ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ


บทความการศึกษา 5 เม.ย. 2559 เวลา 09:45 น. เปิดอ่าน : 11,863 ครั้ง
ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ

Advertisement

โดย ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ นักวิจัยอาวุโสสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2559 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 10/2559 และ 11/2559 ให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเพิ่มเอกภาพในการบริหารและกระชับสายบังคับบัญชา การปรับโครงสร้างนี้มุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีอยู่จริง แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นที่น่ากังวล เพราะอาจยึดหลักการสั่งการมากกว่าการมีส่วนร่วมและการกระจาย อำนาจซึ่งเป็นแนวทางที่จะทำให้การปฏิรูปการศึกษาประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนมากกว่า

ในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร ได้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค" ซึ่งประกอบไปด้วยรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยและเลขาธิการของกรมทั้ง 5 ในกระทรวง และได้มีการตั้ง "คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด" (กศจ.) และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทำหน้าที่วางแผนการศึกษาจังหวัด โดยดูแลกำกับทั้งสถานศึกษาทุกสังกัด ในระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมปลายและอาชีวศึกษา และทำหน้าที่ทั้งวางแผนนโยบาย วิชาการและบุคลากร แทนที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ในเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต

หากคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารการศึกษาของประเทศก็น่าจะมีเอกภาพมากขึ้น โดยหน่วยงานต่างๆ มองปัญหากว้างขึ้นและประสานงานกัน ซึ่งจะแก้ปัญหาสำคัญหลายประการได้ เช่น ในปัจจุบันมีนักเรียนจำนวนมากที่หลุดออกจากระบบในช่วงรอยต่อของ ป.6 และ ม.1 และ ม.3 ขึ้น ม.4 นอกจากนี้ โรงเรียนสายสามัญบางแห่งยังปิดกั้นการเรียนต่ออาชีวศึกษา เพราะเกรงว่าจะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวลดลง การแก้ไขปัญหาเหล่านี้จะต้องมีระบบติดตามนักเรียนตลอดทาง และต้องเปิดทางเลือกให้แก่นักเรียนเข้าเรียนในสายต่างๆ ตามความสนใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้หากมีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่ดูแลประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา

การจัดสรรครูเป็นอีกปัญหาสำคัญที่จะแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อมีการประสานกันระหว่างหน่วยงาน ปัจจุบันในระดับเขตพื้นที่มีทั้งโรงเรียนที่ครูเกินและครูขาดแคลน อีกทั้งในจังหวัดเดียวกันก็มีทั้งเขตที่ครูเกินและครูขาดแคลน แต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และเขตพื้นที่ไม่สามารถบริหารให้เกิดความสมดุลได้ ส่วนหนึ่งเพราะติดกฎระเบียบ ที่กำหนดให้การย้ายครูระหว่างโรงเรียนในกรณีปกติทำได้เฉพาะกรณีที่ครูสมัครใจ และหากเป็นการย้ายระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา ต้องให้เขตพื้นที่ทั้งสองฝ'ายยินยอม

อย่างไรก็ตาม การสร้างเอกภาพในการบริหารเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง อันที่จริง การจัดตั้ง สพฐ.และเขตพื้นที่การศึกษาเป็นความพยายามสร้างเอกภาพในการบริหารเช่นกัน โดยรวมการบริหารที่เดิมแยกกันระหว่างสำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติและกรมสามัญศึกษาเข้าด้วยกัน ก่อนปี 2553 มีเขตพื้นที่การศึกษาเพียง 185 เขต ซึ่งแต่ละเขตดูแลการศึกษาทั้งระดับประถมและมัธยม แต่สุดท้าย กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาขอแยกเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนหนึ่งเพราะรู้สึกว่าไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในคณะกรรมการและ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่และได้รับการสนับสนุนลดลง

ข้อเป็นห่วงของผู้เขียนคือ การปรับโครงสร้างครั้งนี้อาจลดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของ ผู้มีส่วนได้เสียลง และเน้นการสั่งการจากส่วนกลางมากขึ้น เนื่องจากกรรมการในคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด 20-22 คน มาจากหน่วยงานราชการ 13 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 1-3 คน มีตัวแทนภาคเอกชนและประชาสังคมเพียง 4 คน และมีตัวแทนครูเพียง 2 คน ซึ่งไม่น่าจะสามารถสะท้อนความเห็นที่ครอบคลุมการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงอาชีวศึกษาได้ และไม่มีตัวแทนสมาคมผู้ปกครองเหมือนในคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

กระบวนการการคัดเลือกตัวแทนประชาชนและครูยังไม่มีความชัดเจน โดยคำสั่งฯ กำหนดเพียงให้รัฐมนตรีแต่งตั้งตามความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาฯ ซึ่งมีความเสี่ยงว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งอาจไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของประชาชนและครู ส่วนกลางยังพยายามกระชับสายบังคับบัญชาให้แน่นขึ้น โดยจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง ซึ่งทำหน้าที่รับส่งคำสั่งและนโยบายจากส่วนกลางไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

หากไม่ได้รับฟังปัญหาและความคิดเห็นที่หลากหลาย คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดจะไม่สามารถมองภาพรวมของการศึกษาในจังหวัดและไม่สามารถประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้ และเสี่ยงต่อการทำงานตามโครงการของส่วนกลางมากกว่าตอบโจทย์ของพื้นที่

การที่กระทรวงศึกษาธิการเลือกวิธีกระชับสายบังคับบัญชา อาจเป็นเพราะมองว่าการกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่ได้สร้างกลุ่มผลประโยชน์ขึ้นในพื้นที่ ซึ่งทำให้การบริหารด้อยประสิทธิภาพลง อย่างไรก็ตาม ควรระวังว่าการลดการมีส่วนร่วมของพื้นที่อาจเพิ่มอำนาจให้กลุ่มคนบางกลุ่ม ซึ่งอาจหาผลประโยชน์เสียเองในอนาคต ที่จริงแล้ว สาเหตุหนึ่งของการหาผลประโยชน์คือ ผู้มีอำนาจตัดสินใจไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลการเรียนของนักเรียน

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาปัญหาหลักของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาไม่ใช่มาจากการมีอำนาจมากเกินไป แต่มาจากการไม่มีอำนาจตัดสินใจและงบประมาณเพียงพอ เพราะเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเพียงผู้บริหารและกำกับให้โรงเรียนดำเนินโครงการของส่วนกลาง ทำให้ไม่สามารถคิดและทำโครงการที่ตอบโจทย์ของพื้นที่ได้

การปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลอย่างยั่งยืนควรเกิดจากการกระจายอำนาจตัดสินใจให้โรงเรียนและพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลการเรียนของนักเรียนโดยตรง เช่น ให้โรงเรียนคัดเลือกครูได้เองจากผู้สอบผ่านการทดสอบมาตรฐานกลาง และให้โรงเรียนรับผิดชอบต่อพ่อแม่มากขึ้น โดยเพิ่มบทบาทของพ่อแม่และชุมชนในการบริหารโรงเรียน เช่น ให้มีส่วนร่วมคัดเลือกผู้อำนวยการ ส่วนภาครัฐส่วนกลางและจังหวัดควรเป็นผู้วางมาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำและช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียน

เช่นเดียวกัน การวางแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัดควรต้องเพิ่มตัวแทนของผู้ปกครอง ภาคประชาสังคม และตัวแทนครู เพื่อให้ทิศทางการจัดการศึกษาสอดคล้องกับโจทย์ปัญหาของแต่ละพื้นที่ หรืออย่างน้อยควรรับฟังความเห็นของบุคคลเหล่านั้นก่อนจะดำเนินการในเรื่องใดที่จะมีผลกระทบในวงกว้าง--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 


ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่น

ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่น

เปิดอ่าน 10,692 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
เปิดอ่าน 9,143 ☕ คลิกอ่านเลย

การปฏิรูปการศึกษาไทยให้สำเร็จ ต้องปฏิรูปทั้งระบบ โดย เพชร เหมือนพันธุ์
การปฏิรูปการศึกษาไทยให้สำเร็จ ต้องปฏิรูปทั้งระบบ โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 12,074 ☕ คลิกอ่านเลย

เข้าใจนวัตกรรม การศึกษาฟินแลนด์
เข้าใจนวัตกรรม การศึกษาฟินแลนด์
เปิดอ่าน 7,351 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณครูกับคนดี โดย กล้า สมุทวณิช
คุณครูกับคนดี โดย กล้า สมุทวณิช
เปิดอ่าน 8,175 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
เปิดอ่าน 32,290 ☕ คลิกอ่านเลย

ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
เปิดอ่าน 8,377 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สัตว์ในป่าชายเลน
สัตว์ในป่าชายเลน
เปิดอ่าน 185,726 ครั้ง

สวนแนวตั้งสุดฮิปสไตล์คนรักสับปะรดสี
สวนแนวตั้งสุดฮิปสไตล์คนรักสับปะรดสี
เปิดอ่าน 24,101 ครั้ง

กาแฟเย็นทำให้อ้วน ให้แคลอรีมากเท่ากับข้าวมื้อใดมื้อหนึ่ง
กาแฟเย็นทำให้อ้วน ให้แคลอรีมากเท่ากับข้าวมื้อใดมื้อหนึ่ง
เปิดอ่าน 11,817 ครั้ง

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552
เปิดอ่าน 12,981 ครั้ง

seo คืออะไร? เผยกลยุทธ์และเทคนิคสำคัญให้ติดหน้าแรก google
seo คืออะไร? เผยกลยุทธ์และเทคนิคสำคัญให้ติดหน้าแรก google
เปิดอ่าน 555 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ