ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รายได้ และ ค่าครองชีพ AEC


ความรู้ทั่วไป 4 มี.ค. 2559 เวลา 09:45 น. เปิดอ่าน : 15,554 ครั้ง
รายได้ และ ค่าครองชีพ AEC

Advertisement

โดย ณกฤช เศวตนันท์ Thai.attorney@hotmail.com

นับตั้งแต่ได้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ก็ทำให้เกิดการตื่นตัวในหมู่ประชาชนชาวไทยมากขึ้น ทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเรื่องหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงกันก็คือ เรื่องการย้ายเสรีแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน อันเป็นเป้าหมายหนึ่งของการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน และสิ่งที่เป็นข้อพิจารณาสำคัญในการย้ายแรงงาน

นอกจากต้องการประสบการณ์ใหม่ ๆ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องรายได้อย่างแน่นอน

กลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนในปัจจุบันมีทั้งหมด10 ประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็มีอัตราค่าแรงงานที่แตกต่างกันออกไป โดยบางประเทศก็มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่บางประเทศก็ไม่ได้กำหนดไว้ ซึ่งในปัจจุบันอัตราค่าแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เป็นดังนี้

จากข้อมูลข้างต้นทำให้สามารถแบ่งประเทศอาเซียนออกเป็นกลุ่มตามอัตรารายได้เป็นจำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ได้แก่ ประเทศบรูไนฯ และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Country)และมีอัตราค่าแรงที่สูงกว่าประเทศชาติอาเซียนอื่นมากอย่างเห็นได้ชัด

กล่าวคือ จำนวน 1,800-2,000 บาทต่อคนต่อวัน หรือ 55,000-60,000 บาทต่อเดือน

กลุ่มที่สอง ได้แก่ กลุ่มประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีอัตราค่าแรงใกล้เคียงกัน ในช่วง ระหว่าง 230-300 บาทต่อวัน หรือ 7,000-9,000 บาทต่อเดือน

กลุ่มที่สาม ได้แก่ กลุ่มประเทศเมียนมา เวียดนาม ลาว และกัมพูชา หรือกลุ่มประเทศ CLMV (Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศมีค่าแรงที่มีอัตราน้อยที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่าง 75-110 บาทต่อวัน หรือ 2,230-3,300 บาทต่อเดือน

 

แต่การพิจารณาเฉพาะอัตราค่าแรงดังกล่าวข้างต้นเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถบอกได้ว่าค่าแรงที่ได้รับในแต่ละประเทศนั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าแรงที่ได้รับจากการประกอบอาชีพในประเทศไทยหรือไม่เนื่องจากมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายประการที่ต้องพิจารณาประกอบกัน โดยองค์ประกอบหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่า มีความสัมพันธ์กับค่าแรงงานอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และต้องขอกล่าวถึงในที่นี้ คืออัตราค่าครองชีพ (Cost of Living)

จากการสืบค้นข้อมูลจะพบว่า ประเทศอาเซียนที่มีอัตราค่าครองชีพน้อยกว่าประเทศไทย ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยมีอัตราค่าครองชีพน้อยกว่าประเทศไทย คิดเป็นอัตราร้อยละ 17.20, 15.94, 10.87 และ 9.18 ตามลำดับ ส่วนประเทศอาเซียนที่มีอัตราค่าครองชีพมากกว่าประเทศไทย ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ลาว บรูไนฯ กัมพูชา และเมียนมา โดยมีอัตราค่าครองชีพที่สูงกว่าประเทศไทย คิดเป็นอัตราร้อยละ 67.09, 27.25, 9.26, 5.76 และ 4.61 ตามลำดับ


ที่มาภาพจาก ประชาชาติ

และเมื่อพิจารณาจากอัตราค่าแรงงานประกอบกับอัตราค่าครองชีพแล้วจะเห็นได้ว่า ประเทศที่สามารถให้ค่าตอบแทนแก่แรงงานชาวไทยได้ดีกว่าค่าตอบแทนในประเทศไทยอย่างชัดเจน คือ ประเทศบรูไนฯ เพราะมีค่าแรงสูงและค่าครองชีพไม่ต่างกับประเทศไทยมาก

รองลงมาได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เพราะมีค่าแรงงานที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่มีค่าครองชีพถูกกว่า ขณะเดียวกัน ประเทศสิงคโปร์ แม้ให้ค่าตอบแทนสูง แต่ค่าครองชีพก็สูงตามไปด้วยเช่นกัน ส่วนประเทศอาเซียนชาติอื่นที่เหลือ มีค่าแรงงานที่น้อยกว่าประเทศไทยเห็นได้ชัด และยังมีค่าครองชีพสูงกว่าประเทศไทยเสียด้วยในบางประเทศ

ประเทศใดที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูง ย่อมสามารถดึงดูดแรงงานในชาติอื่นให้เข้ามาทำงานในประเทศตนได้ แต่ในอีกทางหนึ่ง ประเทศที่มีค่าแรงขั้นต่ำน้อย ย่อมดึงดูดนักลงทุนได้เช่นกัน เพราะทำให้ต้นทุนในการลงทุนต่ำกว่าการลงทุนในประเทศที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูง ซึ่งก็เป็นเรื่องในทางนโยบายเรื่องหนึ่งที่รัฐต้องบริหารว่าต้องการให้มีความเคลื่อนไหวทางแรงงานในประเทศของตนอย่างไร 

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 4 มีนาคม 2559


รายได้ และ ค่าครองชีพ AECรายได้และค่าครองชีพAEC

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กระเทียม....เปี่ยมคุณค่า

กระเทียม....เปี่ยมคุณค่า


เปิดอ่าน 16,429 ครั้ง
ตำนานคิวปิด

ตำนานคิวปิด


เปิดอ่าน 22,030 ครั้ง
เจาะนวัตกรรม 4 ล้อ ในปี 2553

เจาะนวัตกรรม 4 ล้อ ในปี 2553


เปิดอ่าน 11,912 ครั้ง
เห็ดหลินจือแดง

เห็ดหลินจือแดง


เปิดอ่าน 11,930 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

น้ำแร่และน้ำเปล่าแตกต่างกันอย่างไร

น้ำแร่และน้ำเปล่าแตกต่างกันอย่างไร

เปิดอ่าน 30,248 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
5 วิธีทำให้รวยเร็ว
5 วิธีทำให้รวยเร็ว
เปิดอ่าน 17,415 ☕ คลิกอ่านเลย

กรมการขนส่งทางบก   เตรียมนําแผ่นป้ายทะเบียนรถรูปแบบใหม่ออกให้บริการประชาชน หลังจากหมวด ฆฮ เริ่มต.ค.
กรมการขนส่งทางบก เตรียมนําแผ่นป้ายทะเบียนรถรูปแบบใหม่ออกให้บริการประชาชน หลังจากหมวด ฆฮ เริ่มต.ค.
เปิดอ่าน 15,082 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับการเรียนเก่งด้วยตัวเอง
เคล็ดลับการเรียนเก่งด้วยตัวเอง
เปิดอ่าน 12,103 ☕ คลิกอ่านเลย

"แป้งพับ"ก๊อปปี้แบรนด์ดังสุดน่ากลัว
"แป้งพับ"ก๊อปปี้แบรนด์ดังสุดน่ากลัว
เปิดอ่าน 13,007 ☕ คลิกอ่านเลย

มั่งคั่งอย่างไร ... ไม่รู้จบ
มั่งคั่งอย่างไร ... ไม่รู้จบ
เปิดอ่าน 12,639 ☕ คลิกอ่านเลย

LCD (Liquid Crystal Display)
LCD (Liquid Crystal Display)
เปิดอ่าน 12,834 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เคล็ดลับ!! เติมพลังใจคนวัยทำงาน
เคล็ดลับ!! เติมพลังใจคนวัยทำงาน
เปิดอ่าน 15,045 ครั้ง

จัดสวนอย่างไร ให้มี "ฮวงจุ้ย" ดี
จัดสวนอย่างไร ให้มี "ฮวงจุ้ย" ดี
เปิดอ่าน 17,885 ครั้ง

ตำนานนางสงกรานต์
ตำนานนางสงกรานต์
เปิดอ่าน 30,185 ครั้ง

เทคนิคการพับกล่องแบบมีฝา จากกระดาษไว้สอนนักเรียนครับ
เทคนิคการพับกล่องแบบมีฝา จากกระดาษไว้สอนนักเรียนครับ
เปิดอ่าน 42,294 ครั้ง

 ฮวงจุ้ยในห้องนอน
ฮวงจุ้ยในห้องนอน
เปิดอ่าน 21,098 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ