ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ปลาไทย" โอเมก้าสูง กิน "เป็น" แล้ว "ดี"


สุขศึกษาและพลศึกษา 30 มิ.ย. 2559 เวลา 19:24 น. เปิดอ่าน : 22,902 ครั้ง
"ปลาไทย" โอเมก้าสูง กิน "เป็น" แล้ว "ดี"

Advertisement

ได้รับความสนใจไม่น้อย หลังมีการเปิดเผยทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพและนิยมบริโภคปลาโดยเฉพาะปลาแซลมอนสัตว์ทะเลน้ำลึกที่มีสารโอเมก้า 3 ค่อนข้างสูง แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย

แต่สำหรับคนปัจจัยน้อยก็มีทางเลือกใกล้ๆ ตัว คือปลาน้ำจืด อย่างปลาสวาย มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ทั้งโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6

แต่หลายคนไม่นิยมบริโภคปลาสวาย แต่ใช่ว่าจะหมดหนทาง สำหรับคนรักปลาที่นิยมบริโภคในราคาไม่สูงนัก

รศ.ครรชิต จุดประสงค์ จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทำวิจัยเรื่อง “ปริมาณไขมันทั้งหมด กรดโอเมก้า 6 และกรดโอเมก้า 3 ในปลาทะเลและปลาน้ำจืดของไทย” ให้ข้อมูลว่าจากการศึกษาทำให้ทราบว่าทั้งปลาน้ำจืดและปลาทะเลของไทยก็ล้วนมีโอเมก้าไม่แพ้กัน เพียงแต่ปลาน้ำจืดต้องเป็นปลาเลี้ยงเท่านั้น เนื่องจากโดยทั่วไปกรดไขมันไม่อิ่มตัว อย่างโอเมก้า 3 และ 6 จะพบเฉพาะในปลาทะเลน้ำลึกอย่างแซลมอน เพราะจะสร้างและสะสมไขมันจากการกินแพลงตอนทะเล ดังนั้นในปลาน้ำจืดจึงไม่พบเลย

“แต่ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดเพื่อการค้า จึงทำให้อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา มักเป็นส่วนที่เหลือจากผลิตจากโรงงานปลากระป๋อง ทำให้อาหารปลามีโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ด้วย ไขมันที่อยู่ในปลาเลี้ยงจึงมีแหล่งของกรดไขมันเหล่านี้ด้วย เช่นเดียวกันที่ได้จากการกินแซลมอน ซึ่งมีราคาแพง ดังนั้นปลาไทยจึงนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ” รศ.ครรชิตระบุ

พร้อมเปรียบเทียบปริมาณไขมันของปลาน้ำจืด พบว่าปลาดุกมีกรดไขมันทั้งหมด 14.7 กรัม เป็นปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิดโอเมก้า 6 อยู่ที่ 1.94 กรัม และโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.46 กรัม ปลาสวายมีไขมันทั้งหมด 8.9 กรัม เป็นโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.60 กรัม เป็นโอเมก้า 3 ที่ 0.45 กรัม

ปลาช่อนมีไขมันทั้งหมด 8.5 กรัม เป็นโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.77 กรัม และโอเมก้า 3 ที่ 0.44 กรัม ปลาสลิดมีไขมันทั้งหมด 5.9 กรัม เป็นโอเมก้า 6 ที่ 0.19 กรัม เป็นโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.36 กรัม ปลาตะเพียนมีไขมันทั้งหมด 7.4 กรัม เป็นโอเมก้า 6 อยู่ที่ 1.11 กรัม และโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.24 กรัม

ปลากรายมีไขมันทั้งหมด 1.2 กรัม เป็นโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.04 กรัม และโอเมก้า 3 ที่ 0.14 กรัม ปลานิลมีไขมันทั้งหมด 1.8 กรัม มีโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.10 กรัม และโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.12 กรัม และปลาไหลมีไขมันทั้งหมด 0.6 กรัม ไม่มีโอเมก้า 6 แต่มีโอเมก้า 3 อยู่เพียง 0.02 กรัม

ขณะที่ในปลาทะเลไทยพบกรดไขมันไม่อิ่มตัวด้วย ทั้งปลาจาระเม็ดขาวมีไขมันทั้งหมด 6.8 กรัม มีปริมาณโอเมก้า 6 ที่ 0.03 กรัม และโอเมก้า 3 ที่ 0.84 กรัม ปลาสำลีมีไขมันทั้งหมด 9.2 กรัม ไม่มีโอเมก้า 6 มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.47 กรัม ปลากะพงขาวมีไขมัน 3.2 กรัม ไม่มีโอเมก้า 6 มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.40

ปลาอินทรีมีไขมันทั้งหมด 3.2 กรัม ไม่มีโอเมก้า 6 มีโอเมก้า 3 ที่ 0.33 กรัม ปลาทูมีไขมันทั้งหมด 3.8 กรัม มีโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.06 กรัม มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.22 กรัม ปลาทูนึ่งมีไขมันทั้งหมด 3.0 กรัม มีโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.03 กรัม มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.18 กรัม

ปลาจาระเม็ดดำมีไขมันทั้งหมด 3.6 กรัม มีแต่โอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.16 กรัม ปลากะพงแดงมีไขมัน 0.5 กรัม มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.10 กรัม และปลาเก๋ามีไขมันทั้งหมด 0.6 กรัม มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.08 กรัม

“แม้ปลาน้ำจืดจะมีโอเมก้าสูง แต่ไขมันในภาพรวมก็สูงด้วย ดังนั้นการกินปลาเหล่านี้ก็ต้องกินอย่างพอเหมาะ ทำให้สุกด้วยวิธีนึ่งหรือต้ม เพราะเราจะไม่ได้แค่โอเมก้า แต่ถ้านำไปทอดจะทำให้ได้ไขมันเพิ่มขึ้นด้วย จึงต้องเลือกวิธีปรุงให้ถูกต้อง เพราะโอเมก้า 3 สูญสลายไปได้ง่ายหากผ่านความร้อนสูง จึงควรเลือกวิธีปรุงประเภทต้ม แกง หรือนึ่ง จะได้ประโยชน์ที่สุด การผัดยังพอใช้ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการทอด เพราะผ่านความร้อนสูงเกินไป ทำให้ได้รับปริมาณไขมันมากเกินไป” รศ.ครรชิตระบุ

พร้อมอธิบายอีกว่าโอเมก้า 3 ที่พบมาก ตัวกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่น่าสนใจคือดีเอชเอ (โดโคซาเฮกซาอีโนอิก) และอีพีเอ (ไอโคซาเพนตะอีโนอิก) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่สร้างผนังเซลล์ของร่างกาย มีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ และช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน ช่วยในเรื่องของเซลล์สมอง จึงมีส่วนในการเจริญเติบโตและการพัฒนาสมองของเด็ก

แต่โอเมก้า 6 จะเป็นกรดไขมันที่ทำงานตรงข้ามกับของกรดไขมันโอเมก้า 3 คือ จะช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น กรดไขมันทั้งสองชนิดจึงเป็นการทำงานตรงข้ามและถ่วงดุลกันนั่นเอง ควรกินกรดไขมันทั้ง 2 กลุ่ม ให้สมดุลกัน ซึ่งร่างกายต้องการกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 3:1 จนถึง 5:1 จะเห็นว่าปลาน้ำจืดมีอัตราส่วนที่เหมาะสมกว่าปลาทะเล

ขณะที่ พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่าหลักโภชนาการ แม้ปลาแซลมอนหรือปลาน้ำจืด ปลาทะเลชนิดใดก็ตาม การรับประทานไม่ใช่ว่าจะโหมกินจนเกินพอดี เนื่องจากถึงจะมีโอเมก้าสูง แต่อย่าลืมว่ามีไขมันอิ่มตัวอีกมากเช่นกัน อย่างในปลาน้ำจืด เนื้อปลา 100 กรัม จะมีไขมันประมาณ 1-3 กรัม ขณะที่เนื้อปลาทะเล 100 กรัม จะมีไขมันเฉลี่ยที่ 2-4 กรัม ประกอบกับร่างกายของคนไม่ได้ต้องการแค่โอเมก้า 3 แต่ยังต้องการโอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 เพื่อให้การทำงานสมดุลขึ้น เมื่อเรารับโอเมก้า 3 และ 6 ร่างกายจะสร้างโอเมก้า 9 ขึ้นมาเอง หากรับไขมันเหล่านี้มากๆ ก็ไม่ส่งผลดีต่อร่างกายในแง่การรับไขมันในสัดส่วนผิดปกติเกินไป ทางที่ดีที่สุดกินอย่างพอดี และกินอย่างหลากหลาย

พญ.นภาพรรณแสดงความเป็นห่วงที่หลายคนเข้าใจผิดแล้วหันไปกินไขมันจากปลาเหล่านี้อย่างเดียว คิดว่าจะได้รับโอเมก้าอย่างพอเพียง จึงอธิบายว่าสิ่งที่กินเข้าไปจะไม่ได้รับแค่โอเมก้าเท่านั้น แต่รับไขมันอื่นๆ ด้วย ทางที่ดีควรเลือกรับประทาน อย่างปลาก็หันไปบริโภคพวกเนื้อปลา แทนจะกินบริเวณพุง ซึ่งมีไขมันสูง

“หลักโภชนาการไม่ได้แนะนำว่าต้องกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ให้กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพในสัดส่วนเหมาะสม และต้องกินอย่างหลากหลาย ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เป็นต้น คนที่ไม่ชอบกินปลาสามารถไปกินอย่างอื่นทดแทน อาทิ ไข่แดง ถั่ว ก็มีโอเมก้า 3 เช่นกัน แต่คนมักแย้งว่ากินไข่แดงจะทำให้คอเลสเตอรอลสูง ต้องกินอย่างพอเหมาะ ง่ายๆ หลักการมีสุขภาพที่ดีในทางโภชนาการให้ยึดหลัก 3 อ. คือ อาหารดี ออกกำลังกายเหมาะสม และปรับอารมณ์” พญ.นภาพรรณกล่าวทิ้งท้าย

 

ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก มติชนออนไลน์ วันที่: 30 มิ.ย. 59 เวลา: 12:00 น.

 

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

"ปลาไทย" โอเมก้าสูง กิน "เป็น" แล้ว "ดี"ปลาไทยโอเมก้าสูงกินเป็นแล้วดี

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ยาจำพวกซัลฟา

ยาจำพวกซัลฟา


เปิดอ่าน 50,411 ครั้ง
"พรมมิ" วัชพืชบำรุงสมอง

"พรมมิ" วัชพืชบำรุงสมอง


เปิดอ่าน 14,514 ครั้ง
ระบบเลือดไหลเวียน

ระบบเลือดไหลเวียน


เปิดอ่าน 29,586 ครั้ง
กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ

กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ


เปิดอ่าน 42,063 ครั้ง
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"

สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"


เปิดอ่าน 32,160 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

โปรตีนสำหรับนักกีฬา

โปรตีนสำหรับนักกีฬา

เปิดอ่าน 17,724 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
อุปกรณ์ในการจัดการแข่งขันฟุตซอล
อุปกรณ์ในการจัดการแข่งขันฟุตซอล
เปิดอ่าน 91,445 ☕ คลิกอ่านเลย

การเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะในเด็กเล็ก
การเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะในเด็กเล็ก
เปิดอ่าน 45,590 ☕ คลิกอ่านเลย

กินหวานอย่างไรไม่อันตราย
กินหวานอย่างไรไม่อันตราย
เปิดอ่าน 18,798 ☕ คลิกอ่านเลย

เหงื่อบอกโรค
เหงื่อบอกโรค
เปิดอ่าน 19,018 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธียืดเส้นก่อนออกกำลังกาย
วิธียืดเส้นก่อนออกกำลังกาย
เปิดอ่าน 28,134 ☕ คลิกอ่านเลย

ยาธาตุ(กลิ่นซินนามอน) แก้ท้องอืด ปรุงเองได้...ง่ายนิดเดียว
ยาธาตุ(กลิ่นซินนามอน) แก้ท้องอืด ปรุงเองได้...ง่ายนิดเดียว
เปิดอ่าน 16,268 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ยืมเงินไม่คืน แจ้งความได้หรือไม่ ?
ยืมเงินไม่คืน แจ้งความได้หรือไม่ ?
เปิดอ่าน 874 ครั้ง

ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2555
ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2555
เปิดอ่าน 25,481 ครั้ง

7 ขั้นตอนก้าวเปลี่ยนชีวิตสู่ความสำเร็จในอาชีพการงาน
7 ขั้นตอนก้าวเปลี่ยนชีวิตสู่ความสำเร็จในอาชีพการงาน
เปิดอ่าน 12,540 ครั้ง

คลิปเด็กฝรั่งท่อง ก.ไก่จนจบ น่ารักมากครับ
คลิปเด็กฝรั่งท่อง ก.ไก่จนจบ น่ารักมากครับ
เปิดอ่าน 55,462 ครั้ง

เย็นกายเย็นใจเมื่อตั้งครรภ์
เย็นกายเย็นใจเมื่อตั้งครรภ์
เปิดอ่าน 12,975 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ