"สมพงษ์" จี้ศธ.ปรับเงินอุดหนุนรายหัวนร. หลังใช้มากว่า 10ปี ไม่สอดคล้องกับรายจ่ายจริงปัจจุบัน



นายสมพงษ์ จิตระดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า กสศ.ดูแลนักเรียนยากจนพิเศษ เส้นรายได้ต่ำว่า 3,000 บาทลงมา จากวิกฤตโควิด-19 ทำให้เกิดปรากฎการณ์ความยากจนที่ซ้ำซ้อน ทั้งยากจนเฉียบพลัน จนถาวร และเกือบจน สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจ โดยในปีการศึกษา 2564 เบื้องต้นเราพบว่าจะมีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาประมาณ 6,568 คน แต่อีกเดือนเศษจะเพิ่มเป็นหมื่นคน และคาดการณ์ว่าสิ้นปีการศึกษา 2564 จะมีเด็กหลุดจากระบบ 65,000 คน ถ้าหลุดจากระบบประถมศึกษาอาจจะไม่มากเพราะเป็นการศึกษาภาคบังคับราว ร้อยละ 4 มัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ที่ ร้อยละ 19-20 มัธยมปลายอยู่ที่ ร้อยละ 48 และในจำนวนนี้โอกาสเข้ามหาลัยได้เพียง ร้อยละ 8-10 ซึ่ง กสศ.อุดหนุนช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษอยู่ที่ ปีละ 3,000 บาท ต้นทุนการศึกษานั้นมีค่าใช้จ่ายแฝง เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร อยู่ประมาณ 2,058-6,034 บาท ทำให้การเรียนต่อเป็นไปไม่ได้ นโยบายการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวก็ใช้อัตราเดิมมา 10 กว่าปีไม่มีการปรับเพิ่มท่ามกลางสถานการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น รายได้ลด หนี้นอกระบบเพิ่ม

ดังนั้น จึงคิดว่าจะต้องเร่งแก้ปัญหาจริงจัง โดยการปรับเงินอุดหนุนรายหัว ค่าเล่าเรียน ค่าเสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน ให้สอดรับกับค่าใช้จ่ายจริง ตอนนี้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายจริงเกือบ 2-3 พัน ไม่เช่นนั้นในภาคเรียนที่สองจะเห็นการหลุดจากระบบมากกว่านี้ เด็กที่ใกล้เสี่ยงหลุดหรือหลุดแล้ว ทัศนคติ ความมุ่งมั่นทางการศึกษาน้อยมาก การดึงกลับมาเรียนหนังสือ ถ้าไม่ทำแบบประณีด สามารถเข้าถึงวิธีคิดหรือปัญหาจริง เทอม 2 จะเห็นเด็กหลุดมากขึ้นและเป็นวิกฤติของประเทศอย่างแท้จริง และตนขอเสนอให้มีการประนอมหนี้การศึกษา เรียนฟรีแบบไม่มีค่าเทอม และการหาทางช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครอง

"ปัจจุบัน มีจังหวัดพิษณุโลก และภูเก็ตได้เป็นโมเดลการทำงานเชิงรุก บูรณาการเชื่อมโยงไปสู่การทำงานในพื้นที่ป้องกันไม่ให้เด็กหลุดจากระบบเช่น ค่าน้ำมันรถไปกลับ วันละประมาณ 40 บาท เดือนละ 800 บาท ผู้ปกครองมีรายได้ 1,077 บาทต่อคนต่อเดือน จะไปรอดหรือ นี่เป็นปัญหาหนักมาก เด็กที่เพิ่มมากขึ้น 7-8 แสนคนที่ยากจน ถ้าเอาเส้นรายได้ 1,021 บาท จะมีเด็กยากจนพิเศษ 9 แสนคน ถ้าใช้เส้นแบ่ง 1,388 บาท จะเกิดเด็กยากจนและยากจนพิเศษ 1.9 ล้านคน เด็กเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า แต่เราดูแลได้เพียง ร้อยละ 10-15 เท่านั้น ทั้งนี้ กสศ.จะมีการประชุมคณะกรรมการ กสศ. เพื่อกำหนดทิศทางใน 3 ปีข้างหน้าในท่ามกลางวิกฤติโควิดที่ไม่ลดลง จะกำหนดบทบาทภารกิจอย่างไรเพื่อช่วยเหลือเยียวยา ครอบครัวเปราะบางยากจนให้ดียิ่งขึ้นให้ได้”กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม กสศ.กล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564

 

โพสต์เมื่อ 19 มิ.ย. 2564 อ่าน 8377 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ประกาศผลสอบบรรจุ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2) พ.ศ.2567 [อ่าน 1932]
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 360]
ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 [อ่าน 917]
กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง [อ่าน 16700]
ว 12/2567 วิธีการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ผ่านระบบการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (SCS) สังกัด สพฐ. [อ่าน 813]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)