โครงสร้างใหม่ศธ.สลายองค์กรหลัก



#showpic

"ประยุทธ์"ถามหาโครงสร้างใหม่ ศธ. "ดาว์พงษ์"ขอเวลาถกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกรอบ เชื่อประชุมซูเบอร์บอร์ดนัดหน้าได้เห็นรูปแบบชัดเจน ขณะที่ไลน์ข้าราชการศธ.แชร์โครงสร้างใหม่องค์กรหลักหายเรียบเหลือแค่ปลัดศธ.เป็นซี11

วันนี้ (2 พ.ย.) พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงแนวคิดการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ว่า เป็นข้อเสนอจากหลายหน่วยงาน ทั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.) รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิจากวงการศึกษา ซึ่ง ศธ.ก็ได้มีการแต่งตัวโครงสร้างไว้บ้างแล้ว ส่วนตนก็เข้ามาช่วยบูรณาการ และได้มีการนำเสนอโครวสร้างเบื้องต้นต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือ ซูเปอร์บอร์ดด้านการศึกษา ไปแล้วเพียงแต่ยังไม่ตกผลึก ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็รับทราบแล้วและได้สอบถามว่า จะมีรูปแบบที่ชัดเจนเมื่อไหร่ ตนจึงขอเวลาไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน เพราะไม่อยากให้เกิดความขัดแย้ง

"การปรับโครงสร้าง ศธ.ต้องให้คนใน ศธ.ยอมรับได้ด้วย จึงต้องขอเวลาพิจารณาให้ละเอียดอีกครั้ง โดยหลักคิดของผม คือ ต้องมีมาตรการกำกับดูแลที่สามารถเป็นหน่วยเชื่อมโยงในการประสานงานการศึกษาด้านต่าง ๆ ระหว่างส่วนกลางและภูมิภาคได้ รวมถึงต้องมีเอกภาพในการบังคับบัญชา ส่วนจะมีปลัด ศธ.ที่เป็นระดับ 11 เพียงคนเดียวหรือไม่นั้น ก็ยังตอบไม่ได้ แต่อย่างน้อยต้องมีซีอีโอ มิฉะนั้นจะทำให้ปกครองลำบาก อย่างไรก็ตามคาดว่าในการประชุมซูเปอร์บอร์ดครั้งต่อไปน่าจะเสนอรูปแบบโครงสร้าง ศธ.ที่ชัดเจนได้" รมว.ศธ.กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการแชร์ข้อมูลผ่านทางไลน์ในหมู่ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ที่แสดงให้เห็นโครงสร้างใหม่แบบคร่าวซึ่งเป็นรูปแบบที่เรียกว่า single command โดยปลัดกระทรวงจะเป็นผู้สั่งการคนเดียว และองค์กรหลักทั้งหมดคงไว้แต่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการหน่วยงานเดียว โดยทุกหน่วยงานต่อไปนี้จะมีฐานะเป็นกรม มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชา ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 กรมอาชีวศึกษา กรมปฐมวัยและประถมศึกษา กรมมัธยมศึกษา กรมวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กรมการศึกษาพิเศษ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อความที่แชร์ยังระบุด้วยว่า มีศึกษาธิการภาคเป็นผู้บังคับบัญชาการศึกษาระดับกลุ่มจังหวัด มีศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาการศึกษาระดับจังหวัด มีคณะกรรมการการศึกษาภาคและกรรมการการศึกษาจังหวัด และมีสำนักงานระดับจังหวัด ดังต่อไปนี้ การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา การมัธยมศึกษา การศึกษาพิเศษ อาชีวศึกษา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรงเรียน มีศึกษาธิการจังหวัดและอำเภอเชื่อมโยงการศึกษากับการปกครองส่วนภูมิภาค ส่วนศึกษานิเทศก์ก็จะมีหน่วยงานในทุกกรม โดยมีฐานะเป็นกอง ที่เรียกว่า สำนัก ซึ่งจะมีทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ยกเว้นในส่วนของการมัธยมฯที่จะมีแค่ในระดับจังหวัด อย่างไรก็ตามในส่วนของศึกษานิเทศก์นี้อยู่ระหว่างการเสนอให้ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการสำนัก เช่นเดียวกับผู้ตรวจสอบภายใน

 

อ่านต่อที่ : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558

โพสต์เมื่อ 3 พ.ย. 2558 อ่าน 27761 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


อำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา [อ่าน 102]
สพฐ.ประกาศผลสอบบรรจุ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2) พ.ศ.2567 [อ่าน 6147]
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 469]
ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 [อ่าน 1238]
กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง [อ่าน 19197]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)