"สพฐ." ย้ำประเมินเพื่อเลื่อนชั้นยังต้องมี เพียงแต่ไม่มีการสอบวัดความรู้ตามเนื้อหาการเรียนเท่านั้น



นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ส่งผลให้ต้องจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เด็กได้รับความรู้ไม่เต็มที่นั้น ในส่วนของการประเมินผลการเรียน หรือจัดสอบเพื่อเลื่อนชั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ย้ำกับโรงเรียนต่างๆ ว่า การประเมินผลการเรียนเพื่อเลื่อนชั้น ยังคงต้องมี แต่ให้ปรับยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ไม่มีการสอบวัดความรู้ตามเนื้อหาการเรียน แต่อาจใช้การประเมินผ่านใบงาน หรือยืดหยุ่นตามบริบทของพื้นที่ เช่นเดียวกับการเรียนในภาคเรียนที่2 โรงเรียนก็ต้องยืดหยุ่นการเรียนการสอนได้ตามสถานการณ์ พร้อมยืนยันว่า นโยบายของ สพฐ.ให้สถานศึกษาเป็นผู้ตัดสินใจในการจะเปิดหรือไม่เปิดสอนยังสถานศึกษา โดยการตัดสินใจต้องได้รับการยอมรับจากชุมนุมเป็นอันดับแรก จากนั้นต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติ และ โรงเรียนต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเข้มข้นที่สุด

“ตอนนี้มีสถานศึกษาหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดสีแดงเข้มแต่ในชุมนุมไม่มีการระบาดของโควิด-19 และถือว่าเป็นสีเขียว จะเปิดการเรียนการสอนที่สถานศึกษา โดยความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมนุม และ อสม.เข้ามาดูแลเพื่อให้บุตรหลานได้กลับมาเรียนยังสถานศึกษา ซึ่งขณะนี้ สพฐ. ได้รับรายงานว่ามีสถานศึกษาในลักษณะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น สถานศึกษาในจังหวัดเชียงราย ก็ดำเนินการในลักษณะนี้แล้ว หรือแม้แต่จังหวัดน่าน ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งอยู่ห่างไกลกันก็ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ยืนยันว่า สพฐ.คงไม่มีนโยบายเดียวให้โรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศต้องปฏิบัติเหมือนกันหมด แต่จะให้ดูความเหมาะสมกับบริบท และความต้องการของแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ”เลขาฯ กพฐ.กล่าว

นายอัมพร กล่าวต่อว่า ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุ และแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่ต้องเลื่อน ออกไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ปรกอบกับจะมีข้าราชการครูจำนวนหนึ่งต้องเกษียณอายุในเดือน กันยายน อาจส่งผลกระทบปัญหาขาดแคลนครู นั้นขอยืนยันว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากการในปีนี้มีครูและบุคคลากรทางการศึกษาจะเกษียณอายุราชการประมาณ 20,000 คน ขณะที่ สพฐ.ที่สถานศึกษาในสังกัดทั้งหมดกว่า 35,000 แห่ง เฉลี่ยแล้วเกษียณอายุราชการแห่งละคน รวมถึงสถานศึกษาแต่ละแห่งก็มีการจ้างครูอัตราจ้างอยู่แล้วจึงไม่กระทบแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม หากสถานศึกษาใดมีผลกระทบจากการขาดแคลนครูก็ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งทั่วประเทศบริหารจัดการให้พื้นที่เรียบร้อยแล้ว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564 

โพสต์เมื่อ 3 ก.ย. 2564 อ่าน 10259 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 261]
ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 [อ่าน 792]
กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง [อ่าน 8276]
ว 12/2567 วิธีการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ผ่านระบบการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (SCS) สังกัด สพฐ. [อ่าน 698]
ว 11/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 2665]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)