ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สพฐ.งัดงานวิจัยยัน อปท.ยังไม่พร้อมรับโอนสถานศึกษา


ข่าวการศึกษา 6 พ.ค. 2558 เวลา 17:44 น. เปิดอ่าน : 7,846 ครั้ง
สพฐ.งัดงานวิจัยยัน อปท.ยังไม่พร้อมรับโอนสถานศึกษา

Advertisement

สพฐ.งัดงานวิจัยเข้าข่ม! ยัน อปท.ไม่มีความพร้อมรับโอนสถานศึกษา ย้ำ สพฐ.ต้องเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษา เพราะเป็นหน่วยงานรัฐและมีความรับผิดชอบ ขณะที่ โฆษก สปช.แจงเป็นแค่ข้อเสนอ ยังไม่ใช้ข้อสรุปชัดเจน วอนสังคมอย่าสับสน

วันนี้ (6 พ.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอให้โอนย้ายสถานศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่า ขณะนี้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นกระแสที่ลุกลามไปมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ก็มาการพูดคุยผ่านโปรแกรมไลน์ (Line) และเว็บไซต์ต่างๆของกลุ่มเรียกร้องและเคลื่อนไหวว่าไม่ต้องการไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้ศึกษางานวิจัยเรื่อง ความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ 25 คนและสุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 388 คนและได้สรุปผลการวิจัยว่า อปท. ทั้งหมด 267 แห่งพบว่ามีความพร้อมในการจัดการศึกษา 95 แห่งและไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา 172 แห่ง ขณะที่ผู้ปกครอง นักเรียน ประชาชนในท้องถิ่น บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็มีความเห็นว่า อปท.ไม่มีความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ ด้านวิชาการและด้านการบริหารบุคคล ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับการถ่ายโอนการศึกษา เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าในแง่ผลการวิจัย อปท.ยังไม่มีความพร้อม และสพฐ.มีความเห็นว่า สพฐ.น่าจะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาเหมาะสมกว่า เพราะเราเป็นองค์กรรัฐและทำงานบนความรับผิดชอบ ไม่ว่าการทำงานผลจะออกมาดีหรือไม่ก็ตาม เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้คนอื่นจัดการศึกษาก็ไม่รู้เขาจะรับผิดชอบการศึกษาหรือไม่

“ในมิติของสพฐ.มองว่าการโอนย้ายสถานศึกษาไปสังกัด อปท.ยังไงก็ไม่มีความพร้อม เมื่อมีกระแสออกมาอีก กลุ่มผอ.จึงมีความห่วงใยและออกมาเคลื่อนไหว อีกทั้งกลุ่มนี้เคยมีประสบการณ์ทำงานกับ อปท.เมื่อครั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.)มาก่อนจึง รู้ปัญหาหลายด้าน อาทิ การเปลี่ยนผู้บริหารมีผลต่อนโยบายการทำงาน ความรู้เชิงวิชาการ ซึ่งที่สุดแล้วความรู้ที่ท้องถิ่นมียังสู้หน่วยงานราชการไม่ได้ และปัญหาที่ในอดีตท้องถิ่นให้ครูทำกิจกรรมที่ไม่ใช้การเรียนการสอน ซึ่งครูรู้สึกไม่สบายใจ อีกประเด็นคือครูที่อยู่สังกัดท้องถิ่นไม่สามารถขอโอนย้ายได้ เหมือนกรณีการเป็นครูในส่วนราชการเดียวกัน” นายกมล กล่าว

ด้าน นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอหนึ่ง เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงเปิดรับฟังความคิดเห็น จึงมีกลุ่มบุคคลและผู้เกี่ยวข้องมีข้อเสนอต่างๆ เข้ามามาก ซึ่ง กมธ.การศึกษาฯ ก็พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย แต่เวลานี้ยังไม่มีการสรุปที่ชัดเจน จึงไม่อยากให้สังคมสับสน ทั้งนี้ในส่วนของ กมธ. การศึกษาฯ มองว่าการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่เพียงการกระจายอำนาจจากส่วนกลางเท่านั้น แต่เป็นการกระจายอำนาจลงไปยังพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาคนเก่งทิ้งถิ่น และจัดการศึกษาตามบริบทพื้นที่ แต่ยังคงมาตรฐานกลางไว้ อย่างไรก็ตาม ก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน กมธ.การศึกษาฯ จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งที่ส่งมายัง สปช. และเวทีเสวนาตามจังหวัดต่างๆ และประมวลสรุปต่อไป

 

 

ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤษภาคม 2558

Advertisement

ผอ.เขตพื้นที่ส่งไลน์ต้านถ่ายโอนรร.ให้อปท.

สพฐ.เผยผลวิจัย อปท. 172 แห่ง ไม่พร้อมรับโอนโรงเรียนไปอยู่ในความดูแล และพร้อมเพียงแค่ 95 แห่ง "กมล" ระบุ ผอ.เขตพื้นที่ฯ ส่งไลน์กันแซ่ด หวั่นองค์กรปกครองท้องถิ่นจัดการศึกษาไม่ได้ ด้าน "อมรวิชช์" แจงย้ายถ่ายโอน รร.ไป อปท. ยังเป็นเพียงข้อเสนอ ไม่ใช่ข้อสรุป

นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอให้โอนย้ายสถานศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่ายังเป็นเพียงข้อเสนอหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงเปิดรับฟังความคิดเห็น จึงมีกลุ่มบุคคลและผู้เกี่ยวมีข้อเสนอต่างๆ เข้ามา ซึ่ง กมธ.การศึกษาฯ ก็พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย แต่ยังไม่มีการสรุปที่ชัดเจน จึงไม่อยากให้สังคมสับสน ในส่วนของ กมธ.การศึกษาฯ มองว่าการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่เพียงการกระจายอำนาจจากส่วนกลางเท่านั้น แต่เป็นการกระจายอำนาจลงไปยังพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาคนเก่งทิ้งถิ่น และจัดการศึกษาตามบริบทพื้นที่ แต่ยังคงมาตรฐานกลางไว้ ทั้งนี้ก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน กมธ.การศึกษาฯ จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งที่ส่งมายัง สปช. และเวทีเสวนาตามจังหวัดต่างๆ และประมวล สรุป ทิศทางของข้อเสนอ เพื่อรวบรวมเป็นทิศทางการปฏิรูปการศึกษา

ด้านนายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นกระแสที่ลุกลามไปมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ก็มีการพูดคุยผ่านโปรแกรมไลน์ (Line) และเว็บไซต์ต่างๆ ของกลุ่มเรียกร้องและเคลื่อนไหว ว่าไม่ต้องการไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้ศึกษางานวิจัยเรื่องความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ 25 คน และสุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 388 คน และได้สรุปผลการวิจัยว่า อปท.ทั้งหมด 267 แห่ง พบว่ามีความพร้อมในการจัดการศึกษา 95 แห่ง และไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา 172 แห่ง ขณะที่ผู้ปกครอง นักเรียน ประชาชนในท้องถิ่น บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็มีความเห็นว่า อปท.ไม่มีความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ และด้านการบริหารบุคคล ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับการถ่ายโอนการศึกษา เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าในแง่ผลการวิจัย อปท.ยังไม่มีความพร้อม และ สพฐ.มีความเห็นว่า สพฐ.น่าจะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาเหมาะสมกว่า เพราะเราเป็นองค์กรรัฐและทำงานบนความรับผิดชอบ ไม่ว่าการทำงานผลจะออกมาดีหรือไม่ก็ตาม เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้คนอื่นจัดการศึกษาก็ไม่รู้เขาจะรับผิดชอบการศึกษาหรือไม่

"ในมิติของ สพฐ.มองว่าการโอนย้ายสถานศึกษาไปสังกัด อปท.ยังไงก็ไม่มีความพร้อม เมื่อมีกระแสออกมาอีก กลุ่ม ผอ.จึงมีความห่วงใยและออกมาเคลื่อนไหว อีกทั้งกลุ่มนี้เคยมีประสบการณ์ทำงานกับ อปท. เมื่อครั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) มาก่อน จึงรู้ปัญหาหลายด้าน อาทิ การเปลี่ยนผู้บริหารมีผลต่อนโยบายการทำงาน ความรู้เชิงวิชาการ ซึ่งที่สุดแล้วความรู้ที่ท้องถิ่นมียังสู้หน่วยงานราชการไม่ได้ และปัญหาที่ในอดีตท้องถิ่นให้ครูทำกิจกรรมที่ไม่ใช้การเรียนการสอน ซึ่งครูรู้สึกไม่สบายใจ อีกประเด็นคือ ครูที่อยู่สังกัดท้องถิ่นไม่สามารถขอโอนย้ายได้ เหมือนกรณีการเป็นครูในส่วนราชการเดียวกัน" เลขาฯ กพฐ.กล่าว.

 

 

ที่มา ไทยโพสต์ วันที่ 7 พฤษภาคม 2558

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ฉบับเต็ม ข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ยุบเขตพื้นที่ โอนโรงเรียนให้ท้องถิ่นเต็มรูปแบบ

ครูนัดแต่งดำต้านโอน รร.ให้ท้องถิ่น

ล่ารายชื่อค้านโอนครูให้อปท.


สพฐ.งัดงานวิจัยยัน อปท.ยังไม่พร้อมรับโอนสถานศึกษาโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่นโอนโรงเรียนขนาดเล็กให้ท้องถิ่นค้านโอนโรงเรียนโอนโรงเรียน

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

เปิดอ่าน 7,378 ☕ 1 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 1,891 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 705 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 484 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 6,537 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 5,816 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 478 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ดื่มน้ำอัดลม…ระวังกระดูกพรุน!
ดื่มน้ำอัดลม…ระวังกระดูกพรุน!
เปิดอ่าน 12,721 ครั้ง

‘ครู’กับ‘ศิษย์’ ใกล้ชิดแค่ไหน? จึงจะ‘พอดี’ : โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
‘ครู’กับ‘ศิษย์’ ใกล้ชิดแค่ไหน? จึงจะ‘พอดี’ : โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
เปิดอ่าน 14,645 ครั้ง

เตือนภาชนะจากพลาสติก อันตรายต่อสมอง
เตือนภาชนะจากพลาสติก อันตรายต่อสมอง
เปิดอ่าน 9,693 ครั้ง

ขั้นตอนปลูกแก่นตะวัน ปลูกง่าย โตไว ราคาดี
ขั้นตอนปลูกแก่นตะวัน ปลูกง่าย โตไว ราคาดี
เปิดอ่าน 20,117 ครั้ง

"ผักกูด" ผักที่อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็ก
"ผักกูด" ผักที่อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็ก
เปิดอ่าน 21,574 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ