ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เดินหน้าปฏิรูป การวัดผลการศึกษา 59


บทความการศึกษา 25 มี.ค. 2559 เวลา 14:16 น. เปิดอ่าน : 15,161 ครั้ง

Advertisement

เดินหน้าปฏิรูป การวัดผลการศึกษา 59

โดย เพชร เหมือนพันธุ์

อาฟเตอร์ช็อก ลูกที่ 4 หลังนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ คือ การปฏิรูปการวัดผลการศึกษา เป็นขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนขั้นสุดท้าย ว่ามีมาตรฐานที่เป็นไปตามความต้องการของตลาดหรือไม่ เป็นเครื่องมือกำหนดวิธีการพัฒนาผู้เรียนด้วย เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ สามารถคัดกรองให้ได้ตัวสินค้าที่มีขนาดได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ผลผลิตที่มีมาตรฐานสูงผ่านการตรวจสอบคุณภาพมีคุณภาพเยี่ยมเท่านั้นที่ลูกค้าต้องการ

หน้าที่ของผู้ผลิตสินค้าคือ ผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานของสินค้า ต้องผ่านการประเมินคุณภาพที่ได้มาตรฐาน มีปริมาณและคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ ส่วนขบวนการผลิตเป็นส่วนของผู้ผลิตจะไปเพิ่มคุณภาพไปลดต้นทุนเป็นเรื่องภายในของหน่วยผู้ผลิตเอง หน้าที่ของผู้บริโภคคือเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพตามรสนิยมของผู้บริโภคเองด้วยราคาที่มีเหตุผลเท่านั้น

ปัญหาของการศึกษาไทย ทำไมเด็กไทยที่เรียนจบ ม.ปลาย หรือจบมหาวิทยาลัยมา (จำนวนหนึ่ง) จึงยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ขาดทักษะที่ตลาดต้องการ เช่น ขาดทักษะการคิดการแก้ปัญหา พึ่งตนเองไม่ได้ สร้างงานให้ตนเองไม่เป็น ไม่สามารถสร้างอาชีพให้กับตนเองได้ ไม่มีความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการ ไม่สู้งานหนัก ไม่อดทน ไม่รับผิดชอบ ตกงานทั้งๆ ที่สถานประกอบการจำนวนมากยังขาดแรงงาน หรือเพราะว่าผลิตภัณฑ์สินค้าไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ไม่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ

ระบบควบคุมคุณภาพ (Quality Control ; QC) คัดกรองสินค้าจุดสุดท้าย ในระบบการศึกษาคือ ระบบการวัดผลประเมินคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ถ้าระบบนี้มันชำรุดเสียหายจนใช้การไม่ได้ ทำให้เด็กที่ไม่มีคุณภาพหลุดลอดตาข่ายเครื่องมือการวัดผลออกมาได้ แล้วอย่างนี้สินค้าทางการศึกษาของไทยจะไปแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศได้อย่างไร เครื่องมือการวัดผลการเรียนรู้มันตกรุ่นล้าสมัย มันชำรุด ควรหาซื้อเครื่องมือวัดผลรุ่นใหม่ได้หรือยัง หรือจะปล่อยไปตามยถากรรมเช่นนี้ แล้วประเทศชาติจะยังอยู่ได้อย่างไร

ธรรมชาติของผู้บริโภค จะเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพที่ออกวางขายในท้องตลาด จะดูที่คุณภาพ จะไม่ตามไปดูถึงขบวนการผลิต อยากได้รถยนต์ไปนั่ง ก็จะไปหาดูว่ารถยนต์ยี่ห้ออะไรที่ตลาดต้องการ รุ่นไหนสวยงาม ปลอดภัย มั่นคงแข็งแรง หรือถ้าอยากได้ปลามารับประทานก็จะไปเลือกซื้อปลาที่ตลาด ไปเลือกเอาชนิด ประเภทที่ตนต้องการ สด สะอาด รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จะไม่ตามไปดูถึงว่า มีวิธีการจับ ใช้เบ็ด ใช้ตาข่าย ใช้เรือประมง หรือมีวิธีการผลิตอย่างไร

ลูกค้าจะตัดสินใจเลือกสินค้าโดยการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ว่าตัวสินค้าที่เขาต้องการนั้น มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่เขาต้องการหรือไม่ ซึ่งมีเกณฑ์ (Criteria) เป็นเครื่องช่วยในการพิจารณาแล้วจึงตัดสินใจ (Decision) เลือกซื้อสินค้านั้นตามความต้องการของตนเอง จะไม่ตามไปดูถึงแหล่งผลิต

การวัดการประเมินผลการศึกษาของไทยแต่เดิมมา เราจะวัดผลหลังเรียน จะเป็นการวัดผลแบบคลาสสิก (Classic) คือการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังจากผ่านการเรียนมาแล้ว เพื่อให้รู้ว่าผู้เรียนมีคุณสมบัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าผ่านเกณฑ์ผู้เรียนก็จะได้รับใบประกาศว่าเรียนจบเนื้อหาตามหลักสูตร มีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ทุกประการ แต่ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็แปลว่าสอบตก ไม่ผ่าน ต้องกลับไปเรียนใหม่หรือให้เรียนซ้ำชั้น

เครื่องมือวัดประเมินผลการเรียนของไทยที่พัฒนามาอย่างยาวนาน มีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการวัดว่าต้องการวัดอะไร เช่น วัดความรู้ ก็ใช้วิธีการตั้งคำถามให้ตอบ วัดความสามารถ ให้ลงมือปฏิบัติการในสิ่งที่เขาได้เรียนมา วัดปฏิภาณไหวพริบความฉลาด ก็ให้แก้ปัญหาหรือสร้างสถานการณ์วิกฤตให้แก้ไข วัดทักษะความชำนาญการ ก็ให้แข่งขันต่อสู้หรือให้แสดงให้ดู วัดพลังกาย ก็ให้ใช้พลังความเข้มแข็งเข้าต่อสู้ ยกดึงลากของหนักให้เห็น วัดความอดทนก็ให้เผชิญสถานการณ์ที่มีสิ่งเร้า เช่น ความหิว ความสวย ความเจ็บปวด ความยั่วยวนใจ วัดความซื่อสัตย์สุจริต วัดศีลธรรม ก็ให้ทดสอบคุณธรรมโดยมอบหมายงานที่มีผลประโยชน์มากมายให้ทำ วัดกิริยามารยาท ก็ดูได้จากการแสดงออกท่าทางที่ปรากฏในสังคม ดังนั้นการวัดประเมินผลต้องเลือกใช้เครื่องมือให้ถูกกับลักษณะพฤติกรรมที่ต้องการวัดเท่านั้น

สถาบันที่มีหน้าที่ในการผลิตคนจึงต้องเป็นผู้กำหนดว่าสิ่งที่ต้องการจะวัดคุณภาพของคนคืออะไร เครื่องมือที่ใช้วัดจะใช้เครื่องมืออะไร เช่น จะใช้การทดสอบ จะตรวจดูผลงานที่ผ่านมา จะใช้การสังเกต จะใช้การสำรวจ จะใช้การประมาณค่า จะใช้การจดบันทึก จะใช้การสัมภาษณ์ จะใช้การสอบถาม จะใช้สังคมมิติ จะให้สอบข้อเขียน หรือจะให้สอบเติมคำ ให้สอบจับคู่ ให้สอบกาถูกผิด ให้สอบเลือกตอบ หรือให้เขียนรายงาน ต้องเลือกใช้เครื่องมือให้ตรงกับคุณสมบัติที่ต้องการวัด

การวัดประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย หากเริ่มนับจากหลักสูตร 2503 การวัดผลการเรียนก็จะใช้การสอบวัดผลปลายปีตัดสินผลการเรียน สอบเป็นรายวิชา คะแนนที่สอบในแต่ละวิชาใช้ค่าร้อยละ ทุกรายวิชาที่เรียนต้องมีผลการสอบ คะแนนสอบต้องได้ตั้งแต่ 50% ขึ้นไปจึงจะผ่านได้เลื่อนชั้น ถ้าสอบตกต้องให้เรียนซ้ำชั้น ในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและระดับวิทยาลัยครู (พ.ศ.2508) ใช้ระบบ Enrollment ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชา การวัดผลการเรียนวัดผลเป็นรายวิชา การวัดผลใช้ระบบแบบอิงกลุ่ม ใช้คะแนน T-Score ตัดสินผลการเรียนออกเป็นระดับ (Grade) คะแนนผลการเรียน แบ่งออกเป็น 5 เกรด คือ ก ข ค ง และ จ หรือ A, B, C, D, และ E หรือ F

การพิจารณาผลการเรียน พิจารณาเป็นรายวิชา ใครได้เกรด จ หรือ E หรือ F ในรายวิชาใด ให้ถือว่าสอบตกในรายวิชานั้น แล้วจะต้องกลับมาเรียนซ้ำใหม่เฉพาะในรายวิชานั้น ให้นับรวมผลการเรียนในทุกรายวิชา ผลการเรียนรายภาค รายปี ให้คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย (Average) ถ้าใครได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 ถือว่าเรียนไม่จบหลักสูตร อาจถูกให้ออก หรือรีไทร์ (Retire) หรือถ้าคะแนนตกไม่ต่ำเกินไปอาจให้กลับมาเรียนซ้ำหรือเรียนเพิ่มบางรายวิชา เพื่อให้มีคะแนนมาครอบ (Cover) เกรดเฉลี่ย เพื่อให้ดึงขึ้นมาถึง 2.00 ให้ได้

หลักสูตร 2521 การศึกษาขั้นพื้นฐาน การวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียนเปลี่ยนเป็นการใช้การวัดผลแบบอิงเกณฑ์ วัดผลการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนจะต้องเรียนให้ครบตามโครงสร้างของหลักสูตรในแต่ละระดับ วิธีตัดสินผลการเรียนใช้การตัดสินเป็นรายวิชา ระดับผลการเรียนจะแบ่งออกเป็นระดับเกรด 5 ระดับ คือ ระดับเกรด 1, 2, 3, 4, 0, ร, มส., ผ., มผ. (ร. มส. ผ. มผ. ไม่ถือว่าเป็นผลการเรียน) เด็กที่จะเรียนจบหลักสูตร ต้องไม่มีเกรดติด ร. มส. และ 0 (ในบางรายวิชา) ตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด การวัดผลปลายภาคเรียน ปลายปีการศึกษาจะเป็นเกณฑ์การจบหลักสูตร ส่วนการวัดผลระหว่างเรียน เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเรียนการสอน ไม่นับเป็นผลการเรียนที่นับเกรดได้ คะแนนเฉลี่ยในการเรียนจบหลักสูตร ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.00 และต้องไม่ ติด ร. มส. และ 0 ในบางรายวิชา

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ระบบนี้มาตั้งแต่มีหลักสูตร 2521 มาจนถึงปัจจุบัน นับเวลาได้ถึง 37 ปี มีปัญหามากที่สุด ปัญหาที่พบคือการสอบวัดผลรายจุดประสงค์ ทั้งจุดประสงค์นำทางจุดประสงค์ระหว่างทางและจุดประสงค์ปลายทาง มีความยุ่งยากวุ่นวายต่อการปฏิบัติ เป็นระเบียบแนวปฏิบัติที่ไร้ประสิทธิภาพ

รูปแบบของเครื่องมือวัดผล จะใช้ข้อทดสอบแบบ ปรนัย เป็นส่วนมากซึ่ง ง่ายต่อการเดาของนักเรียน ง่ายต่อการยกเมฆให้เกรดให้คะแนนของครู ยากต่อการจะติดตามควบคุมตรวจสอบการวัดประเมินผลของครูจากฝ่ายบริหารได้ มีจำนวนเอกสารทะเบียนมีระเบียนการวัดผลอีกมากมาย เช่น ปพ.1 ปพ.2 ปพ.3 ปพ.4 ปพ.5 ปพ.6 ปพ.7 ปพ.8 และ ปพ.9

ปัญหาการสอบแก้ตัวเมื่อเด็กสอบตกเป็นรายวิชา มีปัญหาในด้านการปฏิบัติมาก เด็กที่สอบตก ส่วนหนึ่งจะไม่ยอมไปสอบแก้ตัวตามตารางเวลาที่โรงเรียนกำหนดไว้ พอเรียนไปถึง ชั้นตัวประโยค คือ ม.3 และ ม.6 เด็กที่มีผลการสอบตกรายวิชาสะสมมา 1-3 ปี ก็จะมาเร่งออรอกันขอสอบแก้ตัว เพื่อให้จบหลักสูตรทันเพื่อน ขณะที่มีครูประจำวิชาบางคนก็ย้ายไปที่อื่นแล้วหรือเกษียณไปแล้ว ทำให้การสอบแก้ตัวยุ่งยากมาก ก็เลยเกิดการสอบแก้ 0 ร. มส. โดยการ “ให้พ่อแม่ผู้ปกครองมาสอบแทน ใช้ไก่แลกเกรด ใช้หนังสือแลกเกรด ใช้กระถางต้นไม้แลกเกรด” ครูบางคนต้องหลับหูหลับตาให้คะแนนให้เกรด เพราะถ้าเด็กสอบตกมากครูก็จะมีปัญหา ถูกผู้บริหารเพ่งเล็ง อาการสอบตกแล้วให้เรียนซ้ำจึงชั้นไม่มี เด็กบางคน สามารถสอบ แก้ 0 ร. มส. จำนวนตกสะสม 10-20 ตัว ได้ภายในเวลา 1-2 สัปดาห์

ปัญหานี้รู้กับมายาวนานทั่วประเทศแต่ไม่มีคนแก้ไข จนถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักการศึกษาทั่วโลกว่าการศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤต ครูถูกบังคับให้เด็กสอบแล้วต้องผ่านการประเมินทุกคนโดยที่ผู้บริหารโรงเรียนต้อง หลับตาข้างหนึ่งเพื่อให้ไม่ต้องเห็นจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบกับการให้เกรดให้คะแนนที่ไม่ถูกต้องแบบนี้

โบราณบอกว่า การณ์ใดที่ทำได้ยาก ทำแล้วเกิดผลไม่คุ้มค่า เหนื่อยทั้งผู้สอน เหนื่อยทั้งผู้เรียน ท่านให้เปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น วัดผลการศึกษาเหมือนกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้าย เป็นตัวกำหนดวิธีการผลิต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ปฏิรูประบบการวัดผลการศึกษา ให้ทันในครั้งนี้ 

 

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 25 มีนาคม 2559


เดินหน้าปฏิรูป การวัดผลการศึกษา 59เดินหน้าปฏิรูปการวัดผลการศึกษา59

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา


เปิดอ่าน 16,508 ครั้ง
พระเจ้าแผ่นดิน

พระเจ้าแผ่นดิน


เปิดอ่าน 6,657 ครั้ง
หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้


เปิดอ่าน 9,975 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา

เปิดอ่าน 8,047 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"ครูพันธุ์วิจัย" สร้างเด็กไทยคิดได้ทำเป็น
"ครูพันธุ์วิจัย" สร้างเด็กไทยคิดได้ทำเป็น
เปิดอ่าน 7,787 ☕ คลิกอ่านเลย

ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ
ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ
เปิดอ่าน 18,948 ☕ คลิกอ่านเลย

จบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ...เงินเดือน 25,000 จะทำไหม ?
จบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ...เงินเดือน 25,000 จะทำไหม ?
เปิดอ่าน 10,509 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!
คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!
เปิดอ่าน 7,048 ☕ คลิกอ่านเลย

บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
เปิดอ่าน 8,261 ☕ คลิกอ่านเลย

นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
เปิดอ่าน 2,791 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

พ่อ-แม่เลี้ยงลูกให้เก่งแบบนี้ได้อย่างไร? รายการ ดูให้รู้  ตอน "เจ้าหนูยอดมนุษย์"
พ่อ-แม่เลี้ยงลูกให้เก่งแบบนี้ได้อย่างไร? รายการ ดูให้รู้ ตอน "เจ้าหนูยอดมนุษย์"
เปิดอ่าน 11,089 ครั้ง

มรดกโลกของไทย
มรดกโลกของไทย
เปิดอ่าน 21,661 ครั้ง

การช่างและหมู่บ้านช่าง
การช่างและหมู่บ้านช่าง
เปิดอ่าน 24,165 ครั้ง

ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
เปิดอ่าน 15,699 ครั้ง

หน้ากากอนามัยใส่ให้เป็น
หน้ากากอนามัยใส่ให้เป็น
เปิดอ่าน 9,453 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ