ส.บ.ม.ท.เสนอเพิ่มเติมการบริหารราชการ ศธ.พร้อมแนะแนวทางแก้ปัญหาทุจริตย้าย ผอ.โรงเรียน



#showpic

นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ( ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่าตามที่สมาพันธ์ครูและผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ได้เสนอแนะให้มีกรมการประถมศึกษา กรมการมัธยมศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอาชีวศึกษาฯลฯ โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นข้าราชการระดับ 11 เพียงตำแหน่งเดียว และให้มีสำนักงานการมัธยมศึกษาจังหวัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด นั้นเห็นว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวกับแนวทางที่ ส.บ.ม.ท. ได้เคยยื่นเรื่องเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและและเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม ส.บ.ม.ท. ยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่าการบริหารราชการส่วนกลางนั้น ควรให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นฝ่ายข้าราชการประจำที่มีหน้าที่บูรณาการการจัดการศึกษาของกรมต่างๆในกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นตัวแทนของปลัดกระทรวงศึกษาธิการในการบูรณาการการจัดการศึกษาของกรมต่างๆที่มีสำนักงานประจำในแต่ละจังหวัดให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และมีหน้าท่ีปฏิบัติภารกิจอื่นใดของกระทรวงศึกษาธิการที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานของกรมต่างๆที่มีที่ตั้งในแต่ละจังหวัด

ส่วนอำนาจของกรมต้นสังกัดของสำนักงานต่างๆที่มีที่ตั้งอยู่ในแต่ละจังหวัดนั้นให้เป็นอำนาจกำกับดูแลไม่ใช่อำนาจบังคับบัญชา นิติสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานที่เป็นตัวแทนของกรมต้นสังกัดกับโรงเรียนนั้นให้มีนิติสัมพันธ์ในรูปแบบของการกำกับดูแลแทนอำนาจการบังคับบัญชา ให้มี อ.ก.ค.ศ.ของแต่ละสำนักงานในจังหวัดทำหน้าท่ีบริหารงานบุคคล เช่นให้มี อ.ก.ค.ศ.สำนักงานการมัธยมศึกษาจังหวัด เป็นต้น ให้มี อ.ก.ค.ศ.กรมต่างๆทำหน้าท่ีในการบริหารงานบุคคลในส่วนที่นอกเหนือจากอำนาจหน้าท่ีของ อ.ก.ค.ศ.สำนักงานการมัธยมศึกษาจังหวัด หรือ อ.ก.ค.ศ.สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดแล้วแต่กรณี ในส่วนของ ก.ค.ศ.นั้นให้มีหน้าท่ีในการออกกฎ ระเบียบต่างๆในเรื่องของการบริหารงานบุคคลเท่านั้น

นอกจากนี้นายรัชชัยย์ฯยังเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารโรงเรียนโดยให้ ก.ค.ศ. ยกเลิกตัวชี้วัดประเด็นการเขียนและแสดงวิสัยทัศน์รวมถึงการเขียนแผนพัฒนาสถานศึกษาที่จะขอย้าย

“การพิจารณาย้ายผู้บริหารโรงเรียนนั้นควรพิจารณาจากตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับความเป็นผู้มีอาวุโสในการปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนและผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งคะแนนส่วนนี้จะมีความเป็นคะแนนวิทยาศาสตร์ ส่วนเรื่องการเขียนและแสดงวิสัยทัศน์รวมถึงการเขียนแผนในการพัฒนาสถานศึกษาที่จะย้ายไปนั้น เห็นว่าคะแนนส่วนนี้เป็นคะแนนดุลพินิจที่เอื้อต่อการเรียกรับผลประโยชน์ได้เนื่องจากไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการให้คะแนน และการเขียนวิสัยทัศน์ตลอดจนการเขียนแผนในการพัฒนานั้นก็ไม่มีหลักประกันใดที่ควบคุมได้ว่าผู้ยื่นคำร้องขอย้ายเป็นผู้เขียนเอง” นายรัชชัยย์ กล่าวในที่สุด


ขอบคุณข้อมูลจาก นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ( ส.บ.ม.ท.)

 

 

โพสต์เมื่อ 4 ธ.ค. 2562 อ่าน 7394 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ประกาศผลสอบบรรจุ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2) พ.ศ.2567 [อ่าน 2913]
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 389]
ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 [อ่าน 966]
กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง [อ่าน 17587]
ว 12/2567 วิธีการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ผ่านระบบการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (SCS) สังกัด สพฐ. [อ่าน 857]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)