ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คนคือความท้าทาย


บทความการศึกษา 4 ส.ค. 2558 เวลา 10:06 น. เปิดอ่าน : 7,233 ครั้ง
คนคือความท้าทาย

Advertisement

คนคือความท้าทาย

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการบริหารสลิงชอท กรุ๊ป

การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 แต่งตั้ง ดร.วิรไท สันติประภพ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนที่ 23 ต่อจาก ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ที่กำลังจะหมดวาระลงในเดือนกันยายนนี้ คงไม่ใช่เรื่องที่สร้างความประหลาดใจมากมายนักสำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

แต่สาเหตุที่ประเด็นนี้กลายเป็น Talk of the Town เพราะผู้ว่าการใหม่ท่านนี้มีอายุเพียง 46 ปี มีประวัติการศึกษา และประสบการณ์ทำงานชนิดไม่ธรรมดา ดร.วิรไท ฉายแววความเป็นอัจฉริยะตั้งแต่เด็ก จบปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยวัยเพียง 18 ปี เป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดล จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่ออายุ 24 ปี

เคยทำงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งคนไทยรู้จักดี กลับมาทำงานที่สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง เป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นกรรมการขององค์กรรัฐและเอกชนอีกหลายแห่ง ฯลฯ

ปัจจุบันเป็นหนึ่งในซูเปอร์บอร์ดดูแลรัฐวิสาหกิจ

ต้องยอมรับว่าความเก่งของ ดร.วิรไท อยู่ในขั้นอัจฉริยะเรียกพี่ ประสบการณ์ที่ผ่านมาดูมากกว่าอายุจริงเสียอีก แต่ถึงกระนั้นก็ตามหลายฝ่ายยังคงตั้งคำถามว่า "เด็กไปไหม" สำหรับคนอายุ 40 กว่า ๆ ที่จะก้าวมาเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศ

ฝ่ายสนับสนุนออกมาปกป้องโดยยกตัวอย่างอดีตผู้ว่าการ 2 ท่านที่มีอายุน้อยเช่นกันในวันที่รับตำแหน่ง คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย (ผู้ว่าการคนแรก-อายุ 43 ปี) และ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ผู้ว่าการคนที่ 10-อายุ 39 ปี)

ผมในฐานะประชาชนไทยคนหนึ่ง ไม่กังวลหรอกว่าผู้ว่าการจะมีอายุมากหรือน้อย เพราะเชื่อว่าอายุเป็นเพียงตัวเลข แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือคนที่เก่งขนาดนี้จะมีทักษะในการบริหารจัดการคนขั้นเทพด้วยหรือไม่ เพราะจากประสบการณ์พบว่าอัจฉริยะทางความคิดมักติดปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคน

ผมเคยยกตัวอย่างลูกน้องคนเก่งชื่อเอนก (นามสมมุติ) ให้หลาย ๆ คนฟัง

เอนกเป็นวิศวกรฝีมือดี มีผลงานดีมากติดต่อกันหลายปี เขาคืออัจฉริยะในงานที่ทำชนิดหาตัวจับยาก เมื่อต้นปีที่ผ่านมาจึงได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าทีม ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย แต่เวลาผ่านไปเพียง 6 เดือน ลูกน้อง 3 ใน 8 คนมาขอลาออก อีก 2 คนมาขอย้ายหน่วยงาน

พนักงานส่วนใหญ่ในทีมไม่แฮปปี้เพราะรู้สึกว่าเอนกทำตัวไม่สมกับความเป็นหัวหน้า ทำงานคนเดียว กระจายงานไม่เป็น มีโลกส่วนตัวสูง ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เน้นแต่งานไม่สนใจความรู้สึกและอื่น ๆ อีกมากมาย

สุดท้ายเอนกถูกย้ายไปทำงานในตำแหน่งที่ไม่มีลูกน้อง ด้วยเหตุผลคลาสสิก "เพื่อความเหมาะสม"

แต่เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นเพราะเอนกไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการทีม เขารับไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงตัดสินใจลาออกไปในที่สุด

นับเป็นละครชีวิตน้ำเน่าที่จบลงแบบสุดเศร้า องค์กรต้องสูญเสียวิศวกรเก่งขั้นเทพไปหนึ่งคน พร้อมกับความเสียหายอีกหลายอย่างที่ตามมา เพียงเพราะตัดสินใจเลือกคนที่เก่งงานโดยลืมมองปัจจัยสำคัญเรื่องความเก่งคนไปอย่างน่าเสียดาย

ดร.พอลล์ เฮอร์ซี่ กูรูด้านการบริหารจัดการ เจ้าของทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Leadership) ชื่อก้องโลกเคยเล่าให้ฟังว่า จากสถิติที่เก็บได้ 70% ของผู้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเพราะมีความรู้ในสิ่งที่ทำ และสามารถแสดงผลงานได้อย่างโดดเด่น แต่ 80% ของผู้นำที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือถูกปลดออกจากตำแหน่ง กลับเป็นเพราะเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้ ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ได้ใจผู้ใต้บังคับบัญชา และขาดทักษะในการบริหารจัดการคน

จริงอยู่ ไม่มีใครเก่งไปซะทุกอย่าง ปัญหาคือรู้หรือไม่ว่าตนเองไม่เก่งเรื่องอะไร ? และทราบไหมว่าควรทำอย่างไรกับเรื่องที่ไม่เก่ง ?

Gallup บริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ของโลก ที่ให้ความสนใจกับการใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความสำเร็จ แนะนำแนวทางในการรับมือกับจุดอ่อนไว้ 5 วิธี

หนึ่ง พยายามฝึกฝน และทำให้ดีกว่าเดิมอีกนิด - แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้จุดอ่อนกลายเป็นจุดแข็งได้ แต่หากตั้งใจมุ่งมั่นพร้อมที่จะลงทุนเวลาและแรงกายฝึกฝนอย่างจริงจัง ทักษะเรื่องนั้นจะเพิ่มขึ้น ถึงไม่มากนักแต่ก็ดีกว่าเดิมแน่ ๆ ปัญหาคือมีวินัยกับตัวเองมากพอที่จะทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่เท่านั้น

สอง สร้างระบบหรือใช้เครื่องมือต่าง ๆ มาช่วย - ต้องยอมรับว่าสำหรับบางคนเรื่องบางเรื่องพัฒนาปรับปรุงได้ยากจริง ๆ ไม่ว่าจะพยายามสักเพียงใดก็มองไม่เห็นความคืบหน้า เช่น จุดอ่อนของผมคือการร้องเพลง ไม่ว่าจะพยายามขนาดไหน เรียนมากี่ครูก็ทำไม่ได้อยู่ดี สุดท้ายจึงใช้วิธีเปิดคาราโอเกะแบบมีเสียงแล้วร้องคลอ ๆ ตามไป แม้จะไม่ไพเราะนักแต่ก็ยังฟังคล้าย ๆ เพลงขึ้นบ้าง เป็นต้น

สาม ใช้จุดแข็งที่มีให้มากขึ้นจนคนยอมมองข้ามจุดอ่อน - หากได้อ่านหนังสือสตีฟ จ็อบส์ ที่เขียนโดยวอลเตอร์ ไอแซคสัน จะพบว่า จ็อบส์เป็นอัจฉริยะที่มีจุดอ่อนเรื่องมนุษยสัมพันธ์กับคนอย่างไม่น่าเชื่อ แต่เห็นไหมว่าแทบไม่มีใครพูดถึงข้อด้อยเรื่องนี้ของจ็อบส์เลย เพราะเขาสุดยอดมากในเรื่องที่เก่งจนคนลืมไปว่าเขามีเรื่องที่ไม่เก่งด้วย

สี่ มอบหมายให้คนอื่นที่เก่งกว่าทำแทน - เรื่องบางเรื่องหากทำได้ไม่ดีจริง ๆ คงต้องตัดสินใจยกให้เป็นหน้าที่ของคนที่เก่งและชำนาญกว่าช่วยทำแทน เช่นกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของคนในองค์กร อาจมอบหมายให้ฝ่าย HR ช่วยทำหน้าที่แทนในบางส่วน

ห้า หาคู่หูมาช่วยเสริมจุดด้อย - องค์กรใหญ่ ๆ หลายแห่งในปัจจุบัน ตัดสินใจใช้ระบบซีอีโอคู่ เพราะผู้บริหารแต่ละคนต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนไม่เหมือนกัน จะให้คนใดคนหนึ่งขึ้นเป็นซีอีโอก็กังวลเรื่องจุดอ่อนที่คนนั้นมี สุดท้ายเลยหาทางออกแบบง่าย ๆ ตามโบราณว่า "คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย" เพียงแต่คนที่มีความแตกต่างกันมาก ๆ จะทำงานประสานกันได้ไหม นับเป็นความท้าทายที่ต้องเฝ้าดู

ทั้งหมดที่เล่ามา อย่าเพิ่งมโนไปว่าผมกำลังวิจารณ์ ดร.วิรไท ว่าไม่เก่ง ในทางตรงกันข้ามแม้จะไม่รู้จักท่านเป็นการส่วนตัว แต่มีโอกาสทำงานเฉียดไปเฉียดมาหลายครั้ง และได้ยินผู้ใหญ่ในองค์กรหลายแห่งพูดถึงท่านในแง่ที่ดีมาก

เพียงแต่ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพราะกลัวสังคมจะหลงประเด็นไปสำหรับผู้บริหาร ไม่ว่าจะองค์กรไหนอายุไม่ใช่ปัญหา แต่ความสามารถในการบริหารจัดการคนต่างหากคือความท้าทาย

เพราะฉะนั้น จากนี้เป็นต้นไปไม่ต้องพูดถึงเรื่องอายุน้อย ผู้นำจะประสบความสำเร็จหรือไม่ อยู่ได้หรือเปล่า วัดกันที่ความสามารถซึ่งเวลาเท่านั้นจะให้คำตอบกับเราได้

 

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 31 กรกฎาคม 2558

 


คนคือความท้าทาย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การศึกษาไทย 2.0

การศึกษาไทย 2.0


เปิดอ่าน 12,628 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)


เปิดอ่าน 8,132 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)

โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)

เปิดอ่าน 26,844 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เดินหน้าปฏิรูป การวัดผลการศึกษา 59
เดินหน้าปฏิรูป การวัดผลการศึกษา 59
เปิดอ่าน 15,205 ☕ คลิกอ่านเลย

"ครูเคยโทษตัวเองบ้างหรือไม่ ?" บทความกระแสคัดค้านการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น โดย วีระ สุดสังข์
"ครูเคยโทษตัวเองบ้างหรือไม่ ?" บทความกระแสคัดค้านการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น โดย วีระ สุดสังข์
เปิดอ่าน 21,947 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง
การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง
เปิดอ่าน 18,474 ☕ คลิกอ่านเลย

คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 9,454 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษานับหนึ่งใครเป็นใคร
ปฏิรูปการศึกษานับหนึ่งใครเป็นใคร
เปิดอ่าน 12,148 ☕ คลิกอ่านเลย

เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 9,449 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เตาอบไมโครเวฟ ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ไหม
เตาอบไมโครเวฟ ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ไหม
เปิดอ่าน 12,884 ครั้ง

ปลา สัตว์มงคลนำโชคลาภ
ปลา สัตว์มงคลนำโชคลาภ
เปิดอ่าน 23,068 ครั้ง

กันเกรา
กันเกรา
เปิดอ่าน 19,432 ครั้ง

คำพ่อสอน เรื่อง "การทำงาน" ให้ประสบความสำเร็จ
คำพ่อสอน เรื่อง "การทำงาน" ให้ประสบความสำเร็จ
เปิดอ่าน 19,248 ครั้ง

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว
อย่ากวดวิชาอย่างเดียว
เปิดอ่าน 7,487 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ