เลิกใช้คำ"โรงเรียนพื้นที่เสี่ยง"



"ดาว์พงษ์" สั่งจัดกลุ่มสถานศึกษาในพื้นที่เสี่ยงปัญหายาเสพติด บุหรี่และเหล้าใหม่ หลังหารือ ป.ป.ส. เผยควรเลิกใช้คำว่าโรงเรียนพื้นที่เสี่ยง เพราะไม่เหมาะสม แต่แบ่ง รร.ออกเป็น 3 ระดับกลุ่มเด็กประถม-ม.ต้นที่ต้องสร้างภูมิคุ้มกัน และเฝ้าระวังในกลุ่มเด็กโตระดับ ม.ปลายหรืออาชีวะ และกลุ่มต้องได้รับการบำบัด จี้ สพฐ.-สอศ.และ สกอ.คิดกิจกรรมแก้ปัญหา

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เชิญสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) มาหารือเรื่องปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่ยาบ้า แต่รวมถึงบุหรี่และสุราด้วย ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า จะไม่เรียกว่าสถานศึกษากลุ่มเสี่ยงเช่นที่ผ่านมาอีก แต่จะแบ่งกลุ่มสถานศึกษาใหม่ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่ต้องสร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น 2.กลุ่มเฝ้าระวังและป้องกัน ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และ 3.กลุ่มบำบัดรักษา

#showads

พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าวต่อว่า ตนได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ต้องไปจัดทำข้อมูลเพื่อนำกลับมาเสนอภายในสัปดาห์หน้า ขณะเดียวกันทาง ป.ป.ส.ก็จะให้ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของปัญหายาเสพติดด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางและกิจกรรม โดยโจทย์ที่ตนมอบให้ไปคิดคือ ทุกกิจกรรมที่ต้องสะท้อนผลลัพธ์เป็นรูปธรรม แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และไม่ใช่แค่การดูแลเด็กเพียงในสถานศึกษาเท่านั้น แต่ควรเชื่อมโยงไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนด้วย ตรงนี้จะถือว่าเป็นการใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่า

"ผมเข้าใจว่าสถานศึกษากลุ่มเสี่ยงเป็นคำที่ใช้ตามกฎหมาย แต่คำดังกล่าวใช้ในกรณีของโรงเรียนไม่ได้ เพราะจะสร้างความไม่สบายใจให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่ใช่ เนื่องจากการจัดกลุ่มเสี่ยงนั้นจะยึดบริเวณพื้นที่ หากโรงเรียนใดอยู่ในกลุ่มพื้นที่สีแดงก็จะถูกจัดเป็นโรงเรียนกลุ่มเสี่ยงไปด้วย ดังนั้นควรต้องแบ่งกลุ่มใหม่เพื่อจะได้วางแนวทาง และกำหนดกิจกรรมที่จะลงไปทำให้เหมาะสมกับวัย เช่น กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันเด็กเล็ก หรือกิจกรรมที่ทำกับกลุ่มเฝ้าระวัง ก็ต้องใช้คนละรูปแบบ จะทำแบบเดียวกันไม่ได้ ขณะที่ในส่วนของการบำบัด ทาง สธ.รับเป็นเจ้าภาพใหญ่ ก็จะมีการหารือกับ ป.ป.ส.ถึงวิธีการบำบัด และมีในหลายระดับ ทำให้เด็กได้กลับมาใช้ชีวิตในโรงเรียนได้ตามปกติ" รมว.ศธ.กล่าว. 

 

ที่มา ไทยโพสต์ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558

โพสต์เมื่อ 12 พ.ย. 2558 อ่าน 4571 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ประกาศผลสอบบรรจุ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2) พ.ศ.2567 [อ่าน 55]
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 271]
ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 [อ่าน 797]
กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง [อ่าน 8630]
ว 12/2567 วิธีการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ผ่านระบบการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (SCS) สังกัด สพฐ. [อ่าน 703]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)