"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้



ปัจจุบัน มหาวิทยาลัย / สถาบันการศึกษาต่างๆ หลายแห่งในประเทศไทย เริ่มมีการใช้บทเรียน Onlineเข้ามาเป็นส่วนเสริมการเรียนการสอน โดยที่ผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนได้ การเรียนในลักษณะนี้จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งของผู้เรียนทั้งเรื่องความสะดวกทั้งเรื่องของเวลา สถานที่และค่าใช้จ่าย ซึ่งบทเรียนดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบต่างๆ อาทิ สื่อผสมแบบดิจิทัล ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเสียง และวีดิทัศน์ จึงเหมาะกับการศึกษาในยุคเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างตลอดเวลา

ดังนั้นในฐานะตัวแทนผู้ที่ได้รับระบบการเรียน – สอนOnline หรือ อี - เลิร์นนิ่ง ภายในประเทศไทย ประสิทธิ์ คำวินิจ ผู้จัดการโรงเรียนนานาชาติสยามได้แสดงทัศนะว่า จริงๆ แล้วระบบดังกล่าว เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในเมืองไทย ทางโรงเรียนจึงได้เริ่มใช้ระบบฯ นี้มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากผู้ปกครองและตัวนักเรียน อาทิ ยังช่วยฝึกวินัยในตัวของผู้เรียนด้านความรับผิดชอบของตนเอง ได้ถึง 70 – 80 % ซึ่งทางโรงเรียนจะน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

"ส่วนรูปแบบการใช้งานในระบบ อี - เลิร์นนิ่งนั้นเป็นวิธีง่ายมาก แต่ขึ้นอยู่ที่ว่าแต่ละสถาบันจะมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใด โดยเด็กนักเรียนทุกคนจะมีรหัสประจำตัว และ พาสเวิร์ด เพื่อทำการเรียน – สอบ ในรูปแบบของออนไลน์ ซึ่งระบบดังกล่าวต้องมีการจัดบุคลากรเข้ารับการอบรมหลักสูตร Online ผ่านระบบ อี - เลิร์นนิ่ง ก่อนเพื่อที่จะนำมาประยุกต์ใช้ภายในโรงเรียน โดยมีกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)รองรับ"

ด้าน ผศ.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า TCUจะเป็นหน่วยงานกลาง โดยมีหลักการประสานงานกับทางมหาวิทยาลัย / สถาบันการศึกษาต่างๆ ในการจัดทำหลักสูตร Online ร่วมกัน และทางมหาวิทยาลัย / สถาบันการศึกษา จะเป็นเจ้าของหลักสูตรและเป็นผู้อนุมัติปริญญาบัตร แก่นักเรียนที่เรียนจบในหลักสูตรนั้นๆ

“แน่นอนว่าการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี -เลิร์นนิ่ง จะเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนทุกระดับ ทุกอาชีพ ให้ได้เข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยประโยชน์ที่จะได้รับจะเป็นเรื่องของการประหยัดทรัพยากร ประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังช่วยเรื่องของการขาดแคลนอาจารย์ในบางสาขาวิชา”

ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ทางการศึกษา TCU ได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย / สถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาครัฐ รวม 43 สถาบัน ได้ร่วมผลิตบทเรียน Online โดยมีชุดวิชาเรียนทั้งหมด 459 วิชา

“ระบบดังกล่าวยังเป็นตัวช่วยให้ลดเวลาการเรียนรู้ได้มากกว่า 50 % และค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ระบบการสอนและฝึกอบรมแบบเดิมถึง 30 -60 % อย่างไรก็ดี ระบบยังต้องมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ระบบการเรียน – สอน หรือ อี - เลิร์นนิ่ง จึงเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ช่วยในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ โดยที่ มนุษย์สามารถค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ต้องรู้จักเลือกที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคม” ผศ.อนุชัย กล่าว
ส่วน วสิษฐ์ คูทองกุล นักเรียนชั้นม.5 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ได้ให้ข้อมูลทิ้งท้ายเกี่ยวกับการจัดสอบของระบบ อี - เลิร์นนิ่ง ในฐานะผู้เรียนระบบการเรียน – สอน แบบ Online ว่า

“ในการสอบแต่ละครั้งจะใช้ข้อสอบทางระบบ Computer – Based Exam เพื่อเป็นการตัดปัญหาการลอกข้อสอบได้อย่างสิ้นเชิง เพราะนักเรียนแต่ละคนข้อสอบจะเรียงไม่ตรงกัน และสามารถรู้ผลการสอบได้ทันทีหลังจากสอบเสร็จ ทั้งนี้การสอบในรูปแบบออนไลน์ ระบบจะมีการตรวจข้อสอบโดยอัตโนมัติ โดยครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจข้อสอบ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการใช้กระดาษภายในโรงเรียนได้จำนวนมากในการสอบ"

 

แหล่งที่มา  ASTVผู้จัดการออนไลน์

โพสต์เมื่อ 21 ธ.ค. 2552 อ่าน 20121 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


ยูทูป ห้องเรียนใหม่ พลังการเรียนรู้ ที่ไม่รู้จบ [อ่าน 18835]
สื่อดิจิทัล “Learning Object” ชุดใหม่ สสวท.พร้อมให้ใช้งานแล้ว [อ่าน 15601]
ช่วยครูสอนเลขให้เด็กสนุก ด้วยสื่อดิจิตอลคณิตศาสตร์ระดับประถม [อ่าน 26516]
ครู-คนสอนคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์สอนคน [อ่าน 23560]
แจก code นำวิดีโอความรู้ จาก "ทรูปลูกปัญญา" ไปติดในเว็บท่าน [อ่าน 51963]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)