ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?


บทความการศึกษา 6 ก.ย. 2559 เวลา 08:39 น. เปิดอ่าน : 11,898 ครั้ง

Advertisement

ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?

เคลียริ่งเฮาส์

คำใหม่สำหรับแวดวงการศึกษาไทย แต่ส่งผลกระทบในวงกว้างกับกลุ่มนักเรียน ครู อาจารย์ นักวิชาการ หลายแสนชีวิต โดยเฉพาะนักเรียนชั้น ม.5 ปีการศึกษา 2559 และมีเป้าหมายในชีวิตที่จะมุ่งศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย


ขอบคุณภาพจากไทยรัฐ
 

และกลายเป็นประเด็นร้อนของสังคม ทันทีที่เลิกประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา และมติถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ที่ประชุมที่มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ นั่งเป็นประธาน ร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.), สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2559 ที่กระทรวงศึกษาธิการ

โดย ปีการศึกษา 2561 เป็นปีที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ ตั้งเป้าให้มหาวิทยาลัยทุกกลุ่มปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้หลักการ คือ

1.เด็กไม่ต้องวิ่งรอกสอบ
2.ลดปัญหาค่าใช้จ่าย
3.ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
4 .เด็กมีความสุขในการเรียนในห้องเรียน
5.มหาวิทยาลัย/คณะ ได้ผู้เรียนที่มีศักยภาพตามที่ต้องการ

โดยจะให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งรับนักศึกษาในระบบรับตรงร่วมกัน ใช้ข้อสอบกลางร่วมกัน ได้แก่ แบบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT, แบบวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT และวิชาสามัญ 9 วิชา โดยนักเรียนนำคะแนนที่ได้ไปยื่นสมัครในคณะที่ต้องการ เมื่อนักเรียนยืนยันสิทธิก็นำรายชื่อมาเคลียริ่งเฮาส์ 2 รอบ ซึ่งคาดการณ์ว่ามหาวิทยาลัยจะสามารถรับนิสิตนักศึกษาไปแล้วกว่า 90%


นั่นหมายถึง ระบบการคัดเลือกแบบแอดมิชชั่นกลาง ก็ถูกยุบเลิกไปโดยปริยาย

“ทีมการศึกษา” ขอย้อนรอยเพื่อฉายภาพระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

1.ระบบเอ็นทรานซ์ เป็นระบบการสอบคัดเลือกรวมของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยนักเรียนสมัครและเลือกคณะที่ต้องการ จากนั้นจึงเข้าไปสอบวัดความรู้เพียงครั้งเดียว แล้วรอฟังผลสอบว่า เอ็นติด หรือ เอ็นไม่ติด เป็นการวัดผล แบบแพ้
คัดออก จุดเด่นของระบบนี้คือ ได้รับความเชื่อถือจากสังคมว่าเป็นระบบที่มีความยุติธรรม เท่าเทียม เพราะสอบครั้งเดียวเหมือนกันและพร้อมกันทุกคน ผลการตัดสินได้รับการยอมรับ มีเรื่องร้องเรียนน้อย

ส่วนจุดด้อยของระบบนี้คือ นักเรียนจะสนใจเรียนเฉพาะวิชาที่ใช้สอบเอ็น-ทรานซ์เท่านั้น ทั้งการเลือกคณะก็ทำโดยที่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตนเองถนัดด้านใด ซึ่งพบปัญหาผู้เรียนสละสิทธิ์ หรือถูกรีไทร์ เพราะเรียนไม่ไหว อีกทั้งขณะที่ใช้ระบบเอ็นทรานซ์ก็เปิดโอกาสให้นักเรียนในระบบโรงเรียนสอบเทียบ หากผ่านและสอบเอ็นทรานซ์ติด ก็สามารถเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยตั้งแต่ชั้น ม.4 หรือ ม.5 ส่งผลให้บางสาขาวิชาได้ผู้เรียนที่ขาดวุฒิภาวะ ส่วนโรงเรียนดังบางแห่งเหลือนักเรียน ม.6 ไม่ครบชั้น ทำให้ชั้นเรียนเกิดปัญหา

2.ระบบแอดมิชชั่น ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ การนำผลการเรียนในระดับมัธยมปลายของเด็ก ได้แก่ คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต และคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือจีแพกซ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย รวมกับคะแนนสอบจากข้อสอบกลางที่วัดศักยภาพผู้เรียนร่วมกับข้อสอบวัดความรู้ทางวิชาการ เพื่อให้การเรียนระดับมัธยมเชื่อมโยงกับการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ระบบนี้มีจุดเด่นคือ เปิดโอกาสให้เด็กได้สอบ 2 ครั้ง และเด็กจะทราบคะแนนสอบก่อน แล้วจึงเลือกคณะที่เหมาะสมกับความสามารถหรือคะแนนสอบ และการใช้คะแนนโอเน็ตและจีแพกซ์ ก็เพื่อแก้ปัญหาเด็กทิ้งห้องเรียน

ส่วนจุดด้อยของระบบคือ เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณภาพของโรงเรียนที่ไม่เท่ากัน การปล่อยเกรด รวมไปถึงมาตรฐานของข้อสอบแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ นอกจากนี้ คณะต่างๆก็ยังระบุว่า ได้คนไม่ตรงตามที่ต้องการทำให้มหาวิทยาลัยหันไปเปิดรับตรงมากขึ้น

3.ระบบรับตรง เป็นระบบที่คณะ/มหาวิทยาลัยจัดกระบวนการสอบคัดเลือกด้วยตนเองทั้งหมด ตั้งแต่การกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งคณะเชื่อว่าจะได้คนที่มีศักยภาพตามสาขาวิชาชีพนั้น ขั้นตอนการรับสมัคร ค่าสมัคร วัน เวลา สถานที่ และออกข้อสอบด้วยตนเอง จุดเด่นของระบบนี้คือ คณะได้คนตามเกณฑ์ที่กำหนด และระบบโควตารับตรงในแต่ละพื้นที่ก็เป็นการให้โอกาสเด็กนักเรียนในพื้นที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยในภูมิภาคนั้นๆ

ส่วนจุดอ่อนของระบบคือ การเปิดรับตรงทำได้ตลอดทั้งปี ซึ่งบางแห่งเปิดรับตั้งแต่นักเรียนยังเรียน ม.5 เกิดปัญหาเด็กทิ้งห้องเรียน เด็กวิ่งรอกสอบตามเวลาที่แต่ละคณะกำหนด เสียค่าใช้จ่ายสูง สร้างความเหลื่อมล้ำเนื่องจากเด็กที่มีฐานะดีจะมีกำลังทรัพย์ที่สมัครสอบตรงได้หลายแห่ง มากกว่าเด็กที่มีฐานะยากจน


จากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และดูเหมือนว่าระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาระบบสอบคัดเลือกเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาได้ ส่งผลให้มีความพยายามที่จะหาระบบที่ดีที่สุดมาใช้ และทันทีที่เจ้ากระทรวงคุณครู ประกาศนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจนว่า จะจัดระเบียบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยเริ่มปีการศึกษา 2561 ทปอ.ก็ได้เรียกประชุมด่วน เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ในวันที่ 1 ก.ย.2559 ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ระบบการสอบคัดเลือกตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 จะมี 3 ระบบ คือ 1.ระบบโควตา ที่ต้องไม่ใช่การสอบ เช่น โควตานักกีฬา เด็กโอลิมปิกวิชาการ ซึ่งรับได้ตลอดทั้งปี 2.ระบบเคลียริ่งเฮาส์ ซึ่งจะเปิดรับ 2 ครั้ง โดยใช้ข้อสอบกลาง แต่สอบเพียง 1 ครั้ง 3.ระบบรับตรง ที่มหาวิทยาลัยดำเนินการได้เอง เพื่อให้ได้เด็กครบตามแผนที่วางไว้ หลังจากระบบเคลียริ่งเฮาส์แล้ว ข้อดีของระบบใหม่ คือ แก้ปัญหาการวิ่งรอกสอบ ลดค่าใช้จ่าย ทั้งเป็นระบบที่สนองทั้ง 2 ฝ่าย คือ เด็กต้องเลือกได้ และมหาวิทยาลัยก็เลือกได้ด้วย

ส่วนข้อด้อยที่นักวิชาการแสดงความห่วงใยคือ จะทำให้มหาวิทยาลัยรัฐดูดเด็กเก่งไปหมดส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยกลุ่มอื่นๆ ทั้งการรับตรงหลังเคลียริ่งเฮาส์แล้ว อาจเป็นข้ออ้างให้มหาวิทยาลัยรับตรงอีก ปัญหาเดิมๆจะวนกลับมาอีก

ทีมการศึกษา มองว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีระบบการคัดเลือกใดที่ดีสมบูรณ์แบบหรือแย่ที่สุด เพราะแต่ละระบบล้วนมีข้อดีข้อด้อย

แต่เราขอฝากความหวังกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีอำนาจในการตัดสินเรื่องงานการศึกษาของชาติ ขอให้การปรับปรุงระบบการคัดเลือกครั้งนี้เรียนรู้จากบทเรียนในอดีตเพื่อนำข้อดีมาใช้อุดจุดบอดของแต่ละระบบ ทั้ง ความยุติธรรมเท่าเทียมเหมือนระบบเอ็นทรานซ์ มีผลการเรียนของเด็กเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเหมือนระบบแอดมิชชั่น และ คณะก็ได้คนตามที่ต้องการเหมือนระบบรับตรง เพื่อให้สมประโยชน์ทุกฝ่าย และที่สำคัญคือ ทำให้การศึกษาเชื่อมโยงกันตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา โดยรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยทุกกลุ่มควรมีข้อตกลงในการรับนักศึกษาที่ชัดเจน และทำตามข้อตกลงนั้น เพื่อแบ่งหน้าที่กันผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของประเทศ

เพราะอุดมศึกษา ขยับตัวแต่ละครั้งย่อมส่งแรงสั่นสะเทือนทั้งสังคมไทย จึงควรต้องคิดอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อเยาวชนและสังคมไทย สำคัญที่สุดเพื่อลบข้อกล่าวหาที่มีมาโดยตลอดว่า อุดมศึกษามักจะทำเพื่อตัวเอง

และนี่คืออีกหนึ่งโจทย์ข้อใหญ่ของเจ้ากระทรวงคุณครู พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ !!!

โดย  ทีมการศึกษา ไทยรัฐ

 

ขอบคุณที่มาภาพและเนื้อหาจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 6 ก.ย. 2559 05:01

 


ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา2561เคลียริ่งเฮาส์สะเทือนสังคมไทย:ใครได้-ใครเสีย...?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

คืนครูสู่ห้องเรียน

คืนครูสู่ห้องเรียน


เปิดอ่าน 16,594 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ถามหาการศึกษา4.0 จะเริ่มต้นเมื่อใด?

ถามหาการศึกษา4.0 จะเริ่มต้นเมื่อใด?

เปิดอ่าน 10,534 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
เปิดอ่าน 22,678 ☕ คลิกอ่านเลย

Smart Thailand
Smart Thailand
เปิดอ่าน 8,572 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
เปิดอ่าน 10,524 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทยจะเอา "คุณภาพ" หรือ "คุณธรรม"
การศึกษาไทยจะเอา "คุณภาพ" หรือ "คุณธรรม"
เปิดอ่าน 23,276 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปอะไร ? โดย ดร. วิชัย พยัคฆโส
ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปอะไร ? โดย ดร. วิชัย พยัคฆโส
เปิดอ่าน 13,348 ☕ คลิกอ่านเลย

Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์  มูลค่าของความสามารถ
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์ มูลค่าของความสามารถ
เปิดอ่าน 9,725 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำไมมีจุดแดงบนหน้าผากสตรีอินเดีย
ทำไมมีจุดแดงบนหน้าผากสตรีอินเดีย
เปิดอ่าน 68,868 ครั้ง

ประวัติ วัน คริสต์มาส
ประวัติ วัน คริสต์มาส
เปิดอ่าน 32,322 ครั้ง

การลำดับรุ่นเครื่องคอมพิวเตอร์
การลำดับรุ่นเครื่องคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 16,808 ครั้ง

ความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว: ประเทศไทยกับ 3 รอยเลื่อนมีพลัง และพื้นที่เสี่ยงภัย 5 ระดับ
ความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว: ประเทศไทยกับ 3 รอยเลื่อนมีพลัง และพื้นที่เสี่ยงภัย 5 ระดับ
เปิดอ่าน 23,617 ครั้ง

เหรียญราชการชายแดน
เหรียญราชการชายแดน
เปิดอ่าน 21,974 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ