ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

พายุไต้ฝุ่น


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 31,172 ครั้ง
พายุไต้ฝุ่น

Advertisement

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 4

พายุไต้ฝุ่น โดย นาวาเอกเจริญ เจริญรัชตภาคย์

พายุไต้ฝุ่น เฮอร์ริเคน (hurricane) ไซโคลน (cyclone) บาเกียว (baquio) หรือวิลลี่วิลลี่ (willy willy) เหล่านี้เป็น "พายุไซโคลนในโซนร้อน" หรือ "พายุหมุนในโซนร้อน" (tropical cyclones) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่มีชื่อต่างๆ กันตามบริเวณแหล่งที่เกิด พายุชนิดนี้เกิดขึ้นเฉพาะในโซนร้อนของมหาสมุทร หรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ ๒๖°ซ. หรือ ๒๗°ซ. ขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง ในซีกโลกเหนือ ทิศของลมรอบศูนย์กลางของพายุเหล่านี้จะพัดจากขวาไปซ้าย ในทิศตรงข้ามกับเข็มนาฬิกา และมีความเร็วของรอบศูนย์กลางตั้งแต่ ๑๑๗ กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป ส่วนในซีกโลกใต้เหล่านี้เกิดขึ้นในเขตร้อนบางส่วนของมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิกและแอตแลนติกเหนือด้วย เว้นแต่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ในซีกโลกใต้ไม่เคยปรากฏว่ามีพายุเฮอร์ริเคนเกิดขึ้นเลย

ลักษณะของพายุไซโคลนในโซนร้อนหรือพายุหมุนในโซนร้อนแบ่งออกได้ตามลำดับต่อไปนี้

- ดีเปรสชั่น (depression) คือพายุไซโคลนในโซนร้อน ซึ่งมีความเร็วลมรอบบริเวณศูนย์กลางไม่เกิน ๖๓ กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง
- พายุโซนร้อน (tropical storm) คือพายุไซโคลนในโซนร้อน ซึ่งมีความเร็วลมรอบศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๔ ถึง ๑๑๗
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- เฮอร์ริเคน (ไต้ฝุ่น ไซโคลน บาเกียว และวิลลี่วิลลี่) คือ พายุไซโคลนในโซนร้อน ซึ่งมีความเร็วลมรอบศูนย์กลาง
มากกกว่า ๑๑๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนของการเกิดพายุไซโคลนในโซนร้อนกับปรากฏการณ์อื่น แล้วจะเห็นได้ว่าในปีหนึ่งๆ มีจำนวน พายุไซโคลนในโซนร้อนเกิดขึ้นน้อยกว่า การเกิดของพายุนี้จำต้องมีลักษณะของอากาศหลายอย่าง ซึ่งเข้าจังหวะกันพอดี นักวิทยาศาสตร์ ได้สังเกตว่าส่วนมากพายุไซโคลนในโซนร้อนเกิดจาก "คลื่นตะวันออก" (easterly waves)คลื่นตะวันออกนี้ คือ บริเวณความกดอากาศต่ำซึ่งเคลื่อนตัวจากทิศตะวันออกไปทางทิศ ตะวันตกและส่วนมากอยู่ในบริเวณละติจุดต่ำๆ แต่อยู่นอกเขตของบริเวณเส้นศูนย์สูตรเพราะยังไม่เคยปรากฏว่าได้ตรวจพบพายุไซดคลนในโซนร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตรเลย




ต่อไปนี้ เราอาจจะอธิบายลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของไต้ฝุ่นได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

๑. พายุไต้ฝุ่น คือพายุโซนร้อน ซึ่งเกิดในมหาสมุทรหรือทะเลในโซนร้อนและมีลมพัดรอบศูนย์กลางอย่างน้อยด้วยความ
เร็ว ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (อาจจะถึง ๓๐๐กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้)
๒. พายุไต้ฝุ่น เป็นบริเวณความกดต่ำ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นร้อยๆ กิโลเมตรจนถึงประมาณ ๑,๖๐๐ กิโลเมตร หรือกว่านั้น และมีอายุอยู่ได้หลายๆ วัน ลมของพายุนี้พัดรอบๆ ศูนย์กลางและลอยตัวขึ้นคล้ายบันไดวน
๓. คุณสมบัติที่สำคัญและน่าสนใจอย่างหนึ่งของพายุนี้ก็คือ ที่บริเวณศูนย์กลางของพายุเราเรียกว่า "ตา" ของไต้ฝุ่น ตาเป็นบริเวณเล็กๆ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ๑๐ ถึง ๕๐ กิโลเมตร ในบริเวณตาของไต้ฝุ่นจะมีอากาศค่อนข้างดี ลมพัดค่อนข้างเบา
๔. พายุไต้ฝุ่น มีพลังงานมากมายมหาศาล ในวันหนึ่งสามารถผลิตพลังงานได้เท่ากับลูกระเบิดไฮโดรเจนขนาด ๑ ล้านตัน ที เอ็น ที ได้มากว่า ๑๐,๐๐๐ ลูก ไต้ฝุ่นได้รับพลังงานมหึมาจากพลังงานความร้อนแฝง ซึ่งไอน้ำในทะเลกลั่นตัวเป็นน้ำ
๕. ในละติจูดต่ำๆ ไต้ฝุ่นจะเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออก มาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก
๖. เมื่อไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นดิน ภูเขา หรือมวลอากาศเย็น ทำให้พลังงานของไต้ฝุ่นค่อยๆ สลายตัวลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นพายุโซนร้อนหรือดีเปรสชั่น
๗. อันตรายจากพายุไต้ฝุ่น มีหลายอย่าง เช่น ฝนตกหนัก ลมแรง พายุฟ้าคะนอง คลื่นจัด และอุทกภัย (ซึ่งมักจะทำให้มีผู้คนเสียชีวิตได้มาก) ฝนอาจจะตกได้กว่า ๑,๘๐๐ มิลลิเมตรในระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง พายุโซนร้อนซึ่งพัดเข้าแหลมตะลุมพุกจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ทำให้คนเสียชีวิตประมาณ ๑,๐๐๐คน และสูญเสียทรัพย์สมบัติหลายร้อยล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องจากน้ำทะเลท่วม

เมื่อวันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ พายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดียเคลื่อนตัวผ่านบริเวณแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร (Ganges- Brahmaputra) ประเทศบังคลาเทศพายุไซโคลนลูกนี้มีความรุนแรงมาก มีอิทธิพลกระทบกระเทือน ต่อประชาชนกว่า ๓ ล้านคนในเนื้อที่กว่า ๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คน ส่วนอันตรายอย่างอื่น เช่น อดตายหรือโรคระบาดนั้นตามมาภายหลังอีกมากมายหลายอย่างฉะนั้นเมื่อพายุไซโคลนในโซนร้อนอยู่ที่ไหน จึงควรจะอยู่ห่างจากที่นั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง จงอย่าอยู่ในที่ลุ่มหรือที่ต่ำเป็นอันขาด

๘.เราสามารถจะกำหนดที่อยู่ของพายุไต้ฝุ่นได้ โดยการวัดความกด ตรวจดู
ลักษณะอากาศ ทิศ และความเร็วลม การหาที่อยู่ของไต้ฝุ่นอาจสำรวจได้จากเครื่องมือหลายอย่าง เช่น
-สถานีตรวจอากาศตามเกาะหรือในทะเล
-เครื่องบินตรวจอากาศ
-เรดาร์
-ดาวเทียมตรวจอากาศ
๙.ในปัจจุบันนี้ โดยที่ระบบโทรคมนาคมของการสื่อสารมวลชนดีขึ้นมาก ประชาชนสามารถจะทราบคำเตือนเรื่องพายุไต้ฝุ่นได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประชาชนควรระมัดระวังในเมื่อได้รับคำเตือนเรื่องพายุร้ายแรงและอันตรายจากพายุไต้ฝุ่น เรือในทะเลควรจะหลบหนีออกไปจากบริเวณไต้ฝุ่น เรือในทะเลควรจะหลบหนีออกไปจากบริเวณไต้ฝุ่น


พายุไต้ฝุ่น

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ชีวิตของจักจั่น : ชีววิทยา

ชีวิตของจักจั่น : ชีววิทยา


เปิดอ่าน 36,227 ครั้ง
พายุสุริยะ คืออะไร

พายุสุริยะ คืออะไร


เปิดอ่าน 25,778 ครั้ง
จุดที่เย็นที่สุดในโลก

จุดที่เย็นที่สุดในโลก


เปิดอ่าน 19,603 ครั้ง
สัตว์ในป่าชายเลน

สัตว์ในป่าชายเลน


เปิดอ่าน 185,813 ครั้ง
หนอนคืบ

หนอนคืบ


เปิดอ่าน 12,895 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ลมบกและลมทะเล

ลมบกและลมทะเล

เปิดอ่าน 1,682 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความหมายของรังสี กัมมันตภาพรังสี และธาตุกัมมันตรังสี
ความหมายของรังสี กัมมันตภาพรังสี และธาตุกัมมันตรังสี
เปิดอ่าน 617 ☕ คลิกอ่านเลย

ฝนช่อมะม่วง
ฝนช่อมะม่วง
เปิดอ่าน 24,942 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมเครื่องบินกระดาษจึงบินได้
ทำไมเครื่องบินกระดาษจึงบินได้
เปิดอ่าน 56,979 ☕ คลิกอ่านเลย

ฮือฮา นาซาค้นพบกาแล๊คซี่"ซูเปอร์มัม คอสมิค"แหล่งกำเนิดดวงดาวจำนวนมาก
ฮือฮา นาซาค้นพบกาแล๊คซี่"ซูเปอร์มัม คอสมิค"แหล่งกำเนิดดวงดาวจำนวนมาก
เปิดอ่าน 36,984 ☕ คลิกอ่านเลย

อ.เจษฎา ชี้พระนั่งในน้ำเดือด เป็นแค่กลทางวิทยาศาสตร์
อ.เจษฎา ชี้พระนั่งในน้ำเดือด เป็นแค่กลทางวิทยาศาสตร์
เปิดอ่าน 17,851 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ
ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ
เปิดอ่าน 32,006 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ค่าตัว 2.8 หมื่นบาทต่อเดือน เผย 3 อาชีพที่นายจ้างต้องการแรงงาน
ค่าตัว 2.8 หมื่นบาทต่อเดือน เผย 3 อาชีพที่นายจ้างต้องการแรงงาน
เปิดอ่าน 18,606 ครั้ง

"หมอช้าง" แนะวิธีไหว้เจ้าให้เฮงๆ พร้อมข้อห้ามในวันตรุษจีน
"หมอช้าง" แนะวิธีไหว้เจ้าให้เฮงๆ พร้อมข้อห้ามในวันตรุษจีน
เปิดอ่าน 10,910 ครั้ง

เคล็ดลับลูกน้อย สมองดีมีคุณธรรม
เคล็ดลับลูกน้อย สมองดีมีคุณธรรม
เปิดอ่าน 8,864 ครั้ง

การฝังเข็ม ดีอย่างไร
การฝังเข็ม ดีอย่างไร
เปิดอ่าน 2,992 ครั้ง

ทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน
ทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน
เปิดอ่าน 40,689 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ