ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ถึงเวลายุบ สมศ. ได้แล้วหรือยัง ?"


ข่าวการศึกษา 8 ม.ค. 2556 เวลา 15:46 น. เปิดอ่าน : 43,085 ครั้ง
"ถึงเวลายุบ สมศ. ได้แล้วหรือยัง ?"

Advertisement

บทวิเคราะห์ ถึงเวลายุบ สมศ. ได้แล้วหรือยัง ?
รศ.ดร.บุญมี พันธุ์ไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สมศ. (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) เกิดมาจากการมี พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ สมศ.ตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานฯ พ.ศ.2543 ทำงานมามากกว่า 10 ปี เกี่ยวกับการประกันคุณภาพทางการศึกษา



แต่ก็ไม่สามารถประกันคุณภาพได้เลย เพราะคุณภาพของเด็กไทยตกต่ำลงทุกปี แสดงว่าทำงานล้มเหลวมาตลอดเวลา 10 กว่าปี ใช้งบประมาณของประเทศชาติไปมากมายมหาศาล ถึงเวลาแล้วที่จะถูกยุบหรือยัง

จากผลการสอบของ สทศ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ) ที่ผ่านมาก็ปรากฏว่าคะแนน O-NET วิชาสามัญทั้งหลายได้แก่ วิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยน้อยมากไม่ถึง 50% ของคะแนนเต็ม (คะแนนเต็ม 100) ยกเว้นวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยเกินครึ่งนิดหน่อย

ส่วนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีได้คะแนนเฉลี่ยเกือบถึงครึ่ง (คะแนน 40 กว่าๆ) และแนวโน้มคะแนนของนักเรียนก็จะลดลงทุกปี ซึ่งก็สอดคล้องกับการประเมินของโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment:PISA) หลายปีที่ผ่านมาความสามารถของเด็กไทยด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ก็ตกต่ำลงทุกปี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันก็สู้เขาไม่ได้และมีแนวโน้มจะลดลงทุกปีด้วยเช่นกัน

อดีต ผอ.สมศ.ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นประธานบอร์ด สมศ.ได้บรรยายในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 จัดโดยสมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษา (สวพอ.) ผู้เขียนได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ดูเหมือนท่านเองก็จะยอมรับว่าการทำงานของ สมศ.ในขณะนี้ไม่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ยังมีเป้าหมายในการประเมินไม่ชัดเจน แต่ผู้เขียนเองอยากจะพูดว่าการทำงานของ สมศ.ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันล้มเหลวมาตลอดไม่ใช่ล้มเหลวเฉพาะตอนนี้ ผู้เขียนเองเคยเขียนวิจารณ์การทำงานของ สมศ.มาแล้วพร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะด้วยว่าควรทำอย่างไร ท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านได้โดยคลิกไปที่ Google แล้วพิมพ์ชื่อผู้เขียนลงไป

การประเมินของ สมศ.ที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมุ่งไปที่ตัวผู้บริหารและครูเป็นสำคัญ จึงทำให้ผู้บริหารและครูต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปจัดทำเอกสารต่างๆ ตามตัวชี้วัดให้ดีที่สุด เตรียมไว้รองรับการประเมินเพื่อให้ได้คะแนนมากๆ ผลการประเมินจะได้อยู่ในอันดับต้นๆ โดยไม่สนใจการเรียนการสอนนักเรียนในห้องเรียน ยิ่งในช่วงเวลาที่ผู้ประเมินทั้งภายในและภายนอกจะมาประเมิน บางโรงเรียนถึงกับต้องปิดโรงเรียนหรืองดการเรียนการสอนนักเรียนเลยก็มี และให้นักเรียนมาช่วยจัดทำสภาพแวดล้อมรอบๆ โรงเรียนให้สวยงามจะได้คะแนนมากๆ

มื่อคุณภาพของนักเรียนตกต่ำลงเรื่อยๆ ดังที่ได้กล่าวมา ผู้เขียนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมี สมศ.ต่อไปอีกแล้ว แต่ก็อาจจะมีนักวิชาการบางท่านโต้แย้งว่า ถึงแม้ไม่มี สมศ.ทำหน้าที่ประกันคุณภาพทางการศึกษา คุณภาพของเด็กก็ยังแย่เหมือนเดิมเพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเด็ก ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยกับความคิดนี้ ก็แสดงว่าการมีหรือไม่มี สมศ.ก็ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเด็กอยู่แล้ว

นั่นคือ แทนที่รัฐบาลจะเอางบประมาณไปให้ สมศ.ทำประกันคุณภาพทางการศึกษาอย่างที่ทำกันอยู่ในขณะนี้ สู้เอางบประมาณไปพัฒนาด้านอื่นๆ ทางการศึกษาน่าจะมีประโยชน์มากกว่า

ก่อนปี พ.ศ.2542 ไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประกันคุณภาพทางการศึกษาเหมือนอย่าง สมศ.ก็ไม่เห็นมีเสียงสะท้อนออกมาว่าคุณภาพเด็กไทยตกต่ำเหมือนอย่างปัจจุบัน แต่กลับมีเสียงชื่นชมว่าการจัดการศึกษาสมัยก่อนนี้ทำได้ดีกว่าสมัยนี้เสียอีก ใช้งบประมาณก็ไม่มากมายเหมือนอย่างปัจจุบัน โครงการใหญ่ๆ ที่เราเรียกว่า เมกะโปรเจ็กต์ก็ไม่มี เด็กเรียนแค่ระดับประถมศึกษาก็สามารถอ่านออก เขียนได้ คิดเลขคล่อง ดีกว่าเด็กในยุคปฏิรูปการศึกษาเสียอีก

ผู้เขียนเคยเสนอให้ยุบ สมศ.มาแล้ว แต่ก็มีบางท่านบอกว่ายุบไม่ได้ง่ายๆ หรอกเพราะตั้งมาจาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ก็ต้องไปแก้ไข พ.ร.บ.ก่อนซึ่งมีขั้นตอนมาก แต่ผู้เขียนกลับเห็นว่าไม่น่าจะยาก เพราะ สมศ.จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานฯ พ.ศ. 2543 ถ้าจะยุบก็ออกพระราชกฤษฎีกายุบสำนักงานฯเสียก็ไม่น่าจะยุ่งยากเหมือนการออก พ.ร.บ.

ท่านพงศ์เทพ เทพกาญจนา ในฐานะ รมต.กระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน ถ้าท่านเห็นว่าเหตุผลที่ผู้เขียนกล่าวมานั้นพอจะรับฟังได้หรือพอมีมูล แต่ท่านอาจจะไม่แน่ใจก็สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก็ได้ โดยการสอบถามครูและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือทำโพลเฉพาะเรื่องนี้ก็ยิ่งดี ซึ่งผู้เขียนก็ยังมั่นใจว่าผู้บริหารสถานศึกษา ครูและอาจารย์ส่วนใหญ่จะตอบตรงกันว่าควรยุบ สมศ.ได้แล้ว อดีตท่านเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน ผู้เขียนเชื่อว่าท่านคงจะมีช่องทางของกฎหมายที่จะยุบ สมศ.ได้โดยไม่ยาก

ถ้าท่าน รมต.ทำได้ ผู้เขียนคิดว่าท่านจะได้รับความขอบคุณและเสียงชื่นชม ในความกล้าหาญของท่านจากครูและอาจารย์ทั่วประเทศที่มีจำนวนมากเป็นหลักแสน ที่ท่านได้ช่วยปลดแอกที่เป็นภาระที่หนักแต่ไม่มีประโยชน์ออกจากบ่าของพวกเขาเสียที

พวกเขาเหล่านั้นจะได้เอาเวลาไปสอนเด็กนักเรียนให้เต็มที่เพื่อคุณภาพเด็กไทยจะไม่ตกต่ำอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

 

ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 9 ม.ค. 2556 (กรอบบ่าย)


"ถึงเวลายุบ สมศ. ได้แล้วหรือยัง ?"

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)

เปิดอ่าน 1,730 ☕ 25 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
เปิดอ่าน 609 ☕ 25 เม.ย. 2567

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
เปิดอ่าน 335 ☕ 25 เม.ย. 2567

การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
เปิดอ่าน 364 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
เปิดอ่าน 701 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)
แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)
เปิดอ่าน 1,730 ☕ 25 เม.ย. 2567

ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 2,463 ☕ 24 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

หมอขายครีม ผิดจรรยาบรรณ?
หมอขายครีม ผิดจรรยาบรรณ?
เปิดอ่าน 21,510 ครั้ง

ว่าด้วยกรณีมหาวิทยาลัยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
ว่าด้วยกรณีมหาวิทยาลัยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
เปิดอ่าน 13,890 ครั้ง

ประโยชน์บัตรเครดิต ที่คุณควรรู้ไว้ ตอนที่ 2
ประโยชน์บัตรเครดิต ที่คุณควรรู้ไว้ ตอนที่ 2
เปิดอ่าน 19,974 ครั้ง

Intrend ให้แบบไม่ OUT กับ 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้
Intrend ให้แบบไม่ OUT กับ 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้
เปิดอ่าน 673 ครั้ง

ตูนส์ศึกษา : การศึกษาระดับประถมวัยของไทยคือการเตรียมพร้อมหรือการทำร้ายเผ่าพันธุ์มนุษย์
ตูนส์ศึกษา : การศึกษาระดับประถมวัยของไทยคือการเตรียมพร้อมหรือการทำร้ายเผ่าพันธุ์มนุษย์
เปิดอ่าน 10,198 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ