นิยามทางการศึกษา



นิยามทางการศึกษา

การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

ระดับก่อนประถมศึกษา หมายถึง การศึกษาในประเภทศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชั้นเด็กเล็ก โดยมีระยะเวลาเรียน 1 ปี และการจัดการศึกษาประเภทอนุบาล มี 2 หลักสูตร คือ อนุบาลหลักสูตร 2 ปี และหลักสูตร 3 ปี ในการรวมอนุบาลหลักสูตร 2 ปี และหลักสูตร 3 ปี ได้รวมชั้นอนุบาล 1 ของหลักสูตร 2 ปี กับชั้นอนุบาล 2 หลักสูตร 3 ปี ไว้ในช่องชั้นอนุบาล 2 และรวมชั้นอนุบาล 2 ของหลักสูตร 2 ปี กับชั้นอนุบาล 3 ของหลักสูตร 3 ปี ไว้ในช่องรวมชั้นอนุบาล

ระดับประถมศึกษา หมายถึง การศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน ในเวลาเรียน 6 ปี

ระดับมัธยมศึกษา หมายถึง การศึกษาหลังระดับประถมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วงตอน คือ มัธยมศึกษาตอนต้น ที่จัดทำโดยกรมศิลปากรเทียบเท่าชั้น ม. 3 และมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็น 2 ประเภท คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญ คือ ชั้น ม.4 ถึง ม. 6 และประเภทอาชีวศึกษา คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฎศิลป์ชั้นกลาง หลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปชั้นกลาง

การศึกษาระดับอุดมศึกษา หมายถึง การศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งได้แก่ หลักสูตรอนุปริญญา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรนาฎศิลป์ชั้นสูง ประกาศนียบัตรศิลปชั้นสูง ระดับปริญญาตรี และรวมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเทคนิคชั้น (ปทส.) และระดับสูงกว่าปริญญาตรี ได้แก่ ประกาศนียบัตรบัณฑิตปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และปริญญาเอก

#showads

การศึกษาของสงฆ์ หมายถึง การศึกษาของสงฆ์ ที่จัดโดยหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กองพุทธศาสนาศึกษา ฝ่ายการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาและธรรมบาลี และสถาบันในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มตัวอย่าง

นักเรียน/ผู้เรียน หมายถึง ผู้ที่ได้รับการศึกษาในสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และที่เทียบเท่าทั้งนี้รวมถึงการศึกษานอกระบบโรงเรียน

นักศึกษา หมายถึง ผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

ผู้เข้าใหม่ หมายถึง นักเรียน/ผู้เรียน/ผู้เข้ารับการศกึษาหรือฝึกอบรมใหม่ในชั้น ปีที่ 1 ของระดับการศึกษา/หลักสูตร ที่เข้าศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษา หมายถึง นักเรียน /ผู้เรียน/นักศึกษา ที่ฝึกอบรมครบตามหลักสูตร และผ่านเกณฑ์การวัดผลที่กำหนดไว้ของแต่ละระดับ และประเภทการศึกษา

สถานศึกษา หมายถึง สถานที่ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้การศึกษาและฝึกอบรมซึ่งสถานศึกษามีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น โรงเรียน สถาบัน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศูนย์/สำนักนักเรียน เป็นต้น

งบประมาณรายจ่าย หมายถึง งบประมาณรายจ่ายตามลักษณะงาน โดยสำนักงบประมาณจัดจำแนกตามหลักการของสำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ ปี ค.ศ. 1980 ซึ่งจำแนกลักษณะงานออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
1) ด้านการบริหารทั่วไป แบ่งเป็น การบริหารทั่วไปของรัฐ การป้องกันประเทศ และการรักษาความสงบภายใน
2) ด้านการบริการชุมชนและสังคม แบ่งออกเป็น การศึกษา การสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ และการเคหะและชุมชน และการศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
3) ด้านการเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น การเชื้อเพลิงและพลังงาน การเกษตร การเหมืองแร่ ทรัพยากรธรณี การอุตสาหกรรมและการโยธา การคมนาคมขนส่งและสื่อสาร และการบริการเศรษฐกิจ และ
4) ด้านอื่นๆ คือ การดำเนินงานอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

งบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษา หมายถึง วงเงินงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้แก่ หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา การจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภทรวมทั้งการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งสำนักงบประมาณ ได้จำแนกไว้เป็น 5 ระดับ/ประเภทการศึกษาได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษา การศึกษาไม่กำหนดระดับ การบริการสนับสนุนการศึกษา และการศึกษาอื่น

ปี หมายถึง การนับหน่วยเวลาของรวบการจัดเก็บ/แสดงข้อมูล ณ เวลาใด โดยปีการศึกษาเป็นหน่วยเวลาของข้อมูลด้านการศึกษา ปีงบประมาณเป็นหน่วยเวลาของข้อมูลงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษา และปี พ.ศ. เป็นหน่วยเวลาของข้อมูลประชากร

 

ที่มา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) 
 http://www.onec.go.th/cms/categoryview.php?categoryID=CAT0000057

โพสต์เมื่อ 23 ต.ค. 2552 อ่าน 133133 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21 [อ่าน 20574]
รูปแบบการรายงานผลการวิจัยแบบเป็นทางการ [อ่าน 69041]
ความแตกต่างของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกับการวิจัยเชิงวิชาการ [อ่าน 58828]
ความสำคัญและความจำเป็นของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน [อ่าน 42283]
ลักษณะสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน [อ่าน 42073]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)