สกสค.จับมือสหกรณ์ออมทรัพย์ครูฯเพิ่ม 8 แห่งแก้หนี้ครู



#showpic

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จับมือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเพิ่มอีก 8 แห่ง ช่วยแก้ปัญหาหนี้ครู หวังเป็นอีกแนวทางช่วยบรรเทาภาระหนี้ครูขั้นวิกฤตได้

วันนี้ (29 มิ.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้จัดลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 2 ระหว่างสำนักงาน สกสค.กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดกำแพงเพชร สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดชลบุรี สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดชัยนาท สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดพะเยา สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดอุทัยธานี สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดลพบุรี และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดพิจิตร โดย ดร.พิษณุ ตุลสุข รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กล่าวว่า ตามที่ สกสค.ได้ลงนามความร่วมมือดังกล่าวไปแล้วกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จำนวน 16 แห่ง ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ได้ดำเนินการเพิ่มอีก 8 แห่ง รวม 24 แห่ง ซึ่งตนต้องขอขอบคุณสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทุกแห่งที่ทำความร่วมมือกับ สกสค ในการช่วยกันแก้ไขปัญหาหนี้สิ้นครู แม้เราจะมี สกสค.จังหวัดแต่การบริการยังไม่มีความชำนาญเหมือนกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยเฉพาะระบบการเรียกเก็บเงิน การเบิกจ่ายเงิน หรือการออกใบเสร็จ รวมถึงระบบการติดตามทวงหนี้ โดย สกสค.จะให้ค่าดำเนินงานตอบแทนสหกรณ์ออมทรัพย์ครูปีละ 50,000 บาท ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะหากครูได้รับการช่วยเหลือจนผ่านพ้นวิกฤตไปได้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย เพราะครูส่วนหนึ่งก็มีหนี้สิ้นที่ค้างชำระอยู่กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเช่นกัน

ดร.พิษณุ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ตั้งแต่เริ่มความร่วมมือดังกล่าวมาล่าสุดได้อนุมัติให้ช่วยเหลือครูที่เป็นหนี้แล้ว จำนวน 3 ราย ซึ่งแต่ละรายได้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติอย่างรอบด้าน เพราะเราได้วางเงื่อนไขการปล่อยกู้ให้แก่ครู คือ มีคณะกรรมการระดับจังหวัด อาทิ ผู้แทนเขตพื้นที่ ผู้แทนสกสค.ผู้แทนสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ผู้แทนนักกฎหมาย ที่จะเข้ามาช่วยกรั่นกรองรายชื่อผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเร่งด่วนเสนอให้คณะกรรมการกลางในสกสค.ได้พิจารณาว่าใครทุกข์ร้อนมากกว่ากัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าครูที่มีวิกฤตหนี้หนักสุดจะได้รับการพิจารณาเป็นลำดับแรก แต่จะต้องดูที่เหตุผลและความจำเป็นรายกรณีไป ดังนั้นจึงเชื่อว่าโครงการนี้จะไม่ล้มเหลวหรือสร้างภาระหนี้ให้แก่ครูอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามคณะกรรมการบริหารกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคงตามโครงการสวัสดิการเงินกู้ฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครู (ช.พ.ค.) ได้สนับสนุนเงินเพื่อใช้ในโครงการนี้ จำนวน 1,000 ล้านบาท ซึ่งหากเงินที่ได้รับมาหมดลงสกสค.ก็จะพิจารณาขอไปยังคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เพื่อนำมาช่วยเหลือเพิ่มได้อีก


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560 เวลา 15.24 น.

 

โพสต์เมื่อ 30 มิ.ย. 2560 อ่าน 22408 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


อำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา [อ่าน 91]
สพฐ.ประกาศผลสอบบรรจุ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2) พ.ศ.2567 [อ่าน 6133]
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 467]
ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 [อ่าน 1237]
กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง [อ่าน 19191]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)