ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สพฐ.เล็งทบทวนการใช้ O-Net 50:50 ในปี 58 หลังนักเรียนฟ้องศาลฯ


ข่าวการศึกษา 17 ก.พ. 2558 เวลา 08:45 น. เปิดอ่าน : 4,050 ครั้ง
สพฐ.เล็งทบทวนการใช้ O-Net 50:50 ในปี 58 หลังนักเรียนฟ้องศาลฯ

Advertisement

❝ "กมล" เผย เข้าใจปัญหาการใช้คะแนนโอเน็ตตัดสินการจบช่วงชั้น เล็งทบทวนประกาศ ศธ.ใหม่ แต่จะให้ยกเลิกประกาศในทันทีทำไม่ได้ ❞

สพฐ.เล็งทบทวนO-Net 50:50 หลังนักเรียนฟ้องศาลปกครองขอชะลอ

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยกรณีกลุ่มเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพฯ ยื่นฟ้อง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ และตน ต่อศาลปกครองกลาง กรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ออกประกาศเรื่องการปรับสัดส่วนการใช้ผลแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ลงวันที่ 4 ธ.ค.56 ที่กำหนดให้ใช้ผลการเรียน ที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลคะแนน O-Net ที่จัดโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ในปีการศึกษา 2557 ด้วยสัดส่วน 70:30 ปรับเป็น 50:50 ในปีการศึกษา 2558

โดยผู้ร้องได้ขอให้ รมว.ศึกษาธิการ และเลขาธิการ กพฐ. ยกเลิกประกาศดังกล่าว เนื่องจากข้อสอบที่ สทศ.ออกไม่มีความเป็นกลางทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ จึงขอให้ศาล มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ยังไม่ต้องนำคะแนน O-Net มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ในการพิจารณาการจบช่วงชั้นจนกว่าศาลจะมีคำสั่ง ซึ่งเรื่องนี้ สพฐ.ก็รับฟัง และพร้อมชี้แจงต่อศาลปกครอง และถ้าศาลปกครองมีคำสั่งอย่างไร สพฐ.ก็พร้อมที่จะปฏิบัติ

"คะแนน O-Net ไม่ได้ทำให้เด็กที่อยู่ในโรงเรียนต่างกัน หรือเสียสิทธิ์ เพราะคะแนน O-Net ใช้ในการตัดสินในชั้นเรียนเพื่อให้จบการเรียนแต่ละช่วงชั้นเท่านั้น ซึ่งแข่งขันในกลุ่มนักเรียนด้วยกันในแต่ละพื้นที่ จะไม่เหลื่อมล้ำกันมากนัก ซึ่งเบื้องต้นเราใช้เพียง 30% ในปี 2557 แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มสัดส่วนคะแนนโอเน็ตมาเป็น 50% ในปี 2558 สพฐ.มีความเห็นว่าอาจจะเพิ่มเร็วเกินไป และตอนนี้ก็เตรียมทบทวน ซึ่งโดยส่วนตัวผมก็ไม่เห็นด้วย น่าจะใช้สัดส่วนคะแนนO-Net 30% สัก 2-3 ปีไปก่อน เมื่อลงตัวแล้วค่อยเพิ่มไปทีละสเต็ป ซึ่งก่อนหน้านี้ ที่จะประกาศเพิ่มสัดส่วน O-Net มาใช้ประกอบ 50% ก็มีความคิดเห็นแย้งกันมากพอสมควร"นายกมล กล่าว

ที่มา สยามรัฐ


สพฐ.เล็งทบทวนใช้โอเน็ตจบช่วงชั้น

วันนี้ (16 ก.พ.)ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มนักเรียนเครือข่ายยุวทัศน์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้ออกประกาศเรื่องการปรับสัดส่วนการใช้ผลแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551 เนื่องจากข้อสอบไม่มีความเป็นกลางสร้างความเหลื่อมล้ำ และสร้างความหนักใจให้แก่ผู้เรียน ว่า ตนเข้าใจถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดีและเตรียมที่หารือกับสำนักติดตามและประเมินผลทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เพื่อทบทวนประกาศดังกล่าว ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้อำนาจ รมว.ศึกษาธิการ ส่วนเรื่องข้อสอบที่ไม่มีความเป็นกลางนั้น เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ที่จะไปดำเนินการเรื่องการออกข้อสอบให้มีความเป็นกลางและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า ปีการศึกษา 2557 เป็นปีแรกที่โรงเรียนสังกัด สพฐ. ต้องนำคะแนนโอเน็ต มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของนักเรียนในระดับ ชั้นป.6 ม.3 และ ม.6 ในสัดส่วน 30% ร่วมกับคะแนนผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร หรือ จีพีเอเอ็กซ์สัดส่วน 70% ตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ศธ. และ จะเพิ่มสัดส่วนคะแนนโอเน็ตเป็น 50%ในปีการศึกษา 2558 จึงทำให้นักเรียนตั้งข้อสังเกตและเห็นว่าเป็นการเพิ่มสัดส่วนที่มากเกินไปจนอาจส่งผลให้เป็นภาระแก่ผู้เรียนได้ ซึ่ง สพฐ.ก็เข้าใจถึงปัญหานี้ และพร้อมจะกลับไปพิจารณาใหม่ เพราะตามหลักการแล้วควรจะขยับคะแนนโอเน็ตจาก 30% เป็น 40% ไล่ไปเรื่อย ๆ มากกว่าการก้าวกระโดดจาก 30% เป็น 50%

“หากจะให้ยกเลิกประกาศการใช้คะแนนสอบโอเน็ตในการตัดสินจบช่วงชั้นในทันที คงไม่สามารถทำได้ แต่หากมองตามหลักวิชาการแล้วเรื่องนี้สามารถพูดคุยทำความเข้าใจและปรับแก้ไขกันได้ เพราะการสอบโอเน็ตจะทำให้เรารู้มาตรฐานภาพรวมของประเทศว่าโรงเรียนแต่ละโรงมีผลสัมฤทธิ์สูงหรือต่ำ เพื่อที่ สพฐ.จะได้ปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนต่อไปได้” ดร.กมลกล่าว

 

 

ที่มา เดลินิวส์ วันจันทร์ 16 กุมภาพันธ์ 2558


สพฐ.เล็งทบทวนการใช้ O-Net 50:50 ในปี 58 หลังนักเรียนฟ้องศาลฯสพฐ.เล็งทบทวนการใช้O-Net50:50ในปี58หลังนักเรียนฟ้องศาลฯ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 705 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 520 ☕ 19 เม.ย. 2567

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 862 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 705 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 294 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 623 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,845 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ปวดท้องตรงไหน เป็นอะไรกันแน่
ปวดท้องตรงไหน เป็นอะไรกันแน่
เปิดอ่าน 10,470 ครั้ง

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลผิวหน้าให้สวยสุขภาพดี
เคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลผิวหน้าให้สวยสุขภาพดี
เปิดอ่าน 10,738 ครั้ง

"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้
"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้
เปิดอ่าน 20,104 ครั้ง

สำนวนภาษาอังกฤษ
สำนวนภาษาอังกฤษ
เปิดอ่าน 31,326 ครั้ง

8 วิธีคลายเครียดทันใจ
8 วิธีคลายเครียดทันใจ
เปิดอ่าน 12,510 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ