|
|
• สมมติฐานสำคัญอย่างไร
การวิจัยกับสมมติฐาน
ในการทำวิจัยในแต่ละครั้งนั้น นักวิจัยมักประสบปัญหากับการตั้งสมมติฐาน ซึ่งโดยทั่วไปนักวิจัยมักจะตั้งสมมติฐานเพื่อเป็นการคาดคะเนคำตอบ แต่นักวิจัยในทางสังคมศาสตร์นั้นเห็นว่าการเขียนสมมติฐานไม่มีความจำเป็นเนื่องจากว่าการวิจัยทางสังคมศาสตร์เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ทำการวิจัยต้องเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเขียนในเชิงพรรณนาความ แต่นักวิจัยเชิงปริมาณเห็นว่าการตั้งสมมติฐานนั้นมีความสำคัญเพราะมีกรอบแนวคิดที่ชัดเจน จึงทำให้นักวิจัยเชิงปริมาณต้องตั้งสมมติฐานขึ้นเพื่อให้การวิจัยในแต่ละครั้งสามารถเก็บข้อมูลได้ตามตัวแปรที่กำหนด
ดังนั้นการตั้งสมมติฐานจึงขึ้นอยู่กับงานวิจัยที่จะต้องใช้ข้อมูลพิสูจน์ตามแนวความคิด ทฤษฎีที่นักวิจัยสร้างขึ้น ผู้วิจัยจึงควรทำความเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับ สมมติฐานว่าสมมติฐานคือ อะไร เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของตนหรือไม่อย่างไร
สมมติฐาน (Hypothesis)
สมมติฐานในการวิจัยคือ คำตอบสรุปผลการวิจัย คาดการณ์ หรือพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล คำตอบดังกล่าวได้มาจากการไตร่ตรองโดยใช้หลักเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้ให้มากที่สุด โดยมีรากฐานของทฤษฎี ผลจากการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆผู้วิจัยมั่นใจว่าผลการวิจัยน่าจะตรงกับสมมติฐานที่กำหนดไว้(บุญชม ศรีสะอาด,2545;34)
ความหมายของสมมติฐาน(Hypothesis) ที่ใช้กันทั่วไป หมายถึง คำตอบที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเน้นคำตอบที่มีเหตุผล มีหลักการหรือมีทฤษฎีรองรับและไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป ซึ่งจะต้องรอการพิสูจน์ในแง่ของการวิจัย(สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์,2548: 8)
หลักการเขียนสมมติฐาน
1. ใช้ข้อความที่เฉพาะเจาะจงกะทัดรัดชัดเจนและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย
2. เขียนสมมติฐานหลังจากที่ได้ศึกษา เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยครบถ้วนแล้ว
3. โดยทั่วไปจะเขียนสมมติฐานก่อนการรวบรวมข้อมูล แต่มีการวิจัยบางประเภท เช่น การวิจัยเชิงคุณลักษณะที่ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องตังสมมติฐานในการวิจัยไว้ก่อนที่จะมีการสำรวจ แต่อาจเริ่มจากการสังเกตรวบรวมข้อมูลแล้วสร้างสมมติฐานจากข้อมูล หรือพัฒนามาเป็นทฤษฎีเพื่ออธิบายข้อมูลนั้น
4. เขียนในรูปที่สามารถทดสอบได้จากข้อมูลที่จะไม่รวบรวมมาก
5. กรณีที่มีความซับซ้อน ควรแยกสมมติฐานออกเป็นข้อๆ ซึ่งในการวิจัยครั้งนั้นจะทำการทดสอบเป็นรายข้อต่อไป (บุญชม ศรีสะอาด,2545: 37)
ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
ลักษณะ ของสมมติฐานที่ดีมีดังนี้ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ,2547.94)
1. มีความเกี่ยวข้องกับปัญหา (relevance) สมมติฐานต้องเขียนเป็นประโยคบอกเล่าที่
ระบุถึงความสัมพันธ์เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย สะท้อนถึงแนวคิดที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ ครอบคลุมเนื้อหาและตัวแปรโดยอาศัยหลักการ แนวคิด ทฤษฎีมาสนับสนุน ไม่ตั้งสมมติฐานที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือนอกกรอบปัญหาวิจัย
2. ขอบเขตของสมมติฐาน (scope) ไม่กว้างหรือแคบเกินไป สมมติฐานที่ดีควรเขียน
เป็นประโยคสั้นๆ กะทัดรัดขัดเจน เข้าใจง่าย อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ถ้ากว้างเกินไปจะทำให้ได้งานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า
3.ต้องแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (relationship) สมมติฐานที่ตั้งขึ้นต้องแสดง
ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอย่างชัดเจน ในเชิงของความเป็นเหตุเป็นผล ไม่ตั้งขึ้นจากสามัญสำนึก เมื่อตั้งขึ้นแล้วต้องต้องเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตัวแปรตัวหนึ่งมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอีกคัวหนึ่งอย่างไร
4.สามารถทดสอบได้ (testability) สมมติฐานที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้ทุกข้อ หรือหา
ข้อมูล หลักฐานเกี่ยวกับตัวแปรมาเป็นข้อยืนยันสนับสนุนด้วยวิธีการทางสถิติ
5.สามารถทดสอบซ้ำได้ (repeatability) สมมติฐานที่ตั้งขึ้นต้องสามารถทดสอบได้
หลายๆครั้ง ไม่ว่าจะใช้ข้อมูลปัจจุบันหรืออนาคตก็ตาม สามารถนำมาทดสอบซ้ำได้เสมอ
6.สามารถสรุปอ้างอิงได้ (generalization) สมมติฐานที่ตั้งขึ้น เมื่อทดสอบแล้วต้องสามารถ
อ้างอิง หรือนำไปอธิบายปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้
7.มีการนำเสนอที่ดี ( presentation) สมมติฐานที่ตั้งขึ้นควรมีการนำเสนอหรือเขียน
ให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาวิจัยในเรืองนั้นๆ อาจเขียนสมมติฐานได้หลายๆข้อ
ประโยชน์ของสมมติฐาน (ผศ.ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ)
ในการตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบที่รอผลการพิสูจน์และสรุปผลการวิจัย
ที่อาจไม่ตรงกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ แต่สมมติฐานก็มีประโยชน์ต่อการทำวิจัย ดังนี้
1. ช่วยให้เห็นปัญหาการวิจัยได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบ
ของปัญหาในทุกด้านดังนั้น สมมติฐานจึงช่วยบอกให้ทราบว่าปัญหานั้นๆจะศึกษาอะไรในแง่มุมใดบ้าง
2. ช่วยกำหนดขอบเขตของการวิจัยเพราะสมมติฐานช่วยขมวดปัญหาให้ตรงจุดจะทำให้
เห็นขอบเขตการวิจัยในแง่เนื้อหาหรือประเด็นที่ศึกษา ตัวแปรที่ศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3. ช่วยให้นักวิจัยมีความคิดแจ่มแจ้งในเรื่องที่จะวิจัยทั้งนี้เพราะสมมติฐานช่วยชี้ให้เห็น
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่าอะไรเป็นตัวแปรต้น อะไรเป็นตัวแปรตาม หรืออะไรเป็นเหตุเป็นผล
4. ช่วยชี้แนะแนวทางในการวางแผนการวิจัย สมมติฐานจะเกี่ยวข้องกับตัวแปรและ
กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจะช่วยชี้ให้เห็นว่าจะใช้กลุ่มตัวอย่างชนิดใดจะเก็บข้อมูลอย่างไร จะใช้เครื่องมือชนิดใดและควรเลือกใช้สถิติประเภทใด
5.ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถแปลความหมายของข้อมูลได้ชัดเจนและเป็นแนวทางในการสรุปและเขียนรายงานการวิจัยได้อย่างชัดเจน ในลักษณะของการคัดค้านหรือสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้
6. เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ หากสมมติฐานได้รับการยอมรับเนื่องจากมมติฐสามารถสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาได้ รวมทั้งเป็นการตรวจสอบทฤษฎีเดิมด้วยและหากสมมติฐาได้รับการคัดค้านหรือปฏิเสธก็จะทำให้นักวิจัยมีความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาได้ลึกซึ้งกว่าการศึกษาโดยไม่มีสมมติฐาน
เอกสารอ้างอิง
บัญญัติ ชำนาญกิจ, วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์,สวรรค์วิถีการพิมพ์,นครสวรรค์.2550.
บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น, สุวีริยาสาส์น,กรุงเทพ,2545.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ,ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. เฮ้าออฟเคอร์มิสท์,กรุงเทพมหานคร,2547.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์.ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.เฟื่องฟ้าพรินติ้งจำกัด,2544.
|
โพสต์โดย ดรุณี ศรีอินทร์ : [12 ต.ค. 2551] อ่าน [18602] ไอพี : 125.24.25.92
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
|


เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|