ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

มหาลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทย


บทความการศึกษา 19 เม.ย. 2559 เวลา 19:08 น. เปิดอ่าน : 32,139 ครั้ง

Advertisement

มหาลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทย

โดย...ธเนศน์ นุ่นมัน

ขณะที่ประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบันการศึกษา ทั้งของรัฐ ในกำกับรัฐและเอกชนมากถึง 170 แห่ง ตัวเลขการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง หรือแอดมิชชั่น ประจำปีการศึกษา 2558 มีผู้สมัครทั้งสิ้น 1.24 แสนคน ในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดคัดเลือกผ่านระบบนี้รวม 87 สถาบัน เพื่อเข้าศึกษาใน 802 คณะ สาขาวิชา มีรหัสคณะ สาขาวิชาให้เลือกทั้งสิ้น 4,114 รหัส

อย่างไรก็ดี ในปีที่ผ่านมามีผู้ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย จำนวน 91,813 คน จากจำนวนที่ทุกสถาบันเปิดรับทั้งสิ้น 1.51 แสนคน ปีที่ผ่านมามีที่เรียนในสถาบันอุดมศึกษาเหลืออีกเกือบกว่า 3.3 หมื่นที่

แม้ตัวเลขดังกล่าวยังไม่ได้รวมผู้ที่ได้ที่นั่งเรียนจากการสอบรับตรงและรับผ่านเงื่อนไขโควตา แต่ก็ถือเป็นตัวเลขที่สะท้อนว่าผู้เรียนมีน้อยกว่าที่นั่งเรียนแล้ว และกรณีนี้ย่อมทำให้เกิดข้อสงสัยต่อไปอีกว่าจะส่งผลกระทบอะไรตามมาอีกบ้าง

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แจกแจงกรณีดังกล่าวว่า ยุคแรกยังมีมหาวิทยาลัยน้อย และมีจำนวนเด็กที่ต้องการเรียนในอัตราที่สูงกว่า แต่ปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวกลับกัน เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งอัตราการเติบโตของประชากรจะชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจ ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นแทบทุกแห่งในโลก

“ปกติแล้วแต่ละปีหากนำจำนวนตัวเลขผู้เรียนทั้งหมดมาหารโดยเฉลี่ยกับจำนวนสถาบันอุดมศึกษา 170 แห่ง จะได้จำนวนผู้เข้าเรียนใหม่ประมาณปีละ 3,500 คน ขณะที่ตัวเลขผู้เรียนใหม่ต้องอยู่ที่ 4,000-5,000 คน จึงจะถือว่าเป็นตัวเลขที่ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถบริหารจัดการอย่างมีกำไรได้ ตัวเลขที่น้อยลงจึงกลายเป็นโจทย์ให้แต่ละแห่งต้องคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะดึงเด็กให้เข้ามาเรียนได้ เป็นที่มาของการขยายหลักสูตรภาคต่างๆ แข่งกันเพื่อหารายได้ ในแง่นี้มหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ก็จะมีความได้เปรียบในการดึงดูดผู้เรียน” คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม กรณีที่กล่าวมายังกำลังก่อปัญหา ส่งผลให้บางคณะวิชาของสถาบันที่ไม่มีชื่อเสียงพอที่จะดึงดูดผู้เรียน มีที่นั่งเรียนเหลือหรือมีจำนวนต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ จนส่งผลกระทบต่อการจัดสรรทรัพยากรให้กับผู้เรียน โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอน

“ตอนนี้เมื่อเด็กน้อย อาจารย์ผู้สอนในบางแห่งก็เหลือภาระการสอนน้อยลงตามไปด้วย สอนเพียงอาทิตย์ละไม่กี่วัน ปัญหาการจ้างที่ไม่เป็นธรรมก็ตามมา ค่าจ้างได้ตามวัน ไม่ได้จ้างเป็นรายเดือน เพื่อจำกัดรายจ่ายให้ประคองตัวไปให้ได้ ไม่ต้องยุบคณะนั้นๆ ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยรัฐในสาขาที่มีคุณค่าทางวิชาการต่อประเทศ รัฐก็ยังต้องสนับสนุนเงินให้เปิดเรียนต่อไปได้

เรื่องนี้กำลังจะเป็นปัญหาระยะยาว หากไม่ตระหนักต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ในอนาคตอันใกล้จะมีบางมหาวิทยาลัยตายลงหรือปิดตัวอีกมาก รวมถึงกระทบกับเรื่องของคุณภาพที่ไม่สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ แต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้เรียนที่ออกเดินทางไปเรียนต่อในต่างประเทศรวมกัน ประมาณ 38 ล้านคน หากเราไม่พัฒนาด้านคุณภาพก็ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ซึ่งหากดูจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก มหาวิทยาลัยไทยก็ยิ่งต้องตระหนักเรื่องนี้” เกียรติอนันต์ กล่าว

สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า กรณีที่มีผู้เรียนอุดมศึกษาน้อยลง ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสถาบันที่มีชื่อหลายแห่ง แม้แต่บางสาขาวิชาในคณะวิทยาศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็กำลังประสบปัญหามีผู้เรียนต่ำกว่าเป้าที่วางไว้เช่นกัน

ทั้งนี้ แต่ละปีบางสาขา เช่น ฟิสิกส์ ในต่างจังหวัดของบางมหาวิทยาลัยเปิดรับนับร้อยคน แต่มีผู้เข้าเรียนไม่ถึง 20 คน ขณะที่ฟิสิกส์ จุฬาฯ แต่ละปีเรารับได้ประมาณ 50 คน แต่มีคนเข้ามาเรียนประมาณ 20-30 คน เพราะเป็นสาขาที่เด็กไม่ค่อยสมัคร แต่ละปีมีนักเรียนเลือกสาขานี้ประมาณ 100 คน แต่บางคนก็สอบติดที่อื่นไปก่อน เด็กไม่เลือกเรียนสาขานี้เพราะมองไม่ออกว่าจบแล้วจะออกไปทำงานอะไร ไม่เห็นอาชีพที่ชัดเจน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาหลักของคณะวิทยาศาสตร์ทุกแห่ง ไม่เหมือนหมอหรือวิศวกรที่รู้ว่าจบแล้วจะไปทำงานอะไร ยังไม่รวมถึงปัญหาเรียนแค่ปีเดียวก็ต้องออกไปเพราะถูกรีไทร์และสอบแอดมิชชั่นใหม่อีกประมาณ 30%

ศ.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ราชบัณฑิตประเภทวิชาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ทางสารัตถะ กล่าวว่า มีงานวิจัยที่ระบุชัดเจนว่าประเทศไทยมีจำนวนมหาวิทยาลัยเกินจำนวนเด็ก เพราะกฎหมายที่กำกับดูแลเรื่องนี้ส่งเสริมให้เปิด แต่ตอนนี้สถานการณ์นั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก มีเด็กลดลงทุกปี จนกระทบถึงห้องเรียนในหลายแห่งในที่สุด

“โดยความเห็นแล้ว เพื่อแก้ปัญหาบางสาขาไม่มีผู้เรียน อยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏพิจารณาลดสาขาสายสังคมลง กลับไปพัฒนาเรื่องการพัฒนาครูตามพันธกิจเดิม ก็จะผลิตคนได้ตามเป้าหมายมากขึ้น มหาวิทยาลัยไม่ต้องรัดเข็มขัด เพราะจำนวนนักศึกษาลดลง จนงบประมาณที่ได้รับจากรัฐบาลน้อยตามไปด้วย เมื่อบริบททางสังคมเปลี่ยนเราก็ต้องปรับตัว ไม่ใช่หาทางขนคนมาเรียนเพื่อดึงงบประมาณจากรัฐ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด” ศ.สมหวัง กล่าว  

 

ที่มา โพสต์ทูเดย์ วันที่ 19 เมษายน 2559


มหาลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทยมหาลัยล้นห้องเรียนร้างวิกฤตอุดมศึกษาไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง

บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง

เปิดอ่าน 18,337 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
รื้อระบบ - แก้ยกแผงดันมหาวิทยาลัยไทยสู่ระดับโลก
รื้อระบบ - แก้ยกแผงดันมหาวิทยาลัยไทยสู่ระดับโลก
เปิดอ่าน 7,486 ☕ คลิกอ่านเลย

เฉลยข้อสอบผิด! บทเรียนในอดีต และปัจจุบัน
เฉลยข้อสอบผิด! บทเรียนในอดีต และปัจจุบัน
เปิดอ่าน 22,559 ☕ คลิกอ่านเลย

ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่น
ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่น
เปิดอ่าน 10,694 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?
ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?
เปิดอ่าน 11,898 ☕ คลิกอ่านเลย

‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
เปิดอ่าน 11,637 ☕ คลิกอ่านเลย

เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน
เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน
เปิดอ่าน 8,661 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คำศัพท์ที่มีการใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ 500 อันดับแรก
คำศัพท์ที่มีการใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ 500 อันดับแรก
เปิดอ่าน 380,376 ครั้ง

ห้องสมุดในมัสยิด อีกย่างก้าวของความรู้
ห้องสมุดในมัสยิด อีกย่างก้าวของความรู้
เปิดอ่าน 9,509 ครั้ง

สายตาสั้น
สายตาสั้น
เปิดอ่าน 16,663 ครั้ง

ไฟล์ภาพ"GIF" อ่านว่า "จิฟ" ไม่ใช่"กิฟ!"
ไฟล์ภาพ"GIF" อ่านว่า "จิฟ" ไม่ใช่"กิฟ!"
เปิดอ่าน 14,820 ครั้ง

คำอธิบายการหาคะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ตามแบบ ก.ค.ศ.3/1
คำอธิบายการหาคะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ตามแบบ ก.ค.ศ.3/1
เปิดอ่าน 220,005 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ