ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความเทคโนโลยีการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์


บทความเทคโนโลยีการศึกษา เปิดอ่าน : 19,003 ครั้ง
การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์

Advertisement

❝ การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์ (Assessing Needs to Identify Instructional Goal (s) ❞
โดย....สุวิทย์ บึงบัว
นิสิตปริญญาเอก เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ในกระบวนการเรียนการสอนนั้นจุดสำคัญที่จะบ่งชี้ความสำเร็จจากการเรียนการสอน คือ การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ซึ่งจะป็นทิศทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ วิธีการสอน รวมไปถึงการวัดผล ประเมินผล อันเป็นตัวบอกถึงประสิทธิภาพของการเรียนการสอน การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้สามารถกำหนดได้ 2 วิธี คือ

1. การกำหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นไปที่ตัวเนื้อหา โดยให้ผู้เรียนได้รับรู้ เข้าใจเนื้อหา เน้นการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอนให้เข้าใจตรงกัน การกำหนดวัตถุประสงค์แบบนี้ได้รับความนิยมมายาวนานตั้งแต่อดีต และในปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่เสมอ
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นไปที่ด้านเทคโนโลยี โดยให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ ซึ่งนักออกแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่มักจะใช้วิธีการกำหนดวัตถุประสงค์แบบนี้มากกว่าแบบแรก เพราะวิธีการนี้เป็นการค้นหาปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหา เพื่อตอบสนองความต้องการของผลลัพธ์และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้เรียน หรือกระบวนการเรียนการสอน นักออกแบบการเรียนการสอนจะต้องมีส่วนร่วมในการประเมินและวิเคราะห์ถึงปัญหาในกระบวนการของระบบ การค้นหาสาเหตุของปัญหารวมไปถึงการหาทางออกในปัญหาที่ค้นพบ ซึ่งจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน และส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการเรียนรู้ด้วย

สิ่งที่เป็นปัญหาในกระบวนการเรียนการสอน คือ การจัดการความรู้ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ การแก้ไขปรับปรุงจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการประเมินผล ดังนั้นการกำหนดจุดมุ่งหมายจึงต้องมุ่งเน้นไปที่ผู้เรียนให้สามารถทำตามที่ออกแบบได้ ระบบการเรียนการสอนต้องออกแบบให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ พัฒนาทักษะได้ และเป็นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงได้ต่อไป
ตัวอย่าง 1 บริษัทแห่งหนึ่งต้องการเปลี่ยนระบบการทำงานจากแบบนั่งโต๊ะทำงานในสำนักงานทั่วๆ ไป มาใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด จึงวางแผนวิธีการทำงานดังนี้


1. การหาช่างเทคนิคเข้ามาทำงานในบริษัท ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนพนักงานมากขึ้น
2. การคัดเลือกบุคลากรที่มีอยู่ในสำนักงานอยู่แล้ว เข้ารับการฝึกฝน อบรม

จากวิธีการทำงานทั้ง 2 วิธีดังกล่าว วิธีที่ 2 ประสบผลสำเร็จในการทำงานมากกว่าวิธีแรก เพราะวิธีที่ 1 นั้นเป็นการแก้ปัญหาภายนอก มิใช่ปัญหาที่เกิดจากองค์กร บุคลากรที่มีอยู่ไม่ได้รับการพัฒนาความรู้ใหม่ แต่มีช่างเทคนิคคอยช่วยเหลือตลอดเวลา เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและบุคลากร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาระหว่างบุคคลได้อีกด้วย ส่วนวิธีที่ 2 นั้นเป็นการแก้ปัญหาภายในองค์กร การพัฒนาบุคลากรเป็นการสร้างคุณค่าให้กับพนักงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่มีความสุข ความขัดแย้งระหว่างบุคคลจึงลดน้อยลง ดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระกวนการจริงจึงเป็นการแก้ปัญหาที่มีคุณค่ามากหว่าการนำปัจจัยภายนอกเข้าช่วยในการแก้ปัญหา ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการให้นักเรียนสอบผ่านเกณฑ์ให้ได้ 95% ซึ่งเกณฑ์เดิมที่มีอยู่คือ 85% จึงคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาดังนี้


1. ผู้บริหารให้ครูไปเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาศักยภาพครู
2. จ้างครูเก่งๆ จากที่อื่นมาสอนนักเรียนเพิ่มเติม
3. เปลี่ยนรูปแบบการสอบ โดยให้นักเรียนทุกคนได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน

จากวิธีการทั้ง 3 แบบ ปรากฏว่าไม่มีวิธีใดจะช่วยให้สัมฤทธิ์ผลตามเกณฑ์ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอน เมื่อนักออกแบบการเรียนการสอนเข้ามาวิเคราะห์ปัญหา จึงทำให้ทราบว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวไม่สัมฤทธิ์ผลเพราะไม่ได้หาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง คำแนะนำที่ทางโรงเรียนได้รับคือ สิ่งที่โรงเรียนต้องการให้นักเรียนเป็นจริงๆ คืออะไร ทักษะอะไรบ้างที่นักเรียนสอบตก ให้โรงเรียนค้นหาสาเหตุให้พบ การจ้างครูพิเศษมาสอนไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ การแก้ปัญหาต้องแก้ไปที่จุดๆ นั้นประสบปัญหาจริงๆ

Concept
การออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และใช้เป็นแนวทางในการหาวิธีการในการปรับปรุงพัฒนา เช่น การทำงานในองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีหัวหน้าแผนกเพราะวิเคราะห์ถึงปัญหาที่จะสะท้อนออกมาจากการทำงานของพนักงานแผนกต่างๆ ปัญหาบางอย่างสามารถแก้ไขได้โดยความช่วยเหลือจากฝ่ายฝึกอบรมซึ่งมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ปัญหา ตัวอย่างการวิเคราะห์เช่น

Should ---------- สิ่งที่ควรจะทำ
Is ---------------- สิ่งที่เป็นอยู่

การจะมองเห็นปัญหาต้องมีการวิเคราะห์ตนเองก่อน ซึ่ง Should และ Is นั้นมีความหมายต่างกันและมุมองต่างกันหากวิเคราะห์ให้ดีก็จะพบช่องว่างเกิดขึ้นระหว่าง 2 คำนี้ นั่นคือ “ความต้องการ” ผลจากการวิเคราะห์พฤติกรรม ถ้าศึกษาแล้วจะอธิบายถึงปัญหาและความล้มเหลวที่เกิดขึ้นซึ่งจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมของคน หลักฐาน สาเหตุ และอาจจะพบวิธีการแก้ปัญหาได้ในตัวเอง
Robinson Model ได้อธิบายการวิเคราะห์การพฤติกรรมเพิ่มเติม คือ

รวบรวมข้อมูล ------------> หาความจำเป็น ------------------> วิธีการ


จาก Model ดังกล่าวจะเห็นว่าการรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องกระทำ เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสภาพการณ์ เมื่อนำมาวิเคราะห์จะค้นพบปัญหาเบื้องต้น เมื่อหาความจำเป็นออกมาได้ก็จะพบความต้องการที่แท้จริงในระบบ จากนั้นจึงจะสามารถกำหนดวิธีการอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ ที่วิเคราะห์ออกมาจากเบื้องต้น ดังนั้นการหาความจำเป็น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบการเรียนการสอน ในอดีตนั้นใช้วิธีการสำรวจแล้วกำหนดวิธีการต่างๆ ขึ้นมา ปัจจุบันใช้วิธีการหาความจำเป็นหลายวิธี บางครั้งต้องอาศัยการวิจัยจึงจะค้นพบความจำเป็นที่แท้จริง “การหาความจำเป็น” จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการการออกแบบการเรียนการสอน

การกำหนดเป้าหมายบทเรียนให้ชัดเจน
Mager ได้กล่าวว่าเป้าหมายในการออกแบบการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นนามธรรม ดังนั้นนักออกแบบการเรียนการสอนไม่สามารถหาวิธีการวัดผลได้ชัดเจน ส่วนมากแล้วจะวัดผลการเรียนโดยนำความสำเร็จในการเรียนเป็นเกณฑ์ในการวัดผล วิ๊การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนจึงมีข้อที่ต้องพิจารณาถึง ดังนี้
1. เป็นสิ่งต่างๆ ที่บุคลากรในหน่วยงานต้องสามารถทำได้
2. การเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าทำไมต้องทำหรือต้องมี
3. ตรวจสอบเป้าหมายแต่ละข้อที่กำหนดขึ้น ว่าจำเป็นหรือไม่ หรืออาจจะไม่จำเป็นต้องทำเลย ซึ่งเป็นข้อพึงระวังที่นักออกแบบการเรียนการสอนต้องพิจารณาให้ครอบคลุม

ผู้เรียน, เนื้อหา, เครื่องมือ
ในกระบวนการเรียนการสอนมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการซึ่งไม่อาจขาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ดังนี้
1. ผู้เรียนคือใคร ---------------------- ต้องการเรียนอะไร
2. เนื้อหาเป็นอย่างไร ---------------- มีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร
3. เครื่องมือที่ใช้มีอะไรบ้าง -------- ตอบสนองต่อผู้เรียนมากน้อยเพียงใด

วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถตอบสนอง ดังนี้
1. ผู้เรียนจะได้รับความรู้อะไรบ้าง
2. ความรู้ที่ได้รับจากเนื้อหามีอะไรบ้าง
3. การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
4. เครื่องมือตอบสนองต่อผู้เรียนอย่างไรบ้าง


เกณฑ์ในการตั้งวัตถุประสงค์การเรียนการสอน
1. สามารถแก้ปัญหาและตอบสนองผู้เรียนตามความต้องการ ได้หรือไม่
2. การยอมรับ การปฏิบัติตาม ก่อให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้ จริงหรือไม่
3. ผู้เรียนมีความพร้อม ในการเรียนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

ข้อพึงระวังในการตั้งวัตถุประสงค์การเรียนการสอน
- นักออกแบบการเรียนการสอนต้องมีความมั่นใจว่า ผู้เรียนมีความพร้อมจริงในการออกแบบแต่ละเนื้อหา
- เป็นการยากที่จะบอก คำนวณระยะเวลาที่สำเร็จในการเรียนได้
- นักออกแบบการเรียนการสอนต้องออกแบบให้ยืดหยุ่น ในระยะเวลาต่างๆ ได้
- นักออกแบบการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น โดยดูลักษณะเฉพาะของโรงเรียนนั้นๆ
- ในการออกแบบกาเรียนการสอนจะต้องมีการ Try Out มิเช่นนั้นแล้วจะประสบความสำเร็จเฉพาะกลุ่มคนเล็กๆ เท่านั้น
- ในการออกแบบการเรียนการสอนจะต้องอาศัยทีมในการทำงาน ไม่สามารถทำตามลำพัง
เช่น ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์สาขาต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นต้น


การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ระบบการพัฒนาอาชีพครู

ระบบการพัฒนาอาชีพครู


เปิดอ่าน 48,628 ครั้ง
Gen Y วายร้ายจริงหรือ (จบ)

Gen Y วายร้ายจริงหรือ (จบ)


เปิดอ่าน 15,558 ครั้ง
หลักการออกแบบของ ADDIE model

หลักการออกแบบของ ADDIE model


เปิดอ่าน 170,955 ครั้ง
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา

คอมพิวเตอร์กับการศึกษา


เปิดอ่าน 118,461 ครั้ง
แนวทางในการพัฒนาระบบ

แนวทางในการพัฒนาระบบ


เปิดอ่าน 21,658 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางการพัฒนาทักษะการค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเพื่อรองรับ AEC : 2558

แนวทางการพัฒนาทักษะการค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเพื่อรองรับ AEC : 2558

เปิดอ่าน 19,401 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
เปิดอ่าน 118,461 ☕ คลิกอ่านเลย

การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
เปิดอ่าน 121,406 ☕ คลิกอ่านเลย

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
เปิดอ่าน 36,927 ☕ คลิกอ่านเลย

กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมาย
กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมาย
เปิดอ่าน 35,078 ☕ คลิกอ่านเลย

ใช้เทคโนโลยีสร้าง "การคิดวิเคราะห์"
ใช้เทคโนโลยีสร้าง "การคิดวิเคราะห์"
เปิดอ่าน 14,976 ☕ คลิกอ่านเลย

แนวทางในการพัฒนาระบบ
แนวทางในการพัฒนาระบบ
เปิดอ่าน 21,658 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา
การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา
เปิดอ่าน 82,494 ครั้ง

การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งสู่อนาคต (Basic Education for Future) : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งสู่อนาคต (Basic Education for Future) : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
เปิดอ่าน 47,528 ครั้ง

ภาพหาชมยาก! "ลูกเพียงพอน" ขี่หลัง "นกหัวขวาน"
ภาพหาชมยาก! "ลูกเพียงพอน" ขี่หลัง "นกหัวขวาน"
เปิดอ่าน 14,685 ครั้ง

3G สามจี หรือ ทรีจี
3G สามจี หรือ ทรีจี
เปิดอ่าน 21,662 ครั้ง

ไขมันที่มองไม่เห็น อันตรายที่ไม่รู้ตัว คนผอมต้องระวัง!!!
ไขมันที่มองไม่เห็น อันตรายที่ไม่รู้ตัว คนผอมต้องระวัง!!!
เปิดอ่าน 15,475 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ