าว ทาให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของการไม่ส่งงานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และภาษาไทย เพื่อพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมความรับผิดชอบ การจัดกระบวนการเรียนการสอน ให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อเสริมสร้างเจตคติในการส่งงานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มจานวนมากขึ้น

2

1.3 ขอบเขตการวิจัย

1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563

ของโรงเรียนบ้านถนน จานวน 31 คน

2.ระยะเวลา คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ

1.เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกที่แสดงออกมาในทางบวก หรือทางลบ เช่น ความพอใจ

ความไม่พอใจ ในการส่งงาน ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

2.งาน หมายถึง แบบฝึกหัดที่ครูให้ในชั่วโมงเรียน แบบฝึกหัดการบ้าน ใบงาน รวมถึง

การทางานเป็นกลุ่มหรือชิ้นงาน

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย

1.ทาให้ครูผู้สอนทราบเจตคติของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมในการส่งงานกลุ่มสาระการเรียนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

2.เป็นแนวทางให้ครูผู้สอนในรายวิชาอื่น ๆ ได้ศึกษาและนาไปสารวจเจตคติทางนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเรื่องของเจตคติต่อการส่งงาน

3

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 ความหมายของการวิจัย

ความหมายของการวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบระเบียบเพื่อทาความเข้าใจปัญหาและแสวงหาคาตอบ เป็นกระบวนที่อาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อเป็นจุดหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง (ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล: 2544: 21-22) คือ

2.1.1 เพื่อค้นพบความรู้ ความจริง ซึ่งอาจจะเป็น

- การค้นพบความรู้ใหม่ที่เพิ่มพูนขึ้นจากองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว

- การพัฒนา (ตรวจสอบ ประเมิน ขยาย) ความรู้ที่ได้ค้นพบมาก่อนแล้ว

2.1.2 เพื่อนาความรู้ที่ค้นพบมาก่อนแล้วไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

เนื่องจากงานวิจัยเป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่อาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เป็นหลัก จึงมีผู้ใช้คาว่า “scientific research” ซึ่งเป็นการเน้นวิธีการแสวงหาความรู้ตามระเบียบวิธีการทางคณิตศาสตร์ ถึงแม้ว่าการจาแนกขั้นตอนของกระบวนการวิจัยไว้ต่างกันในรายละเอียดแต่โดยภาพรวมมีองค์ประกอบเหมือนกัน ซึ่งจาแนกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ ๆ (ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล.2544:21-22) ดังนี้

1. การนิยามปัญหา (problem identification / definition)

2. การวางแผนการวิจัย (planning)

3. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (data collection and analysis)

4. การสรุปผล (conclusion)

การวิจัยทางการศึกษาเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยการประยุกต์จากการวิจัยเชิงทดลองในสาขาคณิตศาสตร์ ตามรูปแบบของ Fisher ที่เรียกว่า The Fisherian Model” (Hopkins, 1994:39) ตามประวัติกล่าวถึง William Rice ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกวิจัยทางการศึกษา Rice ได้ใช้วิธีการทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกฝนสะกดคา วันละ 40 นาที จะมีผลสัมฤทธิ์ในการสะกดคาสูงกว่าที่ไม่ได้รับการฝึกฝนเลยหรือไม่ การวิจัยของ Rice นับว่าเป็นวิธีการหาคาตอบที่ใหม่มากในยุคนั้น

ปัจจุบัน การวิจัยมีผลอย่างมากในการให้คาตอบสิ่งต่าง ๆ ในการจัดการศึกษาในด้าน การวิจัยพื้นฐาน (basic research) เพื่อเพิ่มพูนความรู้/ทฤษฏีทางการศึกษา และในด้านการวิจัยวัตถุประสงค์ (applied research) ที่มุ่งปรับใช้ความรู้เพื่อประสิทธิภาพทางการศึกษา

พัฒนาการในวิทยาการวิจัย ส่งผลให้มีรูปแบบการวิจัยหลากหลายที่เหมาะสมกับสาขาทางซึ่งอิงระบบวิธีการทางคณิตศาสตร์อย่างเต็มรูป กับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งอิงระบบวิธีการทางคณิตศาสตร์อย่างเต็มรูป กับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งปฏิเสธแนวคิดและวิธีการทางคณิตศาสตร์อย่างเต็มรูปแบบที่ใช้ในการวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์ ทั้งสองแนวได้แตกแขนงเป็นรูปแบบการวิจัยต่าง ๆ อีกหลายรูปแบบ (ผ่องพรรณ และสุภาพ.2541:1-12)

4

2.2 การวิจัยในชั้นเรียน

ต้นศตวรรษที่ 20 John Dewey นักปราชญ์นาแนวคิดเชิงพัฒนาการ ได้กล่าวถึง “การคิดเชิงสะท้อน (reflective thingking) ของครู ซึ่งเป็นรากฐานสาคัญของแนวคิดครูกับการวิจัยในปัจจุบัน แต่ประกายความคิดนี้ไม่ได้รับการสานต่อ จนกระทั่งหลายศตวรรษต่อมาเกิด ความดื่นตัวเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการขึ้นนักการศึกษาจึงได้ให้ความสนใจเรื่องของการวิจัยในชั้นเรียนได้กล่าวถึงความเคลื่อนไหวในการปฏิรูปหลักสูตรของโรงเรียนที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ช่วงปี 1960 ว่าอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดครูกับการวิจัย กล่าวคือ ในการปฏิรูปหลักสูตรในระยะนั้น ครูได้ใช้กระบวนการของการคิดเชิงสะท้อน ในการทบทวนทฤษฏีและแนวปฏิบัติทางการศึกษาและการนาไปใช้ อยู่ในโรงเรียน

วิวัฒนาการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการและการนาไปใช้ในวงการศึกษา สรุปได้ดังนี้ (McCutcheon and jung 1990:144-151;Mckeman,1996:3-14;knowies,Coles and esswood,1994:11)

- ในช่วง ค.ศ. 1910 – 1938 John Dewey ส่งเสริมความคิดเชิงสะท้อนให้กับครู และริเริ่มการประยุกต์ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา

- “การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research)” เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักจิตวิทยาสังคมชื่อ Kurt Lewn ตั้งแต่ช่วงปี 1940s ในการเสนอแนวคิดเรื่องพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยผนวกทฤษฏีเชิงสังคม (social theory) ให้เข้ากับการปฏิบัติจริงในสังคม (social action)

- ต่อมาในช่วงปี 1950s นักการศึกษาเริ่มให้ความสนใจแนวทางของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ Stephen Corey นักปราชญ์การศึกษาแนวปฏิรูป เสนอแนวคิดเรื่องการวิจัยปฏิบัติเชิงโรงเรียน โดยสนับสนุนให้ครูเป็นนักวิจัยในชั้นเรียนของตนควบคู่กับการเป็นผู้ปฏิบัติการสอน แต่แนวคิดดังกล่าวนี้ยังไม่แพร่หลายในวงการศึกษาในขณะนั้น

- จุดเริ่มที่ทาให้แนวคิดเป็นรูปธรรมเกิดช่วงปฏิรูปการศึกษาในยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษในช่วงปี 1960s ได้เกิดการวิพากษ์ช่องว่างระหว่างทฤษฏีและแนวคิด ในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน กับการปฏิบัติจริงในโรงเรียน L.Stenhouse (1977) ได้สนับสนุนแนวคิดว่าครูควรมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรของตน โดยมีการวิจัยในโรงเรียนและดาเนินการเป็นคณะวิจัยร่วมระหว่างครูและนักศึกษา (collaborative research) แม้จะยังไม่ใช่การวิจัยที่ริเริ่มโดยครูและยังไม่ปฏิบัติกันแพร่หลายในวงกว้างแต่ถือว่าเป็นจุดแนวคิด “ครู-นักวิจัย” ของ Stenhouse

- Carr และ Kemmis เป็นผู้ริเริ่มนาแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปใช้อย่างจริงจัง ในโรงเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย ในระยะต้นของช่วงปี 1980 ตามแนวคิดทฤษฏี “Critical Social Theory” ของ Habermas (1972)

- แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติในชั้นเรียนแพร่หลายจากประเทศอังกฤษและออสเตรเลีย สู่สหรัฐอเมริกา และเป็นแนวโน้มสาคัญในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงปลายของ 198

5

วงการศึกษาในประเทศไทย รับแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนมาใช้อย่างสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวในการพัฒนาทางวิชาชีพของครู โดยส่งเสริมให้ครูทาการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนในขณะเดียวกันที่เพื่อเป็นวิธีทางหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพเชิงวิชาการและความก้าวหน้าในอาชีพของครูอีกด้วย(ผ่องพรรณ ตรัยมลคลกูล, 2544:3-5)

2.3 ความหมายของเจตคติ

เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกที่แสดงออกมาในทางบวก หรือทางลบ เช่น พอใจ ไม่พอใจ เห็น

ด้วย ไม่เห็นด้วย ชอบหรือไม่ชอบต่อบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

เจตคติ หมายถึง ความรูสึกโน้มเอียงของจิตใจที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใด เรื่องหนึ่ง

2.4 ลักษณะของเจตคติ

กฤษณา ศักดิ์ศรี ( 2530 :185 – 188 ) ได้กล่าวถึงลักษณะที่สาคัญของเจตคติ สรุปได้ดังนี้

1. เจตคติเกิดจากการเรียนรู้หรือประสบการณ์ของบุคคลที่ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กาเนิด

2. เจตคติเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สถานการณ์และเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

3.เจตคติเป็นตัวกาหนดพฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน เราจะสังเกตได้ว่าบุคคลมีเจต

คติในทางยอมรับหรือไม่ยอมรับ โดยสังเกตพฤติกรรมที่บุคคลนั้นแสดงออกมา

4. เจตคติเป็นสิ่งซับซ้อน มีที่มาสลับซับซ้อน เพราะเจตคติขึ้นอยู่กับหลายประการ เช่นประสบการณ์การรับรู้ ความรู้สึก ความคิดเห็น อารมณ์ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ฉะนั้นจึงผันแปรได้

5. เจตคติเกิดจากการเลียนแบบ สามารถถ่ายทอดไปสู่บุคคลอื่นๆได้

6. ทิศทางของเจตคติ มี 2 ทิศทาง คือ สนับสนุนหรือต่อต้านและปริมาณของเจตคติมีตั้งแต่พอใจอย่างยิ่ง ปานกลาง จนถึงไม่พอใจอย่างยิ่ง เจตคติของบุคคลแต่ละคนจะมีความรุนแรงต่างกันไป

7. เจตคติอาจเกิดขึ้นมาจากความมีจิตสานึก หรือจากจิตไร้สานึกก็ได้

8. เจตคติมีลักษณะคงทนถาวรพอสมควร กว่าบุคคลจะมีเจตติต่อสิ่งใดได้ต้องใช้เวลานาน ใช้ความคิดลึกซึ้ง พิจารณาละเอียดรอบคอบแล้จึงเกิดเจตคติต่อสิ่งนั้น เจตคติอาจเกิดเปลี่ยนแปลงได้ แต่ไม้ได้หมายความว่าจะเปลี่ยนได้ในเวลาอันรวดเร็ว

9. บุคคลแต่ละบุคคลย่อมมีเจตคติต่อบุคคล สถานการณ์สิ่งเดียวกัน แตกต่างกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของบุคคลนั้น

2.5 องค์ประกอบของเจตคติ

ประภาเพ็ญ สุวรรณ ( 2526 : 34 ) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของเจตคติไว้ดังนี้

6

1. องค์ประกอบด้านพุทธปัญญา หรือองค์ประกอบด้านความคิด ( Cognitive component)

ได้แก่ ความคิดซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มนุษย์ใช้ในการวัด ความคิดนี้อาจอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้า

2. องค์ประกอบทางด้านท่าทีความรู้สึก ( Affective component ) เป็นส่วนประกอบใน

ด้านอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเป็นตัวเร้าความคิดอีกต่อหนึ่ง ถ้าบุคคลมีความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดี ในขณะที่คิดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แสดงว่าบุคคลนั้นมีความรู้สึกในด้านบวก หรือด้านลบตามลาดับต่อสิ่งนั้น

3. องค์ประกอบด้านปฏิบัติ หรือองค์ประกอบด้านพฤติกรรม ( Beharioral component)

เป็นองค์ประกอบที่มีแนวโน้มในทางปฏิบัติ ถ้ามีสิ่งเร้าที่เหมาะสมจะเกิดการปฏิบัติหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง

7

บทที่ 3

วิธีการดาเนินการวิจัย

การวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมเจตคติ ในการส่งงานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดาเนินการวิจัยดังนี้

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบ้านถนน จานวน 31 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา

2563 ของโรงเรียนบ้านถนน อาเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

3.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ตลอดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.การส่งเสริมเจตคติโดยการใช้คาพูด เสริมแรง ให้คาชมเชย

2.การส่งเสริมเจตคติ โดยการใช้สัญลักษณ์ (ตัวปั้มการ์ตูน)

3.การส่งเสริมเจตคติ เป็นรายบุคคล การให้รางวัล

3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเองกับกลุ่มตัวอย่าง จานวน 31คน โดยจัดทาตารางส่งงานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และจัดทาเป็นตารางกราฟแสดงข้อมูลเปรียบเทียบ

3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

3.5.1 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดาเนินการดังต่อไปนี้

(1) ทาตารางบันทึกการส่งงาน แบบฝึกหัดในเวลา แบบฝึกหัดการบ้าน ใบงาน รวมถึงผลงานเป็นกลุ่ม ในช่วงต้นภาคเรียนที่ 1 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

(2) รวบรวมหาเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ

(3) บันทึกการส่งงานอย่างต่อเนื่อง หลังจากการส่งเสริมเจตคติ และนามาหาเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ

(4) นาค่าเฉลี่ยร้อยละของการส่งงานช่วงต้นภาคเรียนที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของการส่งงาน ช่วงปลายภาคเรียนที่ 1

8

บทที่ 4

ผลการวิจัยและอภิปรายข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมเจตคติในการส่งงานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านถนน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ได้ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลจะนาเสนอผลการวิจัยและอภิปรายผลต่อไปดังนี้

4.1 ผลการวิจัย

แผนภูมิที่ 1 บันทึกการส่งงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนได้รับการส่งเสริมเจตคติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

ตารางแสดงการส่งงานของนักเรียนระดับชั้น ป.6 ก่อนเสริมเจตคติ

ชั้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

จานวนนักเรียนที่ส่งงาน

ร้อยละ

จานวนนักเรียนที่ส่งงาน

ร้อยละ

ป.6

14

45.16

13

41.93

จากตารางที่ 1 การส่งงานของนักเรียน ป.6

ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 45.16

ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 41.93

แผนภูมิที่ 2 แผนภูมิเปรียบเทียบบันทึกการส่งงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป. 6 หลังจากได้รับการส่งเสริมเจตคติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

ตารางแสดงการส่งงานของนักเรียนระดับชั้น ป.6 หลังเสริมเจตคติ

ชั้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

จานวนนักเรียนที่ส่งงาน

ร้อยละ

จานวนนักเรียนที่ส่งงาน

ร้อยละ

ป.6

22

70.96

20

64.51

จากตารางที่ 2 การส่งงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางบวก คือเมื่อคิดเป็นร้อยละการส่งงาน หลังได้รับการส่งเสริมเจตคติ สูงกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมเจตคติสูงขึ้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากร้อยละ 45.16 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.96

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจากร้อยละ 41.93 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 64.51

9

4.2 อภิปรายผล

การส่งเสริมเจตคติเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนส่งงานตามที่ครูในได้มอบหมายงานหรือแบบฝึกหัดให้นักเรียนทาส่งครู เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนว่า นักเรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด พบว่าหลังจากการที่ครูผู้สอนทั้ง 2 วิชาให้การเสริมแรงเป็นการให้คาพูดชมเชย การให้รางวัลหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในสมุดงานของนักเรียน พบว่านักเรียน มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือมีจานวนนักเรียนส่งงานเพิ่มมากขึ้น

10

บทที่ 5

สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

การวิจัยเรื่อง ” การส่งเสริมเจตคติในการส่งงานของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน 31 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ” ผู้วิจัยได้ดาเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ จะนาเสนอรายละเอียดดังนี้

5.1 สรุปผลการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อเสริมสร้างเจตคติในการส่งงานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มจานวนมากขึ้น

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบ้านถนน จานวน 31 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา

2563 ของโรงเรียนบ้านถนน จานวน 31 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.การส่งเสริมเจตคติโดยการใช้คาพูด เสริมแรง ให้คาชมเชย

2.การส่งเสริมเจตคติ โดยการใช้สัญลักษณ์ (ตัวปั้มการ์ตูน)

3.การส่งเสริมเจตคติ เป็นรายบุคคล การให้รางวัล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเองกับกลุ่มตัวอย่าง จานวน 31 คน โดยผู้วิจัยได้มีแบบบันทึกการส่งงานเป็นรายบุคคลของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

การวิเคราะห์ข้อมูล

1.การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ก่อนการส่งเสริมเจตคติ

2.การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ หลังการส่งเสริมเจตคติ

3.นาค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบความก้าวหน้าในรูปกราฟเพื่อใช้ในการแปลความหมาย

11

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1.การส่งงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้น ป.6 ก่อนการส่งเสริมเจตคติพบว่าอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 50

2.ค่าเฉลี่ยของการส่งงานหลังการส่งเสริมเจตคติพบว่าสูงขึ้นกว่าเดิม ในทั้ง 2 วิชา ทาให้สรุปได้ว่า การที่ครูผู้สอนได้ศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อถามถึงสาเหตุการไม่ส่งงานและให้แรงเสริมเป็นเจตคติต่าง ๆ ทั้งในด้านคาพูดเสริมแรง การให้สัญลักษณ์ในสมุดแบบฝึกหัด พบว่านักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการส่งงานเพิ่มจานวนมากขึ้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ก่อนได้การส่งเสริมเจตคติคิดเป็นร้อยละ 45.16 หลังจากได้รับการส่งเสริมเจตคติคิดเป็นร้อยละ 70.96 และในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยก่อนได้การส่งเสริมเจตคติคิดเป็นร้อยละ 41.93 หลังจากได้รับการส่งเสริมเจตคติคิดเป็นร้อยละ 64.51

ข้อเสนอแนะ

1. ครูผู้สอนในวิชาอื่น ๆ ควรมีการสารวจถึงเจตคติของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมในการส่งงานของนักเรียน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเป็นรายบุคคล

2. ในการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ครูผู้สอนต้องเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามข้อสงสัยในขณะทาการเรียนการสอนให้มากที่สุด

3. ควรมีการเสริมแรง ยกย่องชมเชยและให้กาลังใจกับนักเรียนอย่างสม่าเสมอในขณะที่ทาการเรียนการสอน

โพสต์โดย เงาะห์ : [25 ม.ค. 2564 เวลา 14:18 น.]
อ่าน [3907] ไอพี : 118.173.50.94
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 44,861 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 2 ลูกบอล (The Ball)
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 2 ลูกบอล (The Ball)

เปิดอ่าน 14,057 ครั้ง
สูตรอาหารแก้ท้องผูก
สูตรอาหารแก้ท้องผูก

เปิดอ่าน 79,220 ครั้ง
สำนวนไทย
สำนวนไทย

เปิดอ่าน 107,316 ครั้ง
"จิ้งหรีด" เลี้ยงเล่นๆ รายได้เดือนเกือบหมื่น
"จิ้งหรีด" เลี้ยงเล่นๆ รายได้เดือนเกือบหมื่น

เปิดอ่าน 23,611 ครั้ง
เพลง "วันแม่"
เพลง "วันแม่"

เปิดอ่าน 26,367 ครั้ง
เผย 5 สมุนไพร ลดความดันโลหิตสูง ที่คุณคาดไม่ถึง
เผย 5 สมุนไพร ลดความดันโลหิตสูง ที่คุณคาดไม่ถึง

เปิดอ่าน 15,631 ครั้ง
เทคนิคการตกแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้
เทคนิคการตกแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้

เปิดอ่าน 36,942 ครั้ง
ภาพมาโคร คืออะไร?
ภาพมาโคร คืออะไร?

เปิดอ่าน 22,451 ครั้ง
เคล็ดไม่ลับ!!!วิธีตอน"มะนาว"ด้วย"กะปิ" ได้กิ่งพันธุ์ดี เป็นที่ต้องการ
เคล็ดไม่ลับ!!!วิธีตอน"มะนาว"ด้วย"กะปิ" ได้กิ่งพันธุ์ดี เป็นที่ต้องการ

เปิดอ่าน 10,790 ครั้ง
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก

เปิดอ่าน 16,838 ครั้ง
ฮอร์โมนเพศชายDHT-ต้นตอศีรษะล้าน
ฮอร์โมนเพศชายDHT-ต้นตอศีรษะล้าน

เปิดอ่าน 25,522 ครั้ง
แมลงมีพิษกัดต่อย
แมลงมีพิษกัดต่อย

เปิดอ่าน 21,881 ครั้ง
ไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ ลูกครึ่งไทย-จีน..ทนหวัดนก
ไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ ลูกครึ่งไทย-จีน..ทนหวัดนก

เปิดอ่าน 10,494 ครั้ง
Apink - Hush คลิปนี้คนดูล้านกว่าวิว (HD)
Apink - Hush คลิปนี้คนดูล้านกว่าวิว (HD)

เปิดอ่าน 73,965 ครั้ง
แบบคำขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
แบบคำขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

เปิดอ่าน 13,880 ครั้ง
ลี กวน ยู บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
ลี กวน ยู บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
เปิดอ่าน 18,563 ครั้ง
1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
เปิดอ่าน 13,675 ครั้ง
มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด
มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด
เปิดอ่าน 32,148 ครั้ง
ไขปัญหาเกี่ยวกับ สถิติ วัดผล และวิจัย ตอนที่ 1
ไขปัญหาเกี่ยวกับ สถิติ วัดผล และวิจัย ตอนที่ 1
เปิดอ่าน 22,647 ครั้ง
"แกรนด์ แคนยอน" ฟ้าผ่าปีละหลายหมื่นครั้ง! อยู่ที่แจ้ง รู้เอาตัวรอด
"แกรนด์ แคนยอน" ฟ้าผ่าปีละหลายหมื่นครั้ง! อยู่ที่แจ้ง รู้เอาตัวรอด

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ