ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สสค. VS สมศ.


ข่าวการศึกษา 23 ม.ค. 2558 เวลา 09:25 น. เปิดอ่าน : 8,735 ครั้ง
สสค. VS สมศ.

Advertisement

คอลัมน์ การศึกษา: สสค. VS สมศ.

กมลทิพย์ ใบเงิน
สมศ.จวก สสค.วิจัยผิดพลาด ยันไม่ได้ดึงครูจากห้องเรียน


ข่าวพาดหัวนำ หน้าการศึกษาฯ นสพ.คมชัดลึก เมื่อเช้าวันพุธที่ 21 มกราคม 2558 นั้น สะท้อนถึงการทำปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ ทั้ง สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ.ในความรับผิดชอบของ ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) ในความรับผิดชอบของ นพ.สุภกร บัวสาย ว่ากันว่า ก่อนสิ้นปี 2557 'สสค.' ได้เปิดผลวิจัยอันลือลั่นสั่นสะเทือนไปทั้งวงการศึกษา สรุปใจความได้ว่า งานวิจัยชี้ว่า "ใน 1 ปี มีวันเปิดเรียน 200 วัน ครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมที่ไม่ใช่การสอบถึง 84 วัน คิดเป็นร้อยละ 42 โดยอันดับ 1 ที่ครูใช้เวลามากที่สุด คือการประเมินจากหน่วยงานภายนอก (ประเมิน ร.ร. / ครู / นร.) 43 วัน โดยใช้เวลากับการประเมิน สมศ.มากที่สุด 9 วัน"

ดูเหมือนว่าผลวิจัย สสค. ชิ้นนี้ ทำให้ ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ. นั่งแทบไม่ติดเก้าอี้ พร้อมกับการนัดสื่อมวลชน แถลงข่าวในช่วงเช้าของวันอังคารที่ 20 มกราคม 2558

"ถือเป็นงานวิจัยที่ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เกิดผลกระทบในทางลบ และเกิดการชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก เพราะงานวิจัยชิ้นนี้ดูจากฐานคิดก็ผิดแล้ว เนื่องจาก สมศ.ได้ใช้เวลาในการประเมินสูงสุดเพียง 3 วัน ใน 5 ปี หรือเฉลี่ย 5 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น ดังนั้น สมศ.ไป 1 ครั้งใน 5 ปี และใน 1 ครั้งไปเพียง 3 วัน อยากถามว่า 9 วัน เอาฐานคิดมาจากไหน อีกทั้งตามแผนภูมิในการวัดเป็น 1 ปี แต่ สมศ. 5 ปี ตั้งต้นก็ผิด ก็พลาดแล้ว จะมาบอกว่า สมศ.ใช้เวลาอันดับ 1 ไม่ถูกต้อง

"เมื่อผลวิจัยดังกล่าวเผยแพร่สู่สังคม ก็เป็นการชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก ทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน เมื่อชี้นำผิดแบบนี้ สมศ.ก็ตกเป็นจำเลยสังคมแล้วใครจะรับผิดชอบ ซึ่งงานวิจัยของไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นแบบนี้ และไม่สามารถนำไปใช้ได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ ดังนั้น คุณภาพงานวิจัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก"

ศ.ดร.ชาญณรงค์ อธิบายอีกว่าการประเมินภายนอกของ สมศ.ถ้าวิถีชีวิตครูดำเนินไปตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ หรือข้อปฏิบัติที่ตามต้นสังกัดกำหนดให้ ใครสอนอะไรให้เตรียมการสอนวิชานั้น เพื่อกำหนดว่าสอนอะไร วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ประเมินเด็กอย่างไร วางแผนการสอนเป็นชั่วโมง ประเมินการสอน และนำผลการประเมินนั้นมาพัฒนา เอกสารที่ครูทำก็จะนำไปมาใช้ในการประเมินภายในและประเมินภายนอก สมศ.

"แต่ชีวิตจริงไม่ใช่ ครูไม่ได้ทำ ครูสอนโดยไม่บันทึก ไม่ได้มีแผนการสอน พอ สมศ.ไปประเมิน ครูต้องมาทำเอกสารต่างๆ เพื่อการประเมิน แสดงว่าวิถีชีวิตครูไม่ใช่วิถีชีวิตคุณภาพ สมศ.จึงอยากให้ครูพัฒนาการเรียนการสอน" ศ.ดร.ชาญณรงค์ สะท้อนภาพครูไทย

ขณะที่ ดร.ไกรยศ ภัทรวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. ชี้แจงว่า ผลการวิจัยชิ้นนี้ได้ดำเนินการตามหลักวิชาการ โดยสุ่มตัวอย่างจากครูสอนดีทุกตำบลทั่วประเทศ ซึ่งผลการวิจัยที่ระบุว่าใช้เวลากับการประเมิน สมศ.มากที่สุด 9 วันนั้น มาจากคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียน ที่ครูต้องมีการเตรียมการ เช่น การจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเดินทาง และการพบปะกับเจ้าหน้าที่ว่าต้องใช้เวลากี่วัน ดังนั้น ผลการวิจัยนี้จึงรวมถึงเวลาในการเตรียมการด้วย ไม่ใช่เวลาที่เข้ามาประเมินเพียงอย่างเดียว และคำถามนี้มีครูที่ตอบว่าใช้เวลามากกว่า 9 วัน เป็นจำนวนมาก แต่ สสค.นำมาหาค่าเฉลี่ยจนได้ผลวิจัยที่ 9 วัน

"ผลการวิจัยมาจากเสียงสะท้อนของครูทั่วประเทศ เราจำเป็นต้องฟัง และมาร่วมกันหาคำตอบ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ของครูที่ไม่เคยส่งเสียงมาให้สังคมได้รับทราบเลย ซึ่ง สสค.ไม่สามารถจะมาแก้ตัวเลขที่ครูบอกได้ เรามีแต่ข้อเท็จจริง มีเอกสารเป็นตั้งๆ และไม่ได้มุ่งชี้ผลการวิจัยไปที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ดังนั้น อยากให้ลองลงพื้นที่ไปสอบถามครูดู และความจริงก็จะปรากฏ" ดร.ไกรยศ กล่าว

ดูเหมือนว่า ข้อโต้แย้งระหว่าง 'สสค.' และ 'สมศ.' น่าจะได้บทสรุปที่ลงตัว ผ่านมุมมองของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่า หากมองแบบเป็นกลางจะพบว่าทั้งข้อมูลการวิจัยของ สสค. และประเด็นที่สมศ.ยกขึ้นมาชี้แจงนั้น ไม่ใช่ตัวเลขจริงทั้งหมด แต่เป็นตัวเลขการสำรวจครูบางกลุ่ม ฉะนั้น ต้องยอมรับว่าไม่มีงานวิจัยใดที่สมบูรณ์ จึงไม่ควรเสียเวลาเรื่องวันที่ใช้มากน้อยเพียงใด

"แต่สิ่งสำคัญคือ ความรู้สึกกังวลใจ และความทุกข์ของครูที่เกิดขึ้นจริงผ่านกระบวนการประเมิน สิ่งที่ควรทำคือ การช่วยกันทบทวนการประเมิน เรื่องตัวชี้วัดต่างๆ ว่ามีคุณภาพเพียงพอ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างมีคุณภาพได้ และไม่เป็นภาระให้ครูน่าจะเป็นทางออกร่วมกันที่ สมศ.และทุกฝ่ายที่เข้าไปทำกิจกรรมกับครู"

ผู้เขียนได้แต่หวังว่า ทั้ง 'สสค.และ สมศ.' จะลด ละ 'อัตตา' เพื่อหาทางออกร่วมกัน ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย จะดีขึ้นได้ต้องทำอย่างไรบ้าง เน้อ!!

ที่มา เนชั่นสุดสัปดาห์ 23 January 2015


สสค. VS สมศ.สสค.VSสมศ.

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 1,842 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 3,626 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 2,850 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 315 ☕ 23 เม.ย. 2567

ครูและนักเรียน ใช้ห้องน้ำสะอาดร่วมกันได้ไม่แบ่งแยก เริ่มได้เลย
ครูและนักเรียน ใช้ห้องน้ำสะอาดร่วมกันได้ไม่แบ่งแยก เริ่มได้เลย
เปิดอ่าน 515 ☕ 22 เม.ย. 2567

ปีนี้ "สพฐ."ตรวจเข้มความโปร่งใส สอบรองผอ.ผอ.สถานศึกษา "ห้าม" กวดวิชา รับทำเอกสารทุกกรณี
ปีนี้ "สพฐ."ตรวจเข้มความโปร่งใส สอบรองผอ.ผอ.สถานศึกษา "ห้าม" กวดวิชา รับทำเอกสารทุกกรณี
เปิดอ่าน 440 ☕ 22 เม.ย. 2567

สพฐ.เปิดตัวโครงการ "สุขาดี มีความสุข" จัดงบ 1 หมื่นบาท ให้ รร.เล็กไม่เกิน 80 คน ปรับปรุงซ่อมแซมพร้อมใช้ก่อนเปิดเทอม
สพฐ.เปิดตัวโครงการ "สุขาดี มีความสุข" จัดงบ 1 หมื่นบาท ให้ รร.เล็กไม่เกิน 80 คน ปรับปรุงซ่อมแซมพร้อมใช้ก่อนเปิดเทอม
เปิดอ่าน 503 ☕ 22 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การทำงานของรถจักรไอน้ำ
การทำงานของรถจักรไอน้ำ
เปิดอ่าน 17,797 ครั้ง

โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)
โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)
เปิดอ่าน 26,852 ครั้ง

11 เว็บไซต์เรียนภาษาสุดเจ๋ง ที่คนอยากเก่งอังกฤษไม่ควรพลาด!
11 เว็บไซต์เรียนภาษาสุดเจ๋ง ที่คนอยากเก่งอังกฤษไม่ควรพลาด!
เปิดอ่าน 16,929 ครั้ง

เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน
เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน
เปิดอ่าน 8,665 ครั้ง

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 8,083 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ