ปลัดสธ.เผยไม่มีมาตรการบังคับตรวจ ATK ก่อนเข้าเรียน และไม่ได้ให้ตรวจทุก 3-5 วันหรือทุกสัปดาห์



16 พ.ค.65- นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แม้ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะมีทิศทางลดลง แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อจำนวนมากได้ โดยเฉพาะช่วงก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมีวันหยุดติดต่อกัน 4 วัน ทำให้มีการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงมีกิจกรรมการรวมตัวทั้งผู้ปกครองและนักเรียนก่อนเปิดเรียน หากไม่ได้มีการป้องกันตนเองอย่างเต็มที่ตามมาตรการ อาจทำให้มีการติดเชื้อและแพร่เชื้อระหว่างกันได้โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมักไม่มีอาการ และเมื่อเปิดภาคเรียนแบบออนไซต์อาจเกิดการแพร่เชื้อภายในโรงเรียนจำนวนมากได้ ดังนั้น ก่อนกลับเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนตามปกติ ขอให้ผู้ปกครอง นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ประเมินความเสี่ยงของตนเองก่อน กรณีมีความเสี่ยงหรือมีอาการป่วยให้ตรวจ ATK ทันที หากผลตรวจเป็นบวกหรือติดเชื้อจะได้เข้ารับการรักษาต่อไป

ปลัดสธ.กล่าวอักว่า สธ.ไม่มีมาตรการบังคับตรวจ ATK ก่อนเข้าเรียน และไม่ได้กำหนดให้ต้องตรวจเป็นประจำทุก 3-5 วันหรือทุกสัปดาห์ แต่ขอให้ตรวจเมื่อมีความเสี่ยงหรือเมื่อมีอาการ ส่วนมาตรการป้องกันการติดเชื้อให้ยึดตาม 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้มของกรมอนามัย เบื้องต้นแนะนำให้ป้องกันตนเองตลอดเวลา โดยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดความแออัด และทำความสะอาด รวมถึงเข้ารับวัคซีนให้ครบ โดยกลุ่มเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-17 ปี ควรรับเข็มกระตุ้น และกลุ่มเด็กประถมศึกษา อายุ 5-11 ปี ควรรับวัคซีนเข็มปกติให้ครบ จะช่วยลดความเสี่ยงอาการรุนแรงและการเสียชีวิต ทั้งนี้ หากพบผู้ติดเชื้อในโรงเรียน ให้ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ ไม่จำเป็นต้องปิดทั้งโรงเรียนเหมือนที่ผ่านมา


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 16 พฤษภาคม 2565 

ด้าน คมชัดลึก ได้รายงานข่าวนี้ว่า

#showads

"เปิดเทอม" 17 พ.ค.นี้ สธ. แนะตรวจ ATK หากมีอาการ-ความเสี่ยง

ปลัดสธ. ห่วงหยุดยาวคนเดินทางท่องเที่ยว หากย่อหย่อนอาจติดเชื้อโควิด-19 โดยไม่รู้ตัว ย้ำ ประเมินตนเองก่อน "เปิดเทอม" กลับมาเรียนออนไซต์ 17 พ.ค.นี้แนะตรวจ ATK หากมีอาการหรือความเสี่ยง

วันที่ 16 พ.ค. 2565 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(ปลัดสธ.) กล่าวว่า แม้ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19จะมีทิศทางลดลง แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อจำนวนมากได้ โดยเฉพาะช่วงก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 หรือ เปิดเทอม ในวันที่ 17 พ.ค. 2565 นี้ ซึ่งมีวันหยุดติดต่อกัน 4 วัน ทำให้มีการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงกิจกรรมการรวมตัวทั้งผู้ปกครองและนักเรียนก่อนเปิดเรียน หากไม่ได้มีการป้องกันตนเองอย่างเต็มที่ตามมาตรการ อาจทำให้มีการติดเชื้อและแพร่เชื้อระหว่างกันได้โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมักไม่มีอาการ และเมื่อเปิดเทอมแบบออนไซต์อาจเกิดการแพร่เชื้อภายในโรงเรียนจำนวนมากได้

นพ.เกียรติภูมิ เน้นย้ำว่า ก่อนกลับเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนตามปกติ ขอให้ผู้ปกครอง นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ประเมินความเสี่ยงของตนเองก่อน กรณีมีความเสี่ยง หรือมีอาการป่วยให้ตรวจ ATK ทันที หากผลตรวจเป็นบวกหรือติดเชื้อจะได้เข้ารับการรักษา

ขอย้ำว่าไม่มีมาตรการบังคับตรวจ ATK ก่อนเข้าเรียน และไม่ได้กำหนดให้ต้องตรวจเป็นประจำทุก 3-5 วัน หรือทุกสัปดาห์ แต่ขอให้ตรวจเมื่อมีความเสี่ยงหรือเมื่อมีอาการ ส่วนมาตรการป้องกันการติดเชื้อให้ยึดตาม6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้ม ของกรมอนามัย เบื้องต้นแนะนำให้ป้องกันตนเองตลอดเวลา สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดความแออัด และทำความสะอาด รวมถึงเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ให้ครบ โดยกลุ่มเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-17 ปี ควรรับเข็มกระตุ้น และกลุ่มเด็กประถมศึกษา อายุ 5-11 ปี ควรรับวัคซีนเข็มปกติให้ครบ จะช่วยลดความเสี่ยงอาการรุนแรงและการเสียชีวิต ทั้งนี้ หากพบผู้ติดเชื้อในโรงเรียนให้ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ ไม่จำเป็นต้องปิดทั้งโรงเรียนเหมือนที่ผ่านมา”นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก คมชัดลึก วันที่ 16 พ.ค. 2565
 

 

โพสต์เมื่อ 16 พ.ค. 2565 อ่าน 3495 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ประกาศผลสอบบรรจุ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2) พ.ศ.2567 [อ่าน 5691]
ครม.ต่ออายุโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล [อ่าน 450]
ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) ประจำโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 [อ่าน 1203]
กมว.อนุมัติตั๋วครูชั่วคราว 8 สาขาขาดแคลนที่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง [อ่าน 18903]
ว 12/2567 วิธีการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ผ่านระบบการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (SCS) สังกัด สพฐ. [อ่าน 1001]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)