ภาวิชเคาะปรับหลักสูตรลดคาบเรียน ประถมเหลือ 5-มัธยม 6 ชงศธ.นำร่อง 3 พันร.ร.



เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า หลังจากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตร มีตนเป็นประธาน และคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ


มีรัฐมนตรีว่าการ ศธ.เป็นประธาน ขณะนี้มีความคืบหน้าของการดำเนินการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปมากแล้ว โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะทำงาน 6 กลุ่ม ในวันที่ 27 มิถุนายน จะประชุมหารือร่วมกันทั้งหมดเพื่อพิจารณาหลักสูตรที่แต่ละส่วนรับผิดชอบอยู่ ก่อนจะนำมาประกอบเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรฯ ที่มีนายพงศ์เทพเป็นประธานได้พิจารณา ได้พิจารณา

นายภาวิชกล่าวต่อว่า สำหรับหลักสูตรใหม่จะแบ่งการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่

1.กลุ่มภาษาและวรรณกรรม
2.วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
3.เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)
4.สังคมและความเป็นมนุษย์
5.โลก ภูมิภาคและอาเซียน
6.ชีวิตกับโลกของงาน

อย่างไรก็ตาม นอกจากจะมีคณะทำงาน 6 กลุ่มแล้ว จะมีคณะทำงานกลางมาดูความเชื่อมโยงและความซ้ำซ้อนใน 6 กลุ่มของสาระวิชา หากเจอว่าซ้ำซ้อน ก็ต้องบูรณาการให้เล็กลง

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวว่า ในส่วนของ

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จะเน้นทักษะ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาที่เหลือ จะนำ 6 กลุ่มสาระวิชามารวมแล้วแยกเป็น 4 วิชา ได้แก่

1.บ้านของเรา โลกของเรา
2.ชีวิตกับการเรียนรู้ จะทำอย่างไรถึงจะสร้างความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน
3.เด็กในวิถีประชาธิปไตย เป็นการเรียนรู้เพื่ออยู่ในสังคมแบบมีส่วนร่วม ความมีจิตสาธารณะ ศาสนา และ
4.ศิลปะและพลานามัยเพื่อชีวิต

การจัดหลักสูตรดังกล่าว ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม

ส่วนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไปจะจัดการศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาระวิชา แต่จะมีรายละเอียดที่แตกย่อยออกไปในแต่ละระดับชั้น เช่น ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะเน้นการเรียนในแตกย่อยออกไปในแต่ละระดับชั้น เช่น ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะเน้นการเรียนในทางลึกมากขึ้น จะแยกวิชาออกเป็นฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา รวมทั้งจะมีทางเลือกให้กับนักเรียนเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย และสำหรับนักเรียนที่ไม่ต้องการเรียนต่อมหาวิทยาลัย จะให้ทางเลือกเพื่อเรียนต่อสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในหลักสูตรเดิมนั้นจะมีทางเลือก ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อการเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ส่วนเด็กที่ไม่ได้เรียนต่อ จะไม่ได้มีการส่งเสริมหรือให้ทางเลือกอะไร

"เนื้อหาของหลักสูตรใหม่ อาจจะไม่เปลี่ยนมาก เพราะจริงๆ แล้วเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นลำดับอยู่แล้ว เพียงแต่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้ในปัจจุบันจะมี 8 กลุ่มสาระวิชา แต่ของใหม่จะเหลือเพียง 6 กลุ่มสาระ ตำราต่างๆ อาจจะต้องค่อยๆ ปรับปรุงไป โดยอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปีนับจากมีการประกาศใช้" นาย ภาวิชกล่าว และว่า หลักสูตรใหม่จะกำหนดทักษะจำเป็น 10 ประการของเด็กเมื่อเรียนหนังสือจบ อาทิ ทักษะด้านไอซีที การงานและอาชีพ เป็นต้น ส่วนการเรียนการสอนไม่ได้ลดการเรียนรู้ แต่จะลดการเรียนในห้องเรียน เพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียน

โดยจะต้องเน้นประสบการณ์เรียนรู้ใน 6 ด้าน ได้แก่
1.การอ่านเพื่อการเรียนรู้ ต่อไปครูต้องกระตุ้นให้เด็กอ่านมากขึ้น
2.การเรียนการสอนแบบโครงการ ทั้งด้านสังคม ศาสนา วิทยาศาสตร์ และจะนำไปสู่ทักษะที่พึงประสงค์ เช่น การค้นหาปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่น 3.ไอซีที
4.คุณธรรมและจิตสาธารณะ
5.ความเป็นประชาธิปไตย
6.อาชีพ

นายภาวิชกล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การปรับหลักสูตรใหม่จะทำให้ลดชั่วโมงเรียนในห้องเรียนลง โดยระดับประถมศึกษาจะเหลือห้องเรียนลง โดยระดับประถมศึกษาจะเหลือการเรียนในห้องเรียนประมาณ 600 ชั่วโมง ต่อปี และจะให้เรียนนอกห้องเรียน 400 ชั่วโมงต่อปี จะมีผลทำให้นักเรียนเรียนในห้องเรียนเพียง 5 คาบต่อวัน จากเดิมเรียนประมาณ 6-7 คาบ ส่วนมัธยมศึกษาจะให้เหลือ 6 คาบต่อวัน ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2557 จะนำร่องใช้หลักสูตรรอบแรกในโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 30 แห่ง รวมประมาณ 3,000 โรงเรียน และจะให้โรงเรียนนำร่องสร้างเครือข่ายโรงเรียนแห่งละ 10 โรงเรียน จะทำให้ขยายโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรใหม่เป็น 30,000 กว่าแห่ง

ด้านนายพินิติ รตะนานุกูล ผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะประธานคณะทำงานกลุ่มโลก ภูมิภาคและอาเซียน กล่าวว่า กลุ่มโลก ภูมิภาคและอาเซียน มีความคืบหน้าในการดำเนินงานเกือบ 100% แล้ว กลุ่มนี้จะเป็นวิชาที่เชื่อมโยงเรื่องประวัติศาสตร์ สังคม รวมถึงเรื่องอาเซียนเข้าไปด้วย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์จะต้องเขียนขึ้นใหม่ เพราะที่ผ่านมาประเทศใดเขียนประวัติศาสตร์ ก็จะเข้าข้างตัวเอง ทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ในหลักสูตรใหม่จะเขียนประวัติที่สร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกัน ทั้งนี้ หลักสูตรในกลุ่มของตนเองจะต้องมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่นๆ ด้วย เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมาย ต่อไปเยาวชนในยุคศตวรรษที่ 21 จะต้องรู้เท่าทันในเรื่องต่างๆ อย่างรอบด้าน อาทิ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ไอที เป็นต้น โดยในการประชุมวันที่ 27 มิถุนายนนี้ แต่ละกลุ่มจะมาดูว่าแต่ละวิชาจะมีความเชื่อมโยงกันตรงจุดใดบ้าง

 

ที่มา--มติชน ฉบับวันที่ 18 มิ.ย. 2556 (กรอบบ่าย)--

โพสต์เมื่อ 17 มิ.ย. 2556 อ่าน 31444 | 2 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ปีการศึกษา 2567 [อ่าน 1323]
โครงการพัฒนาโภชนาการเด็ก FOOD FOR GOOD "โภชนาการที่ดี คือรากฐานของการเจริญเติบโต" [อ่าน 226]
อำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา [อ่าน 427]
สพฐ.ประกาศผลสอบบรรจุ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2) พ.ศ.2567 [อ่าน 7247]
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 518]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)