ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คณิตศาสตร์ชุมชน : โดย สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน, ชุติมา ชุมพงศ์


บทความการศึกษา 23 ก.ย. 2560 เวลา 15:11 น. เปิดอ่าน : 9,601 ครั้ง

Advertisement

คณิตศาสตร์ชุมชน : โดย สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน, ชุติมา ชุมพงศ์

เด็กไทยไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ ยาก มีเจตคติด้านลบกับวิชานี้

โรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากใกล้ถูกยุบ นักเรียนลดจำนวนลงมาก

ภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกละเลย ขาดคนรับช่วงต่อ จะสูญหายหมดสิ้นใน 10 ปีนี้

มหาวิทยาลัยเอกชน บริการสังคมไม่เป็น คิดแต่การหารายได้ ธุรกิจการศึกษา

ข้อคำถามและสิ่งที่เกิดขึ้นในสภาพปัจจุบัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้นำกระบวนการวิจัยลงสู่ชุมชน โรงเรียน มหาวิทยาลัยเอกชนมาเชื่อมโยง ก่อโจทย์ตั้งปัญญาร่วมกัน เรื่องที่ยากเป็นไปไม่ได้ก็ค่อยๆ ก่อตัว เรียนรู้ลงมือปฏิบัติ พบปะพูดคุย ลงภาคสนามอย่างสนิทสนม สุดท้ายปัญหาอุปสรรคก็คลี่คลายได้ กล่าวคือ เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “คณิตศาสตร์” กับ “ชุมชน” หรือ “คณิตศาสตร์” กับ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” นั้นความหมายของทั้งสองคำนี้จะเป็นไปคนละทิศทางกันแตกต่างกันมาก แต่ถ้านำมารวมกันเป็น “คณิตศาสตร์ชุมชน” หรือ “คณิตศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น” สะท้อนให้เห็นถึงการนำวิชาคณิตศาสตร์มาประยุกต์ มาบูรณาการให้เข้ากับชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็ก ชุมชน สังคม ดังที่โรงเรียนวัดเมตารางค์นำมาบูรณาการ ดังนี้

โรงเรียนวัดเมตารางค์ เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาขนาดเล็ก เสี่ยงต่อการถูกยุบ ตั้งอยู่ ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เป็นโรงเรียนเก่าแก่ของชุมชนที่กำลังประสบปัญหาเรื่องผู้ปกครองส่งลูกหลานมาเรียนที่โรงเรียนน้อยลงเพราะค่านิยมส่งลูกเรียนในตัวเมือง โรงเรียนขาดกำลังครูสำหรับการสอนในชั้นเรียน ครูมีความยากลำบากในการสอนเพราะต้องสอนนักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน กล่าวคือ ในชั้นเรียนมีทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ อีกทั้งนักเรียนส่วนใหญ่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์มีเนื้อหาที่ยาก ทำให้ไม่อยากเรียนหนังสือ คะแนน O-NET ต่ำมากในระดับเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม โรงเรียนวัดเมตารางค์ยังมีจุดแข็งในเรื่องความเป็นโรงเรียนในชุมชน เช่น มีการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ และการเป็นโรงเรียนที่อยู่ในชุมชนใกล้ชิดกับผู้ปกครอง นอกจากนี้ ชุมชนยังมีภูมิปัญญาซึ่งเป็นความรู้ในท้องถิ่นด้านการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมในชุมชน ที่สามารถนำมาบูรณาการกับการเรียนรู้วิชาต่างๆ ได้ เช่น การเพาะเห็ด การทำขนมไทย การปลูกมะนาว แต่ที่ผ่านมาโรงเรียนยังขาดการนำภูมิปัญญา ความรู้ของแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในท้องถิ่น มาปรับใช้ในกระบวนการเรียนรู้วิชาต่างๆ ของนักเรียน อีกทั้งชุมชนก็ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเท่าที่ควร

ดังนั้น จึงควรนำศักยภาพของทั้งโรงเรียนและชุมชนมาพัฒนาให้โรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับ สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของคนในชุมชนให้มากขึ้น ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน กระบวนการวิจัยได้เข้ามีบทบาทในขั้นตอนนี้เป็นอย่างมาก

การแก้ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของอาจารย์มหาวิทยาลัยกรุงเทพที่นำโดย ดร.เพ็ญจิรา คันธวงศ์ และคณะ ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเงิน การตลาด เทคโนโลยีสารสนเทศ และชาวบ้านในชุมชน โดยมีกระบวนการทำงาน คือ

1) การจัดเวทีชี้แจงโครงการวิจัยกับชุมชน เพื่อเป็นการทบทวนโครงการวิจัยและวางแผนการดำเนินงานโครงการวิจัยร่วมกัน

2) การออกแบบการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้เครื่องมือและกระบวนการในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การใช้ปฏิทินชุมชนศึกษาประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ที่มีในชุมชน การลงพื้นที่เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และการถอดบทเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียน

3) การวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรแกนกลางและตัวชี้วัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียน เพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหาหลักสูตรแกนกลาง และตัวชี้วัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

4) การถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ทำให้ทราบปัญหาที่ครูต้องเจอในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการแก้ปัญหาของครูในการจัดการเรียนการสอน

5) การศึกษาบริบทชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้และบริบทครอบครัวของนักเรียน มีการลงพื้นที่เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการกับการจัดกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชุมชน

6) การศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย และเทคนิควิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ รูปแบบต่างๆ ได้แก่ การเชิญติวเตอร์ที่มีประสบการณ์การสอนมาทดลองสอน การใช้การจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการจัดกิจกรรมทำขนมต้ม การทำไข่เค็ม และการทำฝอยทอง เป็นต้น

7) การวิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน ทำให้ได้แนวทางการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย

7.1) การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยการบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่าน 3 กิจกรรม คือ การทำขนมต้ม การทำไข่เค็ม และการทำฝอยทอง โดยทั้ง 3 กิจกรรมสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องจำนวนนับ บวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน การชั่งตวงความจุปริมาตร การคาดคะเน การแก้โจทย์ปัญหา รูปทรงเรขาคณิต การเงินหาต้นทุน กำไร การบันทึกรายรับ รายจ่าย เวลา อีกทั้ง 3 กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมตามความต้องการของนักเรียนเอง

7.2) การใช้การเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยการไปทัศนศึกษาดูงานการเรียนการสอนที่โรงเรียนรุ่งอรุณ สามารถนำมาบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องจำนวนนับ บวก ลบ คูณ หาร รูปทรงเรขาคณิต การคาดคะเน พื้นที่ เวลา

และ 7.3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นที่บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถนำมาบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องจำนวนนับ บวก ลบ คูณ หาร ต้นทุน กำไร ราคาขาย ทั้ง 3 แนวทางการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง และนำมาบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้

กล่าวได้ว่า “การขึ้นโจทย์วิจัยเรื่องรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียน และมหาวิทยาลัยเอกชน ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชุมชนโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนวัดเมตารางค์ควรเป็นอย่างไร” ซึ่งเป็นโจทย์ยาก ซับซ้อน การพัฒนาโจทย์วิจัยใช้เวลานาน ลงชุมชนเกือบ 1 ปีทีเดียว

จากการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยการบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ทำให้เกิดผลลัพธ์ตามมามากมาย โดยผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนทำให้ผู้เรียนมีความสนุกในการเรียนรู้ เช่น ได้เรียนรู้เนื้อหาคณิตศาสตร์ที่ยากผ่านการคำนวณต้นทุน กำไร ขาดทุน การเรียนรู้นอกสถานที่ทำให้ผู้เรียนมีจินตนาการ เชื่อมโยงกับธรรมชาติ รวมทั้งได้เรียนรู้อยู่บนฐานชีวิตมากยิ่งขึ้น

ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเสนอเนื้อหาในสิ่งที่อยากเรียน อยากมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีเจตคติดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีความกล้าแสดงออก เรียนรู้อย่างสนุก เห็นคุณค่าความรู้ที่เป็นภูมิปัญญา อีกทั้งเกิดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ผลพลอยได้ทำให้คะแนน O-NET สูงขึ้น จำนวนเด็กในโรงเรียนเพิ่มขึ้น ไม่เสี่ยงถูกยุบ การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน โรงเรียน และมหาวิทยาลัยมีความใกล้ชิดมากขึ้น การเรียนรู้ระหว่างทางของภูมิปัญญา การเรียนรู้ร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ปลุกกระแสการสืบหาความรู้ใหม่ให้แก่ภูมิปัญญาอีกด้วย

ดังนั้นแล้วจะเห็นว่าคณิตศาสตร์ชุมชนโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการใช้นั้นไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว ขอเพียงแต่ทุกคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชาวบ้าน รวมทั้งผู้ให้การแนะนำทางการศึกษาให้ความร่วมมือ เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนจนกลายเป็นชุมชนยั่งยืนได้อย่างแน่นอน ในมุมสว่างของชาวมหาวิทยาลัยเอกชนเราได้เห็นแววปีติสายตา อารมณ์ คำพูด ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนโรงเรียนนี้

มิใช่มหาวิทยาลัยที่แยกตัวจากชุมชนที่ตั้งอยู่ ครุ่นคิดแต่หารายได้ เน้นแต่ตัวชี้วัด KPI อย่างเอาเป็นเอาตาย จนลืมบทบาทการบริการสังคมที่นับวันจะเหือดหายน้อยลงไปตามลำดับ คณาจารย์กลุ่มนี้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงควรค่าแก่การยกย่องยิ่ง

สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน
ชุติมา ชุมพงศ์
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 22 กันยายน 2560 - 13:10 น.
 

 


คณิตศาสตร์ชุมชน : โดย สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน, ชุติมา ชุมพงศ์คณิตศาสตร์ชุมชน:โดยสมพงษ์จิตระดับสุอังคะวาทินชุติมาชุมพงศ์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เงินเดือนเป็นความลับ

เงินเดือนเป็นความลับ


เปิดอ่าน 21,297 ครั้ง
โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล


เปิดอ่าน 8,158 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา

ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา

เปิดอ่าน 11,383 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 7,800 ☕ คลิกอ่านเลย

ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู
ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู
เปิดอ่าน 48,740 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาษาไทย ภาษาชาติ และการสอนของครู
ภาษาไทย ภาษาชาติ และการสอนของครู
เปิดอ่าน 58,497 ☕ คลิกอ่านเลย

กก.อิสระปฏิรูปการศึกษาช่วยที : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
กก.อิสระปฏิรูปการศึกษาช่วยที : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เปิดอ่าน 6,935 ☕ คลิกอ่านเลย

ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
เปิดอ่าน 11,768 ☕ คลิกอ่านเลย

“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
เปิดอ่าน 31,242 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สารพัดวิธี เบิร์น 100 กิโลแคลอรี่ แค่ไม่ถึงชั่วโมง แบบง่ายๆ
สารพัดวิธี เบิร์น 100 กิโลแคลอรี่ แค่ไม่ถึงชั่วโมง แบบง่ายๆ
เปิดอ่าน 14,196 ครั้ง

หลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือรับรองการประกันคุณภาพภายนอก จาก สมศ.
หลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือรับรองการประกันคุณภาพภายนอก จาก สมศ.
เปิดอ่าน 7,732 ครั้ง

หนอนคืบ
หนอนคืบ
เปิดอ่าน 12,891 ครั้ง

เรื่องที่คุณครูต้องอ่าน
เรื่องที่คุณครูต้องอ่าน
เปิดอ่าน 12,644 ครั้ง

บัณฑิตน้อย "ความบ้าใบ" ของการศึกษาไทย โดย ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง
บัณฑิตน้อย "ความบ้าใบ" ของการศึกษาไทย โดย ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง
เปิดอ่าน 695,864 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ