การประยุกต์สถิติในชีวิตประจำวัน



ในชีวิตประจำวันเรามักเกี่ยวข้องกับสถิติ ตัวเลขต่าง ๆ มากมาย เราได้ยินการพูดถึงสถิติเรื่องต่าง ๆ เช่นประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมาก และมีสถิติผู้ตายด้วยไข้เลือดออกเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ของผู้ป่วยที่พบ เราดูทีวีก็พบสถิติการรายงานปริมาณน้ำฝนในที่ต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ หรือบางปีบอกว่าฝนแล้งหรือมีปริมาณฝนน้อยที่สุดในรอบยี่สิบปี ครั้งเมื่อดูกีฬา เช่น กีฬาเอเซียนเกมที่ผ่านมา ก็พบว่านักกีฬาบางคนทำลายสถิติในหลายประเภท ประเภทกีฬาทางน้ำ และกรีฑา มีสถิติเป็นตัวเลขบอกไว้มีการเปรียบเทียบกับสถิติ คำว่าสถิติจึงคุ้นหูเราอยู่เสมอ

ขอบเขตของคำว่า "สถิติ" มีความหมายกว้างขวางยิ่งนัก สถิติเป็นศาสตร์ สาขาหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทุกคน เพราะการดำรงชีวิตของเราอยู่ที่การเปรียบเทียบ การวัด การประมาณค่าตลอดจนการนำตัวเลขมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อ 4% สถิติยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้สรุปผลการทดลองต่าง ๆ ได้อย่างมากมายภายในบ้าน พ่อบ้านแม่เรือน ก็อาจจะมีการบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือน มีการตรวตดูและควบคุมเพื่อให้รายรับและรายจ่ายพอเหมาะต่อการดำรงชีพของครอบครัวภายในองค์ฏรเช่นในบริษัทก็มีการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ บันทึกการขาย มีการลงบัญชีเพื่อทำงบดุลต่าง ๆ มีการสร้างค่าสถิติตัวเลขให้ผู้บริหารได้รับทราบสภาพของกิจการ มีการเขียนในรูปกราฟหรือการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ดูได้ง่ายคำว่า "สถิติ" ที่หลายคนพบเห็นจึงเกี่ยวข้องกับตัวเลข จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า วิชาการทางสถิติจะเกี่ยวข้องแต่ตัวเลขเท่านั้น หรือสถิติคงเกี่ยวกับการประมวลผลตัวเลขตามวิธีการทางสถิติสถิติเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลละการประมวลผลข้อมูล ในความหมายที่แท้จริง ยังรวมถึงระเบียบวิธีการทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล นำวิเคราะห์ข้อมูล การตีความหมายข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา การนำเสนอข้อมูล รวมถึงการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ

วิชาทางด้านสถิติจึงได้รับการพัฒนามานานแล้ว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า นักคณิตศาสตร์ชาวจีน ชาวกรีกโบราณ รู้จัดการใช้สถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำข้อมูลบางอย่างมาใช้ เช่น ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม การจัดเก็บภาษีเมื่อสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เจริญขึ้น ปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันยิ่งซับซ้อนขึ้น เช่นปัญหาการผลิตสินค้าจำนวนมากในระบบอุตสาหกรรม สถิติเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มาก การพัฒนาประเทศก็เป็นปัญหาที่ซับซ้อน สถิติช่วยในการบริหารงานของภาครัฐ ข้อมูลสถิติช่วยให้เห็นสภาพความเป็นไปของสังคม และได้เข้าใจและรู้จักกับสถานะภาพของสังคมได้ดีขึ้น สถิติจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ และกำหนดนโยบายต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

  

โพสต์เมื่อ 23 พ.ค. 2565 อ่าน 7362 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จอร์จ บูล ผู้คิดค้นพีชคณิตแบบบูล [อ่าน 827]
จำนวนนับ [อ่าน 4416]
สมการและการแก้สมการ [อ่าน 12501]
สูตรปริมาตรทรงกระบอก [อ่าน 67617]
จำนวนเฉพาะ (Prime Number) คืออะไร? [อ่าน 124589]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)