ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมTechnology  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ผลวิจัยใหม่พบ "ไวไฟ" อันตรายต่อเด็กกว่าผู้ใหญ่


Technology 23 ม.ค. 2558 เวลา 06:31 น. เปิดอ่าน : 8,485 ครั้ง
ผลวิจัยใหม่พบ "ไวไฟ" อันตรายต่อเด็กกว่าผู้ใหญ่

Advertisement

งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ไมโครสโคปี แอนด์ อัลตราสตรัคเจอร์ ชื่อ "ทำไมเด็กๆ จึงดูดซับการแผ่รังสีไมโครเวฟมากกว่าผู้ใหญ่" ใช้การสำรวจวิจัยงานศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ผลกระทบจากสัญญาณไมโครเวฟจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้ข้อสรุปว่า เด็กๆ และวัยรุ่นมีความเสี่ยงในระดับ "ค่อนข้างมาก" จากการได้รับสัญญาณไมโครเวฟที่กระจายอยู่โดยรอบตัวอุปกรณ์เข้าไปมากกว่าความเสี่ยงของผู้ใหญ่ที่เสี่ยงอันตรายในระดับต่ำกว่าแต่ยังคงเป็นระดับความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อสุขภาพ

งานวิจัยชิ้นดังกล่าวระบุเอาไว้ว่าองค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง(ไออาร์ไอซี)ที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์การอนามัยโลกในสังกัดสหประชาชาติได้จัดให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากคลื่นวิทยุ(อาร์เอฟ/อีเอ็มเอฟ) เป็นหนึ่งใน 250 สาร หรือตัวการที่มีฤทธิ์ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ (คลาส 2บี คาร์ซิโนเจน) ทั้งนี้ แหล่งที่มาหลักของอาร์เอฟ/อีเอมเอฟ ดังกล่าวนี้คือ วิทยุ, โทรทัศน์, เตาไมโครเวฟ, โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ไวไฟทั้งหลาย

ในงานสำรวจวิจัยดังกล่าว ยกตัวอย่างงานวิจัยหลายๆ ชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างการได้รับคลื่น อาร์เอฟ/อีเอ็มเอฟ กับมะเร็งหลายชนิด, การส่งผลให้จำนวนสเปิร์มลดลง และการทำงานผิดปกติของร่างกายอีกหลายอย่าง 

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยใหม่นี้ระบุไว้ชัดเจนว่าผลการศึกษาวิจัยที่นำมาเป็นตัวอย่างนั้นเป็นการศึกษาวิจัยที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมจำเพาะในการวิจัยและเป็นการพิเคราะห์ผลจากกลุ่มตัวอย่างจำเพาะกลุ่มเท่านั้นพร้อมกับตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่าการได้รับการแผ่รังสีคลื่นวิทยุไมโครเวฟที่จะก่อให้เกิดมะเร็งได้นั้นต้องใช้เวลาเกินกว่า30ปีขึ้นไปทำให้ยากที่จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนได้

อย่างไรก็ตามงานวิจัยดังกล่าวสรุปผลและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะไว้ว่าเด็กๆดูดซับปริมาณการแผ่รังสีไมโครเวฟได้มากกว่าผู้ใหญ่ยิ่งเป็นทารกในครรภ์ยิ่งอ่อนไหวต่อคลื่นไมโครเวฟมากกว่าเด็กๆ ดังนั้น สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกในท้องได้สัมผัสกับการแผ่รังสีไมโครเวฟ

ทั้งนี้ เด็กๆ และทารกในครรภ์ดูดซับการแผ่รังสีไมโครเวฟได้มากกว่า เนื่องจากขนาดของร่างกายเล็กกว่าผู้ใหญ่ กะโหลกบางกว่ากะโหลกศีรษะของผู้ใหญ่ และเนื้อเยื่อสมองของเด็กและทารกมีขีดความสามารถในการดูดซับได้สูงกว่าผู้ใหญ่

วัยรุ่นสตรี และสตรีทั่วไปไม่ควรเก็บมือถือไว้ในบราเซีย หรือภายในชุดฮิญาบ, และย้ำว่าอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (ไวไฟ) ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณวิทยุ ไม่ใช่ของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ของเล่นใดๆ ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ควรได้รับการติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด

ผู้วิจัยชี้ว่า ในคู่มือของโทรศัพท์เคลื่อนที่มีคำเตือนเกี่ยวกับเรื่องการสัมผัสการแผ่รังสีนี้ไว้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับที่คำเตือนของรัฐบาลที่มีออกมาอย่างเป็นทางการในเรื่องเดียวกันนี้ก็มีอยู่ แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่กลับไม่รู้เรื่องคำเตือนดังกล่าว

สุดท้าย ผู้วิจัยเชื่อว่าคำเตือนเรื่องการจำกัดการสัมผัสหรือได้รับการแผ่รังสีไมโครเวฟที่มีอยู่ในเวลานี้ยังไม่เพียงพอและจำเป็นต้องมีการทบทวนเสียใหม่อย่างน้อยที่สุดควรเปิดให้มีการถกเถียงศึกษาเพื่อแยกระดับความปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ออกจากระดับความปลอดภัยของเด็กๆ

เนื่องจากระดับจำกัดการสัมผัสที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ไม่มีการปรับปรุงใดๆมานานถึง19ปีแล้ว

 

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

 


ผลวิจัยใหม่พบ "ไวไฟ" อันตรายต่อเด็กกว่าผู้ใหญ่ผลวิจัยใหม่พบไวไฟอันตรายต่อเด็กกว่าผู้ใหญ่

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

อะไร? อยู่ใน Wi-Fi

อะไร? อยู่ใน Wi-Fi


เปิดอ่าน 12,928 ครั้ง
ADSL ทำงานอย่างไร?

ADSL ทำงานอย่างไร?


เปิดอ่าน 14,047 ครั้ง
qr code คืออะไร

qr code คืออะไร


เปิดอ่าน 13,204 ครั้ง
5 เทคโนโลยีสำคัญในปี 2559

5 เทคโนโลยีสำคัญในปี 2559


เปิดอ่าน 10,546 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ไทยมีอัตราการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ต สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก

ไทยมีอัตราการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ต สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก

เปิดอ่าน 6,772 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
นอร์แมน โจเซฟ วู้ดแลนด์ ผู้ร่วมคิดค้น"บาร์โค้ด" เสียชีวิตแล้ว วัย 91 ปี
นอร์แมน โจเซฟ วู้ดแลนด์ ผู้ร่วมคิดค้น"บาร์โค้ด" เสียชีวิตแล้ว วัย 91 ปี
เปิดอ่าน 12,101 ☕ คลิกอ่านเลย

ไทยอันดับ 3 ของเอเชีย ถ่ายเซลฟี่ในรถ
ไทยอันดับ 3 ของเอเชีย ถ่ายเซลฟี่ในรถ
เปิดอ่าน 9,014 ☕ คลิกอ่านเลย

กำเนิด 4 อาชีพใหม่ไอที
กำเนิด 4 อาชีพใหม่ไอที
เปิดอ่าน 26,659 ☕ คลิกอ่านเลย

LINEเพิ่มฟีเจอร์ไอคอนรูปกุญแจในห้องแชท
LINEเพิ่มฟีเจอร์ไอคอนรูปกุญแจในห้องแชท
เปิดอ่าน 13,748 ☕ คลิกอ่านเลย

ไม่ต้องพิมพ์ให้เมื่อยมืออีกต่อไป Google Docs ให้เราพิมพ์ข้อความด้วยการพูดบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ดูวิธีใช้
ไม่ต้องพิมพ์ให้เมื่อยมืออีกต่อไป Google Docs ให้เราพิมพ์ข้อความด้วยการพูดบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ดูวิธีใช้
เปิดอ่าน 43,821 ☕ คลิกอ่านเลย

พัฒนาไปไกล! อังกฤษตั้งทีมวิจัยศึกษา 5G แล้ว
พัฒนาไปไกล! อังกฤษตั้งทีมวิจัยศึกษา 5G แล้ว
เปิดอ่าน 8,797 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ขจัดกลิ่นเหม็น ภายในบ้าน
ขจัดกลิ่นเหม็น ภายในบ้าน
เปิดอ่าน 12,173 ครั้ง

กินแตงโม...ลดความดันเลือด
กินแตงโม...ลดความดันเลือด
เปิดอ่าน 16,656 ครั้ง

ไทยปรับเวลาใหม่ ให้ตรงกันทั่ว ปท. บังคับใช้เริ่ม 23สค.
ไทยปรับเวลาใหม่ ให้ตรงกันทั่ว ปท. บังคับใช้เริ่ม 23สค.
เปิดอ่าน 15,662 ครั้ง

ภัยผิวที่แฝงมากับฤดูฝน
ภัยผิวที่แฝงมากับฤดูฝน
เปิดอ่าน 8,576 ครั้ง

ออกกำลังหนักช่วงสั้นๆ หนีโรคหัวใจได้ดีกว่าออกกำลังระยะยาว
ออกกำลังหนักช่วงสั้นๆ หนีโรคหัวใจได้ดีกว่าออกกำลังระยะยาว
เปิดอ่าน 9,387 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ