ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

พายุสุริยะ คืออะไร


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 25 ธ.ค. 2555 เวลา 08:10 น. เปิดอ่าน : 25,740 ครั้ง
พายุสุริยะ คืออะไร

Advertisement

ปรากฏการณ์ "พายุสุริยะ" คือปรากฎการณ์ที่ทำให้ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานประจุไฟฟ้าออกมายังโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ซึ่งประจุไฟฟ้าที่ ส่งออกมาคือสิ่งที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของ "ภูมิอากาศ" และ "ระบบธรณีวิทยา" บนโลก

แล้วปรากฏการณ์พายุสุริยะเกิดขึ้นได้อย่างไร !
การจะเกิดพายุสุริยะได้ต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
1) ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
2) เกิดปรากฏการณ์เรียงตัวกันเป็นระนาบในทางช้างเผือก และ
3) มีรังสีคอสมิก

จากข้อมูลขององค์การนาซ่าแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าพ่อใหญ่แห่งวงการอวกาศโลก ชี้แจงว่าทุกๆ 11 ปี ขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จะกลับหัวกลับหางจากเหนือเป็นใต้ เป็นเหตุให้ "จุดดับ" บนผิวดวงอาทิตย์ออกฤทธิ์เปล่งพลังงานมหาศาลออกมาในอวกาศในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก่อให้เกิดรังสีต่างๆได้แก่ รังสีแกมม่า และรังสีเอ็กเรย์ ซึ่งมีผลต่อโลกในสามระดับ กล่าวคือ

1.ระดับรุนแรงที่สุด (X-Class) ทำให้คลื่นวิทยุสื่อสารล้มเหลวทั้งโลกเป็นเวลานาน อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้การติดต่อผ่านดาวเทียมและระบบคอมพิวเตอร์จะเข้าสู่ภาวะ Blackout เรียกง่ายๆว่าระบบอิเล็กโทรนิคทั้งหลายเป็นใบ้สิ้นเชิง เราๆท่านๆที่ฝากวิถีชีวิตไว้กับโลก "ออนไลน์" คงต้องทำใจกลับไปสู่ยุคไปรษณีย์จดหมายธรรมดา นักบินมือหนึ่งที่เคยชินกับการนำร่องโดยระบบคอมพิวเตอร์และจีพีเอส ก็คงต้องหันกลับมาบังคับเครื่องแบบ "ตาดู หูฟัง" ท่านที่นิยมทำธุรกรรมออนไลน์คงต้องกลับมาสู่ระบบส่งดร๊าฟทางไปรษณีย์ และที่แน่ๆการประมูลโครงก่อสร้างระดับบิ๊กๆมหาโปรเจคหมื่นล้านที่กระทรวงการคลังคุยนักคุยหนาว่า "อี อ๊อกชั่น" คงต้องกลับมาใช้วิธียื่นซองเหมือนเดิม ส่วนบรรดาผู้มีรสนิยมไฮโซชอบเล่น 3G 4G และ Facebook คงต้องระงับความอยากไว้ชั่วคราว

2.ระดับปานกลาง (m-class) เป็นอาการเดียวกับข้อแรกแต่เกิดแบบชั่วคราว เราๆท่านๆที่เป็นนักออนไลน์ และฝากชีวิตไว้กับสื่ออิเลคโทรนิค ต้องยุติความทันสมัยชั่วคราวคงไม่ถึงกับลงแดง

3. ระดับอ่อน (c-class) ไม่มีผลอะไรเลย แบบที่วัยรุ่นเรียกว่า "ชิว ชิว"


ขณะเดียวกัน เมื่อปี 2551 องค์การนาซาได้ตรวจพบ "รูรั่ว" ในสนามแม่เหล็กโลกที่มีขนาดใหญ่กว่าที่เคยคาดไว้ และยังพบชั้นบรรยากาศของโลกที่หดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้เปรียบเสมือนสิ่งที่เป็นเกราะป้องกันรังสีจากนอกโลกไว้
ประเด็นคือยิ่งปริมาณ "รังสีคอสมิก" เข้ามามากเท่าไหร่ จะเกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศในโลก จะมีน้ำก่อตัวมากขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อปี 1978 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งเคยคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ในช่วงเร็ว ๆ นี้ระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง กำลังจะเคลื่อนตัวเข้าสู่กลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ในอวกาศ ทำให้มี "รังสีคอสมิก" เข้ามาในระบบสุริยะมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศบนดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะ

สมมติฐานนี้ได้ถูกคอนเฟิร์มแล้ว เมื่อปี 2009 จากข้อมูลของดาวเทียม voyager 1 และ 2 ของนาซาที่โคจรอยู่บริเวณขอบของระบบสุริยะ จึงตั้งข้อสังเกตว่า หลายประเทศ ทั่วโลกที่กำลังมีความเคลื่อนไหว อาทิ พม่าย้ายเมืองหลวงไปที่เนปิเดา ห่างชาย ฝั่งทะเล 400 กิโลเมตร เนเธอร์แลนด์สร้างบ้านลอยน้ำ อเมริกากำลังสร้างเมืองลอยน้ำ นอรเวย์ย้ายฐานทัพทหารลงใต้ดิน รัสเซียกำลัง สร้างฐานทัพและหลุมหลบภัยใต้ดิน 5 พันแห่ง ฯลฯ จะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือไม่ !

สัญญาณบอกเหตุ 1-3 วัน
ย้อนกลับมาดูผลศึกษาเหตุการณ์ในอดีต พบว่าเมื่อปี 1859 พายุสุริยะเคยเกิดขึ้นทำให้ระบบสายส่งโทรเลขขัดข้อง มีเจ้าหน้าที่ถูกไฟฟ้าชอร์ตเพราะพลังงานเหล่านี้ถูกส่งผ่านจากชั้นบรรยากาศ

ถัดมายุคปัจจุบัน เริ่มจากวิกฤตอุทกภัยในภาคกลางของประเทศไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าเมื่อ วันที่ 22 กันยายน 2554 ได้เกิดพายุสุริยะขึ้น เป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีการระเบิดอย่างรุนแรง โดยหน่วยงาน spaceweather.com ของสหรัฐทำนายว่า ในวันที่ 26 กันยายน จะเกิดประจุไฟฟ้ามาตกกระทบที่ขอบโลก ด้านนอก และตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน ปริมาณน้ำก็เพิ่มขึ้นมากและเกิดน้ำท่วมต่อมา และในวันเดียวกันที่ประเทศสเปนยังมีภูเขาไฟระเบิดอีกด้วย

ล่าสุดกับ "น้ำท่วมภาคใต้" ปรากฏว่าตรวจพบพายุสุริยะเมื่อ 26 ธันวาคม จากนั้น 28 ธันวาคม 2554 เกิดฝนตกหนัก และวันที่ 30-31 ธันวาคม 2554 น้ำก็ท่วม ส่วนการเกิดคลื่นสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ปีที่ผ่านมา ก็ตรวจพบดวงอาทิตย์มีการระเบิดอย่างรุนแรง ทำให้ "จุดดับ" บนดวงอาทิตย์เกิดการหดหรือขยายตัว จึงมีการตั้งข้อสังเกต หากจุดดับบนดวงอาทิตย์หดหรือขยายตัว จะสัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวบนโลก นั่นหมายความว่า ก่อนจะเกิดปรากฏการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ จะมีพายุสุริยะหรือการระเบิดของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อน เฉลี่ย 1-3 วัน

ระหว่างปี 2012-2015 ยังมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยาพายุสุริยะได้ตลอด แต่ ไม่ขอฟันธงว่า ภัยพิบัติธรรมชาติจะเกิดขึ้นในเมืองไทยหรือประเทศอื่น แต่เชื่อว่าแนวโน้มสภาพอากาศ แปรปรวน ปัญหาน้ำท่วมยังคงมีอยู่ และมีโอกาสจะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2015 ความถี่การเกิดพายุสุริยะจะลดลง จนกว่าจะผ่านไปอีก 11 ปี ที่วงรอบการเกิดพายุสุริยะถี่จะกลับมา ระหว่างนี้ คนไทยจึงไม่ควรประมาทกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น "สำหรับประเทศไทย ปัญหาน้ำท่วม บอกไม่ได้ ว่าเกิดที่ไหน รุนแรงเท่าใด แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ ช่วงระหว่างปี 2012-2015 เมื่อคำนวณจากปรากฏการณ์พายุสุริยะ"




พายุสุริยะ คืออะไรพายุสุริยะคืออะไร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การละลาย (Solubility)

การละลาย (Solubility)


เปิดอ่าน 3,100 ครั้ง
วิวัฒนาการมนุษย์

วิวัฒนาการมนุษย์


เปิดอ่าน 25,892 ครั้ง
บรรยากาศ (ATMOSPHERE)

บรรยากาศ (ATMOSPHERE)


เปิดอ่าน 22,351 ครั้ง
อวกาศมีกลิ่นเหมือนอะไร?

อวกาศมีกลิ่นเหมือนอะไร?


เปิดอ่าน 23,972 ครั้ง
หนอนคืบ

หนอนคืบ


เปิดอ่าน 12,879 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เจาะลึกนาซา องค์การด้านอวกาศเพื่อมวลมนุษยชาติ

เจาะลึกนาซา องค์การด้านอวกาศเพื่อมวลมนุษยชาติ

เปิดอ่าน 31,471 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทำไมเครื่องบินกระดาษจึงบินได้
ทำไมเครื่องบินกระดาษจึงบินได้
เปิดอ่าน 56,866 ☕ คลิกอ่านเลย

ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ?
ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ?
เปิดอ่าน 28,899 ☕ คลิกอ่านเลย

สัตว์ในป่าชายเลน
สัตว์ในป่าชายเลน
เปิดอ่าน 185,726 ☕ คลิกอ่านเลย

น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร
น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร
เปิดอ่าน 128,178 ☕ คลิกอ่านเลย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์
เปิดอ่าน 9,411 ☕ คลิกอ่านเลย

อวกาศมีกลิ่นเหมือนอะไร?
อวกาศมีกลิ่นเหมือนอะไร?
เปิดอ่าน 23,972 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

พบวิธีการใหม่ ทำ "คนอัมพาต" เดินได้อีกครั้ง
พบวิธีการใหม่ ทำ "คนอัมพาต" เดินได้อีกครั้ง
เปิดอ่าน 11,401 ครั้ง

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กับฉบับ 2549 เหมือน-ต่างกันตรงไหน
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กับฉบับ 2549 เหมือน-ต่างกันตรงไหน
เปิดอ่าน 18,753 ครั้ง

ถ้าผมเป็น "รมต.ศึกษา"
ถ้าผมเป็น "รมต.ศึกษา"
เปิดอ่าน 14,953 ครั้ง

26 มิถุนายน "วันสุนทรภู่"
26 มิถุนายน "วันสุนทรภู่"
เปิดอ่าน 75,473 ครั้ง

เรื่องของกลิ่นปาก
เรื่องของกลิ่นปาก
เปิดอ่าน 19,027 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ