เลขาฯ อาชีวะ ลงพื้นที่ศรีสะเกษ ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น



#showpic

ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ตรวจเยี่ยมโครงการการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (งานจักสานหวายเทียม) โดยวิทยาลัยการอาชีพขุขันธ์ ร่วมกับ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๙ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา "สะพานเชื่อมโยงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการอาชีวศึกษา” การส่งเสริมการเรียนสายอาชีพของนักเรียนด้วยโครงการสานฝันอาชีพเด็กไทยก้าวไกลสู่สากล เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ค้นพบตัวเอง ซึ่งมีนักเรียนจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๙ จำนวน 80 คน เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-29 กรกฎาคม 2562 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๙ จังหวัดศรีสะเกษ

 

ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนากำลังคนให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งในส่วนของ สพฐ. ได้มีการส่งเสริมการเรียนสายอาชีพของนักเรียนด้วยโครงการสานฝันอาชีพเด็กไทยก้าวไกลสู่สากล เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ค้นพบตัวเอง โดย สพฐ. ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขับเคลื่อนงานแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อและการมีงานทำ โดยสถานศึกษาจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้รู้จักและค้นพบตัวเองผ่านการเรียนการสอนเสริมทักษะอาชีพที่หลากหลาย อาทิ การบูรณาการในรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รายวิชาเพิ่มเติมแบบ Block Course และ Shopping Course กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพกับชุมชน และโครงงานอาชีพ เป็นต้น รวมทั้งการจัดกิจกรรมแนะแนวและให้นักเรียนได้ทำแบบวัดแวว วัดความถนัดทางอาชีพ และสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ รวมถึงการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพที่นำไปสู่การวางเส้นทางการศึกษาต่อ หรือการประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างเหมาะสม

นายนิรันดร์ สมมุติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพขุขันธ์ กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายเป็นสะพานเชื่อมโยง 5 สาย ระหว่างโรงเรียน สพฐ. กับสถานศึกษา สอศ. คือ ฝ่ายบริหาร ครู นักเรียนเชื่อมโยงกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน ผู้ปกครองกับผู้ปกครองต้องเชื่อมโยงกัน มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อทำให้เกิดทัศนคติที่ดี และการเชื่อมโยงกับชุมชน ซึ่งการเรียนในวิทยาลัยหรือในโรงเรียนอาจจะเรียนทฤษฎีมากกว่า จึงต้องเชื่อมโยงกับชุมชนหรือสถานประกอบการ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริง เกิดทักษะในวิชาชีพ อันเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพหลังจากจบการศึกษาแล้ว

 

โพสต์เมื่อ 23 ก.ค. 2562 อ่าน 4220 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ประกาศผลสอบบรรจุ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2) พ.ศ.2567 [อ่าน 4665]
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 418]
ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 [อ่าน 1080]
กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง [อ่าน 18395]
ว 12/2567 วิธีการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ผ่านระบบการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (SCS) สังกัด สพฐ. [อ่าน 948]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)