ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"


บทความการศึกษา 27 เม.ย. 2558 เวลา 05:21 น. เปิดอ่าน : 7,388 ครั้ง
"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"

Advertisement

พูดกันมามากกับวิกฤติ “กับดักรายได้ปานกลาง” (Middle Income Trap) หรือสภาวะที่ไม่มีศักยภาพพอจะขึ้นไปแข่งขันในระดับบน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถลงไปแข่งขันในระดับล่างได้ ซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ “ติดหล่ม” ดังกล่าว เพราะแรงงานไทยมีค่าจ้างสูงขึ้น แต่ยังขาดทักษะชั้นสูงเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และวันนี้วิกฤติดังกล่าวได้เริ่มส่งผลกระทบ
ให้เห็นแล้ว

ล่าสุดกับการเปิดเผย “ดัชนีคุณภาพชีวิตคนไทย” เมื่อ 21 เม.ย. 2558 โดย ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบว่า “ด้านเศรษฐกิจ” เป็นสิ่งที่คนไทยกังวลที่สุด โดยเฉพาะหัวข้อรายได้เพียงพอกับรายจ่าย ได้เพียง 2.85 จาก 5 คะแนน และหัวข้อการเก็บออมเงิน ได้เพียง 2.94 จาก 5 คะแนนเท่านั้น ขณะที่เมื่อไปดูเศรษฐกิจในภาพรวม พบว่าความสามารถในการส่งออกลดลงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ..คือบรรดา “เอสเอ็มอี” หรือธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม

หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป..เราอาจสู้ไม่ได้แม้แต่ “ประเทศเพื่อนบ้าน” ที่กำลัง “เร่งเครื่อง” ตามมาทุกขณะ!!!

ดร.เกียรติอนันต์ย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ต้องไปโทษรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่ต้องโทษทุกรัฐบาล เพราะทั้งๆ ที่เราบอกว่าปฏิรูปการศึกษามากว่า 15 ปีแล้ว แต่วันนี้ปัญหาเดิมๆ กลับยังคงอยู่ นั่นคือเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการทุกครั้งที่ไปสำรวจ มักตอบกลับมาว่า “คิดไม่ได้-ทำไม่เป็น”

หนทางแก้ไข.. ผช.รองอธิการฯ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เสนอแนะไว้ 3 ส่วน ส่วนแรก ว่าด้วยแนวทางการศึกษาของโลกที่เริ่มเปลี่ยนไป ตำราเรียนและการสอนแยกเป็นรายวิชาเริ่มมีความสำคัญน้อยลง แต่จะให้ความสำคัญกับการนำสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาวิเคราะห์ด้วยศาสตร์ต่างๆ มากขึ้น โดยจะไม่สอนแยกเป็นรายวิชา แต่จะกำหนดเหตุการณ์สักเรื่องหนึ่งขึ้น จากนั้นจึงค่อยนำวิชาต่างๆ ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ฯลฯ เข้าไปใส่ในเรื่องนั้นๆ

พร้อมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดตลอดเวลา!!!

“สิงคโปร์ก็เริ่มเปลี่ยนการสอนเป็นแบบนี้แล้ว เช่นคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ เขาพาเด็กไปดูถังน้ำมันแล้วถามว่าทำไมถังน้ำมันถึงกลม แล้วให้เด็กมานั่งคิดกัน แล้วกลับมาห้องทดลองแล้วอัดก๊าซเข้าไปในถังน้ำมันที่เป็นสี่เหลี่ยมและวงกลมด้วยความดันเท่ากัน แล้วบอกว่าอะไรระเบิดก่อนระเบิดหลังให้เด็ก จับเวลาเพื่อสอนให้เด็กนับ นี่เด็กประถมนะครับ เทียบว่าระเบิดเร็วกว่าหรือช้ากว่ากันเท่าไร หรือโอกาสระเบิดก่อนคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ของระเบิดหลัง เด็กก็จะเรียนจากสิ่งที่เป็นจริง ความรู้ที่ได้ก็จะนำไปใช้ได้จริง เพราะเด็กรู้แล้วว่าความรู้มันมีประโยชน์”

ผช.รองอธิการฯ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าว ขณะที่ ส่วนที่สอง สำหรับโรงเรียนเล็กๆ ในพื้นที่ห่างไกลที่ครูไม่ครบทุกวิชา รัฐควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ให้สามารถเรียนทางไกล เชื่อมต่อกับครูเก่งๆ ในพื้นที่เมือง ย่อมดีกว่ายุบโรงเรียน ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้รุนแรงขึ้น เพราะแม้ว่าจะจัดยานพาหนะรับ-ส่งนักเรียนไปยังโรงเรียนใหม่ แต่ต้องไม่ลืมว่าเส้นทางในชนบทมักกันดารเดินทางลำบาก เด็กต้องตื่นเช้าและกลับบ้านเย็นมากขึ้น ประกอบกับผู้ปกครองที่ส่วนใหญ่ฐานะยากจน ก็ยังอยากให้บุตรหลานช่วยงานทางบ้านไปด้วย

“บทบาทของครูในโรงเรียนเล็ก ไม่จำเป็นต้องสอนทุกวิชา แต่เป็นคนที่สามารถทำให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกวิชาด้วยการสอนทางไกล เอาการเรียนรู้ทางไกลเข้ามาเพิ่ม แล้วครูไม่จำเป็นต้องอยู่โรงเรียนทุกวิชาหรือเปล่า? ในบางวิชาบางหัวข้อ อาจมีครูประจำจังหวัดเข้าไปสอนเป็นบางเรื่องบางครั้ง วันนี้โรงเรียนนึง อีกอาทิตย์ไปอีกโรงนึง ใช้ครูกลุ่มเดิมแต่เดินทางแบบหน่วยจรยุทธ์เข้าไปช่วยโรงเรียน” ดร.เกียรติอนันต์ ให้ความเห็น

ส่วนที่สาม ไม่เพียงแต่วัยเรียนเท่านั้นที่ต้องพัฒนา หากต้องเป็นคนไทยทุกคน ซึ่งทักษะสำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้อยู่รอดในยุคนี้ได้คือ “การวิจัย” ที่ไม่ได้หมายถึงการเขียนออกมาเป็นตัวเลขเชิงสถิติอย่างที่ทำกันในทางวิชาการเท่านั้น แต่หมายถึงการสังเกตและวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขชีวิตของตนให้ดีขึ้น

“กระบวนการวิจัยมันอยู่ที่การตั้งคำถามและหาคำตอบ พยายามสังเกตทุกสิ่งรอบตัวแล้วก็ตั้งคำถามว่าจะทำสิ่งเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร? สิ่งที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นเพราะอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างอาหารตามสั่ง เคยสังเกตไหมครับ? ทำไมลูกค้าบางคนบอกไม่ใส่คะน้า? บอกว่าไม่เอาถั่วฝักยาว?

แล้วสังเกตนะครับ ลูกค้ากลุ่มนี้จะต่างจากลูกค้ากลุ่มที่สั่งอะไรก็ได้ เพราะลูกค้ากลุ่มที่ไม่เอาคะน้าไม่เอาถั่วฝักยาว เขาอาจจะได้ข่าวเรื่องสารพิษที่อยู่ในพวกนี้ ก็เลยรักสุขภาพมากกว่า มันอาจเป็นช่องทางให้เราขายของพรีเมียมได้ เช่น ขายข้าวผัดผักเกษตรอินทรีย์ เพิ่มสามบาทห้าบาทเอาไหม? นี่ไงครับ สังเกตและตั้งคำถามแล้วหาคำตอบ มันจะนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นครับ” ผช.รองอธิการฯ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ฝากทิ้งท้าย

SCOOP@NAEWNA.COM

ขอบคุณที่มาจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า

 


"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"ปฏิรูปการศึกษาทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

โอเน็ต!ยัง โอเค?

โอเน็ต!ยัง โอเค?


เปิดอ่าน 9,063 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา

ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา

เปิดอ่าน 18,829 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ครูพันธุ์ควอลิตี้
ครูพันธุ์ควอลิตี้
เปิดอ่าน 8,929 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครูแนวใหม่หวังฉุดการศึกษาไทยให้สูงขึ้น?
หลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครูแนวใหม่หวังฉุดการศึกษาไทยให้สูงขึ้น?
เปิดอ่าน 19,066 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย เป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย
ปฏิรูปการศึกษาไทย เป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย
เปิดอ่าน 15,466 ☕ คลิกอ่านเลย

ตามไปดูต้นแบบความสำเร็จ การปฏิรูปการศึกษา 5 ประเทศ
ตามไปดูต้นแบบความสำเร็จ การปฏิรูปการศึกษา 5 ประเทศ
เปิดอ่าน 15,949 ☕ คลิกอ่านเลย

"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
เปิดอ่าน 12,674 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร
ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร
เปิดอ่าน 13,644 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กรมการขนส่งทางบก   เตรียมนําแผ่นป้ายทะเบียนรถรูปแบบใหม่ออกให้บริการประชาชน หลังจากหมวด ฆฮ เริ่มต.ค.
กรมการขนส่งทางบก เตรียมนําแผ่นป้ายทะเบียนรถรูปแบบใหม่ออกให้บริการประชาชน หลังจากหมวด ฆฮ เริ่มต.ค.
เปิดอ่าน 15,071 ครั้ง

ทำไมเบอร์โทรศัพท์เลข 2 ถึงอ่านว่า "โท"
ทำไมเบอร์โทรศัพท์เลข 2 ถึงอ่านว่า "โท"
เปิดอ่าน 22,094 ครั้ง

ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
เปิดอ่าน 15,762 ครั้ง

ดวงตา กับพัฒนาการของลูกน้อย
ดวงตา กับพัฒนาการของลูกน้อย
เปิดอ่าน 9,374 ครั้ง

คู่มือการปฏิบัติงานการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
คู่มือการปฏิบัติงานการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
เปิดอ่าน 20,560 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ