ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)



คอลัมน์ Education Ideas
โดย ดร.สาธิต พุทธชัยยงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ผมขออ้างอิงข้อมูลรายงานภาคการผลิตและบริการที่มีศักยภาพในการทำรายได้ให้กับประเทศ ที่ศึกษาและจัดทำขึ้นโดยสภาพัฒน์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ที่แบ่งภาคการผลิตและบริการที่มีศักยภาพในการทำรายได้ให้กับประเทศออกเป็น 3 ส่วน คือ 

ส่วนที่ 1 ภาคการเกษตร ได้แก่ สินค้า ข้าว ยางพารา ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ผลไม้ (มันสำปะหลัง/อ้อย/ปาล์มน้ำมัน) ประมง ปศุสัตว์

ส่วนที่ 2
 ภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม 6 กลุ่ม และ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่ง 6 กลุ่มอุตสาหกรรมเดิม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหาร (ผลไม้ อาหารทะเล เนื้อสัตว์แปรรูป) ปิโตรเคมี/พลาสติก Biodiesel/Ethanol ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ 

สำหรับ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์ยา) Bioplastic/ Biomaterials อุตสาหกรรมอากาศยาน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (ออกแบบ แฟชั่น อัญมณี โฆษณา สถาปัตยกรรม หุ่นยนต์ OTOP) 

ส่วนที่ 3
 ภาคบริการ ได้แก่ ท่องเที่ยว ค้าปลีก/ค้าส่ง ก่อสร้าง สื่อสารและโทรคมนาคม บริการสุขภาพ

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีฐานวัตถุดิบภาคเกษตรที่เข้มแข็งและมีศักยภาพสูง หากมีการแปรรูปด้วยกระบวนการทางอุตสาหกรรมจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงขึ้น สำหรับ 6 อุตสาหกรรมเดิมที่เป็นฐานรายได้ของประเทศจะต้องปรับตัวทั้งในด้านศักยภาพการผลิตและคุณภาพให้สูงขึ้น เนื่องด้วยเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก 

สิ่งที่จะต้องขับเคลื่อนในอนาคตคือการก้าวเข้าสู่ 5 อุตสาหกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูง (Value Added) และสามารถสร้างสรรค์มูลค่า (Value Creation) ได้มากกว่าอุตสาหกรรมกลุ่มเดิม ส่วนภาคบริการมีจุดแข็งโดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยว หากสามารถบูรณาการทุกภาคส่วนของการบริการก็จะทำให้รายได้เข้าประเทศมากขึ้น

ทิศทางการศึกษาของไทย 

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นทิศทางของภาคเศรษฐกิจที่ต้องการกำลังคนมาขับเคลื่อนให้ไปสู่เป้าหมายให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก แต่เมื่อย้อนกลับมาดูข้อมูลการผลิตนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.และ ปวส.ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญเข้าสู่ตลาดแรงงานตามทิศทางของประเทศ แต่กลับพบว่าตัวเลขผู้เข้าศึกษาไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจ และยังมีแนวโน้มที่เหมือนกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ 

นักศึกษาเลือกเรียนเกษตรกรรม การท่องเที่ยวในสัดส่วนที่ต่ำมาก รวมไปถึงคหกรรมศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับอาหารก็มีตัวเลขที่ต่ำเช่นเดียวกัน กลุ่มวิชาบริการธุรกิจกลับได้รับการเลือกศึกษาต่อเป็นอันดับต้น ๆ ในขณะที่กลุ่มวิชาอุตสาหกรรมที่แม้ว่าจะมีตัวเลขค่อนข้างสูง แต่เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างน้อย ทั้ง ๆ ที่เป็นกำลังคนที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการมาก กำลังคนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะพยายามศึกษาต่อระดับปริญญาตรีเพื่อยกระดับวิทยฐานะ โดยคาดหวังว่าจะมีความก้าวหน้าในอาชีพ

 

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 26 พ.ย. 2557

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ระบบการศึกษาที่ไม่สมดุล (1) 

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)

 

โพสต์เมื่อ 28 พ.ย. 2557 อ่าน 7869 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


ถอดความสำเร็จโครงการ Chevron Enjoy Science ที่ต่อเติมพื้นที่ให้สะเต็มศึกษาเป็นเรื่องสนุก พร้อมปูทางสู่อนาคตประเทศ [อ่าน 339]
คอร์รัปชันในระบบการศึกษา...ความท้าทายที่ต้องเดินหน้าสู้ [อ่าน 21443]
กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน" [อ่าน 3194]
นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย [อ่าน 2846]
8 โรงเรียนนวัตกรรมโลกตามหลัก Education 4.0 : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.3 [อ่าน 3902]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)