แนะปฏิรูปอาชีวศึกษา ต้องอัปเกรด "ครูอาชีวะ" ดูแลเรื่องเงินเดือน ผลิต นศ.ทำงานได้จริง



#showpic

อธิการฯ มทร.ธัญบุรี แนะปฏิรูปอาชีวศึกษาทั้งระบบ ต้องพัฒนา "อาจารย์อาชีวะ" มีสัดส่วนเหมาะสมกับนักศึกษา แก้ปัญหาครูอัตราจ้าง เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท ต้องผลิต นศ.จบแล้วปฏิบัติงานได้จริง

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า มทร.ธัญบุรี ได้รับการติดต่อจาก Vocational Education in Laos (VELA-FC) Garman Financial Cooperation with Lao PDR ให้ดำเนินการโครงการฝึกอบรมครูอาชีวศึกษาให้กับครูอาชีวศึกษาประเทศลาว ที่ศูนย์ฝึกอบรม Vocation Education Development Institute (VEDI) ประเทศลาว โดยมหาวิทยาลัยได้จัดส่งคณาจารย์จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นโคชในการฝึกอบรมให้กับผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานระดับสูง จำนวน 13 สถานศึกษาที่เข้าร่วมในครั้งนี้ ซึ่งการฝึกอบรมจะเน้นในเรื่องของการพัฒนาการเรียนการสอน การจัดทำแผนกลยุทธ์ การวิเคราะห์ให้เห็นภาพของสถาบันอาชีวะ การจัดทำความร่วมมือกับสถานประกอบการ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านอาชีวศึกษา เนื่องจากขณะนี้ในประเทศมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานช่าง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญกับการพัฒนาประเทศ

รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า การที่ประเทศลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูช่าง ทำให้ต้องมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย จะต้องมีการปฏิรูปอาชีวศึกษาเช่นกัน โดยจะต้องมีการพัฒนาครู พัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นปฏิบัติ จัดหมวดหมู่ให้ถูกต้อง มีการประเมินมุ่งเน้นการสอนเชิงสมรรถนะ ที่สำคัญจะต้องดูว่าสถาบันอาชีวศึกษาที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ได้มุ่งเน้นการจัดการสอนในสายปฏิบัติหรือสายอาชีพจริงหรือไม่ เพราะหากเน้นในทิศทางดังกล่าวเชื่อว่าจะเป็นการตอบโจทย์ของประเทศมากที่สุด

"การพัฒนาอาชีวศึกษาจะต้องได้อาจารย์ที่ทำงานเป็น มีทักษะในการแก้ปัญหาและสามารถถ่ายทอดได้ ผมมีความเชื่อว่าหลักสูตรอาชีวศึกษา ที่เป็นวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ เป็นสถาบันที่มีคุณภาพ เพียงแต่กระบวนการจัดการจะต้องมีสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาที่เหมาะสม ส่วนวิทยาลัยการอาชีพ ครูอาจารย์ส่วนใหญ่จะเป็นครูอัตราจ้าง ซึ่งจะหมุนเวียนเข้าออกอยู่ตลอด ดังนั้น ควรมีการจ้างในอัตราที่รัฐบาลกำหนด เพราะขณะนี้ครูอาชีวศึกษาบางคนยังมีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท และบางรายที่ทำงานก็เพื่อมุ่งหวังสิทธิ์ที่จะนำไปใช้ในการสอบบรรจุในอีก 2-3 ปีข้างหน้า"

รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามนอกจากปัญหาเรื่องการพัฒนาครูแล้ว การพัฒนานักศึกษาอาชีวะให้สามารถปฏิบัติงานได้จริงก็เป็นสิ่งสำคัญ นักศึกษาควรได้รับการฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลได้งบประมาณสนับสนุนเป็นเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นรายหัว แต่มีการนำเงินส่วนนี้บางส่วนไปใช้จ่ายในการจ้างครูหรือใช้ในเรื่องอื่นๆ ทำให้เด็กไม่สามารถฝึกปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้การผลิตเด็ก

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก MGR Online วันที่ 18 ม.ค. 2561

 

โพสต์เมื่อ 19 ม.ค. 2561 อ่าน 8176 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว [อ่าน 888]
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ) [อ่าน 430]
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ [อ่าน 547]
แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข" [อ่าน 810]
แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข) [อ่าน 1923]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)