การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์



ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 4 มีระเบียบแบบแผนตามแบบสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. การปกครองส่วนกลาง บริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสคมภ์ มี 4 ตำแหน่ง เป็นผู้รับผิดชอบงานรวม 6 กรม คือ

1.1 กลาโหม มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาการฝ่ายทหารและพลเรือนในเขตหัวเมืองภาคใต้ชายทะเลตะวันตก และตะวันออก สมุหกลาโหมมียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ได้ตราคชสีห์เป็นตราเป็นประจำตำแหน่ง

1.2 มหาดไทย สมุหานายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเมืองและ จตุสดมภ์ มีหน้าที่บังคับบัญชางานทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนแถบหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งหมดไม่ใช้ราชทินนามว่าจักรีเหมือนสมัยอยุธยา และ ไม่กำหนดแน่นอน บางครั้งใช้รัตนาพิพิธรัตนคชเมศรา ภูธราพัยบดินทรเดชานุชิต เป็นต้น ใช้ตราราชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง

1.3 กรมเมือง มีหน้าที่ดังนี้

- บังคับบัญชาข้าราชการและดูแลความสงบเรียบร้อยภายในกรุงเทพมหานคร
- บังคับบัญชาศาล พิจารณาความอุกฉกรรจ์มหันโทษ เสนาบดีมีตำแหน่งเป็นเจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง

1.4 กรมวัง มีหน้าที่ดังนี้

- รักษาราชมนเทียรและพระราชวังชั้นนอก ชั้นใน 
- เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับพระราชพิธีมีอำนาจตั้งศาลชำระความด้วยเสนาบดี คือ เจ้าพระธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง

1.5 กรมคลัง มีหน้าที่ดังนี้

- ดูแลการเก็บและจ่ายเงิน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งคือ พระยาราชภักดี
- ดูแลการแต่งสำเภาไปค้าขายต่างประเทศ และเจริญสัมพันธไมตรีผู้ดำรงตำแหน่งคือ พระยาศรีพิพัฒน์
- ตรวจบัญชี และดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออกผู้รักษาหน้าที่ คือพระยาพระคลัง ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่ง

1.6 กรมนา มีหน้าที่คังนี้

- ดูแลรักษานาหลวง
- เก็บภาษีข้าว
- เป็นพนักงานซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง
- พิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องนา สัตว์พาหนะ
- เสนาบดีตำแหน่งเป็น พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง

การปกครองส่วนกลางมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร รับผิดชอบกิจการด้านการทหารทั่วประเทศและปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน รับผิดชอบกิจการด้านพลเรือนทั้งหมดและปกครองหัวเมืองเหนือ ส่วนหัวเมืองชายทะเลด้านฝั่งตะวันออก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงจัดให้อยู่ในความดูแลของกรมท่า นอกจากตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีทั้ง 2 นี้แล้ว ยังมีเสนาบดีจตุสดมภ์ คือ เสนาบดีกรมเมืองหรือกรมเวียง เรียกว่า "พระนครบาล" เสนาบดีกรมวัง เรียกว่า "พระธรรมาธิกรณ์" เสนาบดีกรมคลัง เรียกว่า "พระโกษาธิบดี" เสนาบดีกรมนา เรียกวา "พระเกษตราธิบดี" จตุสดมภ์ทั้ง 4 อยู่ภายใต้การดูแลของสมุหนายก มีหน้าที่และความรับผิคชอบในเรื่องต่างๆเหมือนครั้งสมัยอยุธยาเว้นแต่กรมคลังที่มีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศอีกด้วย

2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเขตการ ปกครองออกเป็น หัวเมือง 3 ประเภท ได้แก่ หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองจัตวา ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ที่อยู่บริเวณรอบๆ เมืองหลวงหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองพระยามหานครา เมืองเอก โท ตรี ซึ่งอยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไป เจ้าเมืองมีอำนาจในการปกครองเมืองอย่างเต็มที่ เพราะอยู่ไกจากราชธานีส่วนเมืองประเทศราช พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งเจ้าประเทศราชให้ปกครองตนเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้เมืองหลวง 3 ปีต่อ 1 ครั้ง หรือถ้าเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เช่น อุบลราชธานี เขมร ไทยบุรี เชียงใหม่ หลวงพระบาง ต้องส่งปีละครั้ง เมื่อเกิดศึกสงคราม เมืองประเทศราชเหล่านี้ต้องส่งทหารมาช่วยรบทันที หรือในยามปกติอาจเกณฑ์ชาวเมืองประเทศราชมาช่วยให้แรงงานในการปรับปรุงประเทศการปกครองส่วน ภูมิภาค (หัวเมืองภูมิภาค) ให้อยู่ในความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดี ดังนี้

2.1 หัวเมืองภาคเหนือและอีสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก ซึ่งต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการทหาร และพลเรือน ตลอดจนเศรษฐกิจ และรักษาความยุติธรรม

2.2 หัวเมืองภาคใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม มี 20 เมืองได้แก่ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ไชยา หลังสวน ชุมพร ประทิว คลองวาฬ กุยบุรี ปราน ตะนาวศรี มะริด กระบุรี ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง พังงา ถลาง กาญจนบุรี ไทรโยค และเพชรบุรี

2.3 หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก มี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สาครบุรี ชลบุรี บางละมุง ระยอง จันทบุรี ตราด อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่า

หัวเมืองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น เมืองเอก โท ตรี อัตวา เจ้าเมืองเอก ได้รับแต่งตั้งจากราชธานี นอกนั้นให้เสนาบดีผู้เกี่ยวข้องคำเนินการ หัวเมืองเอกทางเหนือ ได้แก่ พิษณุ โลกทางอีสานมี นครราชสีมา ทางใต้มี นครศรีธรรมราช ถลาง สงขลา

3. การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น บ้าน ตำบล และแขวงตามลำดับ ซึ่งอาจเทียบได้กับ หมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ในปัจจุบัน ดังนี้

- บ้าน มีผู้ดูแลเรียกว่า ผู้ใหญ่บ้าน
- ตำบล มีผู้ดูแลเรียกว่า กำนัน (มีบรรดาศักดิ์เป็น "พัน")
- แขวง มีผู้ดูแลเรียกว่า หมื่นแขวง
- เมือง มีผู้ดูแเลเรียกว่า ผู้รั้ง (พระยามหานคร)

กฎหมาย และ การศาล

รากฐานกฎหมายของไทยที่ใช้กันในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์หรือกัมภีร์ธรรมสัตถัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับมาจากมอญอีกต่อหนึ่งนำมาเป็นรากฐานกฎหมายของสุโขทัยและอยุธยา นอกจากนี้ยังมีพระราชศาสตร์ ซึ่งเป็นพระบรมราชโองการและพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ใช้สำหรับติดสินคดีความต่างๆ

คราวที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 พระราชกำหนดกฎหมายต่างๆสูญหายกระจัดกระจายและถูกทำลายไปมากมาย มีเหลืออยู่เพียงส่วนน้อย เมื่อมาถึงสมัยธนบุรีมีการปรับปรุงบ้านเมืองและปราบปรามศัตรูที่คอยมารุกรานอธิปไตยของชาติตลอดรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทำให้มีเวลาแก้ไขตัวบทกฎหมายน้อยส่วนใหญ่ใช้ของเดิมซึ่งรับมาจากสมัยอยุธยา ครั้นมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมกฎหมายที่หลงเหลืออยู่นำมาชำระให้ถูกต้อง และโปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้ 3 ชุด แต่ละชุดให้ประทับตราไว้ ได้แก่ ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งสมุหนายก ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม และตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่งพระคลัง หรือกรมท่า หรือโกษาธิบดีกฎหมายฉบับนี้จึงมีชื่อว่า "กฎหมายตราสามดวง" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1"

นอกจากจะทรงตรากฎหมายตราสามดวงแล้ว ยังมีอีกฉบับหนึ่งที่มิได้ประทับตราสามควงไว้ เรียกว่า "ฉบับรองทรง" กฎหมายตราสามดวงนี้เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 

 

ที่มา www.kroobannok.com/84215

โพสต์เมื่อ 1 พ.ค. 2565 อ่าน 75052 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


เบญจศีล [อ่าน 899]
ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา [อ่าน 1138]
"ขุนหลวงท้ายสระ" พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา [อ่าน 1577]
ศาสนา เรื่องที่ไม่เคยรู้ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้ตามหลักศาสนาพุทธ เรื่อง การถวายสังฆทาน [อ่าน 1776]
อานิสงค์ของการถวายเทียนพรรษา [อ่าน 1049]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)