"ณัฏฐพล" เตรียมยกเลิกสอบวีเน็ตอาชีวะ



รมว.ศธ. มอบ สอศ.วิเคราะห์การสอบวีเน็ตเด็กอาชีวะ ชี้การทดสอบต่างๆต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ด้าน เลขาธิการกอศ.เผย ผลวิเคราะห์วีเน็ต เด็กไม่ได้ใช้ประโยชน์ และสอศ.มีการวัดสมรรถนะก่อนจบการศึกษาอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการวัดแบบเจาะลึกกว่า

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีการทบทวนเรื่องการทดสอบต่างๆ ของนักเรียน โดยเฉพาะการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ของนักเรียนระดับประถมศึกษปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ม.6 ซึ่งแน่นอนว่าการทดสอบโอเน็ตระดับ ป.6 และ ม.3 จะไม่มีการสอบโอเน็ต เพราะที่ผ่านมาครูผู้สอนและนักเรียนต้องเสียเวลากับการเตรียมตัว เพื่อการทดสอบดังกล่าวแต่ไม่ได้มีการนำผลคะแนนมาใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร โดยจะรวมไปถึงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (วีเน็ต) ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปี 3 และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปี 2 ด้วย เนื่องจากเรามีมาตรฐานวิชาชีพที่ใช้วัดอยู่แล้ว อีกทั้งสามารถนำไปใช้ขยายผลได้ดีกว่าการสอบวีเน็ต โดยเฉพาะการันตีเงินค่าจ้างของผู้จบการศึกษา ทั้งนี้ ตนสนับสนุนการจัดทดสอบต่างๆ ของเด็ก แต่วิธีการนำไปใช้จะต้องให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงด้วย

ด้าน ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มาวิเคราะห์การสอบวีเน็ตว่ามีการนำไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งได้ข้อสรุปว่าการสอบวีเน็ตของกลุ่มเด็กอาชีวศึกษาไม่ได้มีผลกับนักศึกษาหรือนำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากการเรียนสายอาชีพเราจะมีการประเมินสมรรถนะความรู้แต่ละสาขาวิชาในแต่ละวิทยาลัยก่อนเด็กจะจบการศึกษาอยู่แล้ว ซึ่งมาตรฐานการวัดดังกล่าวจะนำไปเชื่อมโยงกับการวัดมาตรฐานและการทดสอบฝีมือของกระทรวงแรงงาน ดังนั้นการสอบวีเน็ตจึงเป็นการทดสอบที่วัดมาตรฐานระดับกลางเท่านั้น แต่ของ สอศ.จะทดสอบแบบเจาะลึกตามสมรรถนะด้านวิชาชีพ ทั้งนี้ตนคิดว่าการสอบวีเน็ตมีความซ้ำซ้อน ผู้เรียนอาชีวะไม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการสอบวีเน็ตไม่ได้ระบุในข้อบังคับว่าเด็กอาชีวะจะต้องสอบวีเน็ตทำให้เด็กส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นจะต้องมาทดสอบวีเน็ต


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 

ส่อเลิกหมดสอบ"โอเน็ต-วีเน็ต"

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีการทบทวนเรื่องการทดสอบต่างๆ ของนักเรียน โดยเฉพาะการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ของนักเรียนระดับประถมศึกษปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 และม.6 ซึ่งแน่นอนว่าการทดสอบโอเน็ตระดับป.6 และม.3 จะไม่มีการสอบโอเน็ต เพราะที่ผ่านมาครูผู้สอนและนักเรียนต้องเสียเวลากับการเตรียมตัว เพื่อการทดสอบดังกล่าวแต่ไม่ได้มีการนำผลคะแนนมาใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร โดยจะรวมไปถึงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา หรือ วีเน็ต ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปี 3 และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปี 2 ด้วย เนื่องจากเรามีมาตรฐานวิชาชีพที่ใช้วัดอยู่แล้ว อีกทั้ง สามารถนำไปใช้ขยายผลได้ดีกว่าการสอบวีเน็ต โดยเฉพาะการันตีเงินค่าจ้างของผู้จบการศึกษา ทั้งนี้ตนสนับสนุนการจัดทดสอบต่างๆ ของเด็ก แต่วิธีการนำไปใช้จะต้องให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงด้วย

ด้านนายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาศ กอศ.) กล่าวว่า รมว.ศธ.ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มาวิเคราะห์การสอบวีเน็ตว่ามีการนำไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งได้ข้อสรุปว่าการสอบวีเน็ตของกลุ่มเด็กอาชีวศึกษาไม่ได้มีผลกับนักศึกษาหรือนำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากการเรียนสายอาชีพเราจะมีการประเมินสมรรถนะความรู้แต่ละสาขาวิชาในแต่ละวิทยาลัยก่อนเด็กจะจบการศึกษาอยู่แล้ว ซึ่งมาตรฐานการวัดดังกล่าวจะนำไปเชื่อมโยงกับการวัดมาตรฐานและการทดสอบฝีมือของกระทรวงแรงงาน ดังนั้นการสอบวีเน็ตจึงเป็นการทดสอบที่วัดมาตรฐานระดับกลางเท่านั้น แต่ของ สอศ.จะทดสอบแบบเจาะลึกตามสมรรถนะด้านวิชาชีพ ทั้งนี้ตนคิดว่าการสอบวีเน็ตมีความซ้ำซ้อน ผู้เรียนอาชีวะไม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการสอบวีเน็ตไม่ได้ระบุในข้อบังคับว่าเด็กอาชีวะจะต้องสอบวีเน็ตทำให้เด็กส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นจะต้องมาทดสอบวีเน็ต

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 14 ธันวาคม 2563

โพสต์เมื่อ 15 ธ.ค. 2563 อ่าน 6753 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ปีการศึกษา 2567 [อ่าน 852]
โครงการพัฒนาโภชนาการเด็ก FOOD FOR GOOD "โภชนาการที่ดี คือรากฐานของการเจริญเติบโต" [อ่าน 152]
อำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา [อ่าน 322]
สพฐ.ประกาศผลสอบบรรจุ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2) พ.ศ.2567 [อ่าน 6852]
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 509]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)