ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เหลียวหลัง แลหน้า ปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานไทย


บทความการศึกษา 3 ม.ค. 2561 เวลา 17:52 น. เปิดอ่าน : 7,830 ครั้ง

Advertisement

เหลียวหลัง แลหน้า ปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานไทย

เหลียวหลัง แลหน้า ปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานไทย

 

ผู้เขียน ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์

เหลียวหลัง
นับแต่พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2542 จนถึงปัจจุบันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาอย่างกว้างขวางทั้งจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนต่างให้ความสนใจและติดตามความเคลื่อนไหวของการปฏิรูปการศึกษาตามพ.ร.บ.ดังกล่าว โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก กล่าวเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนวคิดหลักที่ใช้เป็นฐานในการตรา พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ คือแนวคิดการกระจายอำนาจบริหารการศึกษา ดังความตามมาตรา 39 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 “ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง”

การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติดังกล่าว ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรในศธ. มีองค์กรสำคัญที่เกิดขึ้นใหม่ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ที่ต่อมามีการแยก สพท. เป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ผอ.สพป.) และผอ.สพม. เป็นผู้บังคับบัญชา เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สพฐ. มีการยุบสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ศึกษาธิการอำเภอ สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด และสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด (ผอ.ปจ.) ทำให้ สพฐ. มีหน่วยงานทางการศึกษาที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคือ สพป.และ สพม.มีบทบาทหน้าที่ จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณ เงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา กำกับ ตรวจสอบ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา เป็นต้น โดยมีองค์คณะบุคคล 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ทำหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ของเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

เขตพื้นที่การศึกษาจึงเป็นหน่วยงานของราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคหรือจังหวัด ขึ้นตรงต่อ สพฐ.และศธ.ซึ่งตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มีเจตนารมณ์ ให้เป็นการบริหารจัดการศึกษา แบบกระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษานั้น ๆ บริหารจัดการศึกษาด้วยตนเอง เขตพื้นที่การศึกษา ไม่ใช่เขตการปกครอง ไม่เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค แต่จากสภาพที่เกิดขึ้นจริง เขตพื้นที่การศึกษากลับไม่มีลักษณะของการบริหารแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง อำนาจส่วนใหญ่โดยเฉพาะด้านงบประมาณยังรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ สพฐ. มีเพียงอำนาจด้านบริหารงานบุคคลที่มีการกระจายอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.2547 โดยให้มี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล ให้ความเห็นชอบในการบรรจุ แต่งตั้ง ย้าย การเลื่อนวิทยฐานะ พิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา โดย ผอ.สพท. เป็นเลขานุการ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

ความล้มเหลวของการกระจายอำนาจบริหารงานบุคคลของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ส่วนหนึ่งที่มีการเรียกรับผลประโยชน์จากครูในการสอบรรจุ แต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน โดยเฉพาะการย้ายข้าราชการครูที่มีการร้องเรียนว่าต้องจ่ายเงินให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ จำนวนมาก ได้กลายเป็นชนวนสำคัญทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ใช้เป็นข้ออ้างในการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 10/2559 และ 11/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และมีการออกคำสั่งเพิ่มเติม ยกเลิกบางคำสั่ง จนถึงปัจจุบันคือ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เป็นการรวมคำสั่งหัวหน้า คสช. 4 ฉบับก่อนหน้าให้เป็นฉบับเดียว สาระสำคัญคือ 1.การยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ และคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา 2.ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (คปภ.) ทำหน้าที่กำหนดทิศทางการดำเนินงานของศธ.ในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด 3.ให้มีศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ภาค ปฏิบัติภารกิจของศธ.ในระดับพื้นที่ ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด อำนวยการ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดศธ.และหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นๆ 4. ให้มีศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ปฏิบัติภารกิจของศธ.เกี่ยวกับการบริหาร และการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด ปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย ให้ ศธจ.มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดหน้าที่ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผอ.สพป. และผอ.สพม.เฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 5.ให้มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)ทำหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคลแทน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา ทุกระดับทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหาร และการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คำสั่งคสช.ดังกล่าว ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารการศึกษากลุ่มเดิม คือ ผอ.สพป. ผอ.สพม.และผู้อำนวยการโรงเรียน กับ ผู้บริหารการศึกษากลุ่มใหม่ที่เกิดขึ้นตามคำสั่ง คสช.คือ ศธจ. โดยเฉพาะประเด็นอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 53 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ.2547 ที่ตามกฎหมายเป็นอำนาจของผู้อำนวยการโรงเรียน (กรณีการบรรจุครูผู้ช่วย) และเป็นอำนาจของ ผอ.สพป. และ ผอ.สพม. (กรณีการแต่งตั้งและเลื่อนวิทยฐานะ)ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัด สพฐ.โดยตรง ในขณะที่ ศธจ.ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของ คสช. เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ดังนั้นการให้ ศธจ. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัด สพฐ. แม้จะเป็นการบรรจุตามมติ กศจ.ก็ตาม จึงถือเป็นการ “หักเหลี่ยม” หรือ “หมิ่นศักดิ์ศรี” ของ ผอ.สพป. และ ผอ.สพม. เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเพิ่มขั้นตอนในการทำงาน ความขัดแย้งในบทบาทของ ผอ.สพป. และ ผอ.สพม.กับ ศธจ. ขณะที่ กศจ.ก็ไม่สามารถทำงานด้านยุทธศาสตร์การศึกษาของจังหวัด ไม่มีความชัดเจนเรื่องการบูรณาการการศึกษาของจังหวัด เพราะเสียเวลาไปกับงานการบริหารบุคคล แผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัดก็ไม่มีความหมายใด ๆ ไม่มีหน่วยงานใด ๆ จัดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการตามแผน การโยกย้ายบุคลากรจาก สพป.และ สพม. ไปสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ทำให้ทั้ง สพป. สพม. และ ศธจ. รวมไปถึง สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ที่ไม่มีความชัดเจนในภาระงานเชิงยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ หน่วยงานทางการศึกษาเหล่านี้กำลังจะกลายเป็นองค์กรล้มเหลว นอกจากนี้ยังมีการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เรื่องเกณฑ์การย้ายผู้บริหารสถานศึกษาทำให้จน ศธ.โดยคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ต้องแจ้งให้ กศจ.ทุกจังหวัดระงับการย้ายผู้บริหารการศึกษาออกไปก่อน

นี่คือความยุ่งเหยิงที่กำลังเกิดขึ้นในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาค ในขณะนี้

 

แลหน้า
แม้รัฐมนตรีว่าการศธ.จะได้เสนอให้หัวหน้า คสช.แก้ไขคำสั่งโยกอำนาจการสั่งบรรจุ และตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจาก ศธจ. คืนไปยัง ผอ.สพป.และ ผอ.สพม.แล้ว รวมถึงเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะกรรมการบูรณาการด้านการศึกษาและคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ทั้ง 2 ชุดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ศธจ.เป็นเลขานุการ และ ผอ.สพท.เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และจะมีการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลางจำนวนเท่า ผอ.สพป.และ ผอ.สพม. เป็นกรรมการร่วมเพื่อให้มีการบูณาการการทำงานที่เหมาะสม แต่ก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้น ความขัดแย้งระหว่าง ผอ.สพป.และ ผอ.สพม.กับ ศธจ. เป็นเพียงปลายเหตุหรือเป็นส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เพราะต้นตอของปัญหาเกิดขึ้นจากการออกแบบโครงสร้างการบริหารที่ไม่ได้มองทั้งระบบ คสช.เลือกที่จะปฏิรูปเฉพาะในส่วนภูมิภาคที่ คสช.เชื่อว่าเป็นปัญหาเสมือนการปะผุเรือรั่ว

 

อีกทั้งมีความสับสนเรื่องแนวคิดพื้นฐานในการปฏิรูปการศึกษาที่ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เป็นแนวคิดการกระจายอำนาจ แต่ คสช.กลับมาใช้แนวคิดรวมศูนย์อำนาจ single command การมีหน่วยงานและผู้บริหารทั้งสองลักษณะที่มีฐานคิดแตกต่างกันคือ สพท. และ ผอ.สพป. ผอ.สพม. กับ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และ ศธจ. การใช้แนวคิดการจัดการศึกษาแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ (สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน และภาคเอกชนกำลังดำเนินการอยู่บางพื้นที่) โดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์การจึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย หน่วยงานทางการศึกษาของศธ.ในภูมิภาคจึงไม่สามารถบูรณาการหรือทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพตามที่คาดหวังได้ (เดิม สพท.มีทั้งโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ยังต้องแยกมาเป็น สพป.และ สพม.)

ข้อเสนอแนะ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป้าหมายสำคัญที่สุดของการจัดการศึกษาอยู่ที่คุณภาพของผู้เรียน และเมื่อตัวผู้เรียนอยู่ที่สถานศึกษา การปฏิรูปโครงสร้างในการจัดการศึกษา จึงต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีความเข้มแข็ง จึงจะทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพได้ ข้อเสนอสำคัญคือ การลดขนาดระบบการบริหารการศึกษาส่วนกลาง ให้เป็นหน่วยงานนโยบาย และกำกับติดตาม ให้สถานศึกษาเป็นหน่วยปฏิบัติและมีอำนาจการบริหารจัดการอย่างแท้จริง ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป เพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัวเป็นอิสระบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวก รวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ สร้างกลไกการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ประเมินผลสถานศึกษาอย่างเข้มข้นและรวดเร็ว โดยดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1.ออกพ.ร.บ.โรงเรียนนิติบุคคล ให้มีอำนาจในการบริหารจัดการทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ให้โรงเรียนหรือกลุ่มโรงเรียนที่เป็นนิติบุคคลเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ปัจจุบันโรงเรียนเป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน และเป็นหน่วยงานในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเป็นระบบริหารราชการส่วนกลาง จึงมีข้อจำกัดเรื่องการดำเนินการต่าง ๆ ที่ต้องเป็นไปภายใต้กฎเกณฑ์ที่ส่วนกลางกำหนด) รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของโรงเรียนหรือกลุ่มโรงเรียนที่จะเป็นนิติบุคคลโดยเน้นจากความพร้อมของโรงเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสำคัญ

2.ออกหรือปรับปรุง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิรูปโครงสร้างของศธ. ทั้งระบบ โดยลดขนาด อำนาจ และจำนวนหน่วยงานทางการศึกษาทั้งส่วนกลางทั้งในศธ.และในส่วนภูมิภาค เพื่อให้สอดรับกับการเป็นโรงเรียนนิติบุคคลที่เป็นส่วนราชการ ปรับปรุง โครงสร้าง ขนาด บทบาทหน้าที่ และจำนวนเขตพื้นที่การศึกษาให้เหมาะสม มีองค์การบริหารบุคคลกลางของจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดรับผิดชอบงานด้านยุทธศาสตร์การบูรณการการจัดการศึกษาของจังหวัด และให้จังหวัดหรือ สป.ศธ.จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดให้ชัดเจน

ระบบการบริหารจัดการศึกษาของไทยได้ชื่อว่ามีการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์อำนาจ ตามระบบบริหาราชการแผ่นดิน แม้จะมีการเขียนไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติก็ตาม แต่รัฐ (ทุกยุคทุกสมัย) ก็ไม่เคยมีความจริงใจในการปฏิบัติตาม การปฏิบัติงานในโรงเรียนมีหลายสิ่งที่หลายอย่างไม่ได้เกิดจากความต้องการของชุมชน โรงเรียน แต่มาจากส่วนกลางจัดทำออกมาเป็นกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ ทำให้โรงเรียนแทบจะไม่มีสิทธิในการคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ไม่สามารถสร้างแผนยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงโรงเรียนตามบริบทของตนเองได้ ในขณะเดียวกันในบางส่วนที่โรงเรียนหรือเขตพื้นที่ฯ เคยได้รับการกระจายอำนาจให้ เช่น การบริหารงานบุคคล หลายแห่งกลับขาดความรับผิดชอบในการบริหาร มีการทุจริตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เป็นปัญหาทำนองเดียวกันกับการบริหารจัดการประเทศที่เมื่อมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ก็มักจะมีการทุจริตหาผลประโยชน์เกิดขึ้น ทางออกที่ดีที่สุดคือ เมื่อกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้โรงเรียนแล้ว ต้องสร้างกลไกตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และประเมินผลให้เข้มแข็งรวดเร็ว

ทำดีต้องให้รางวัล ทำผิดต้องลงโทษอย่างเด็ดขาดและรวดเร็ว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 3 มกราคม 2561

 


เหลียวหลัง แลหน้า ปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานไทยเหลียวหลังแลหน้าปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว


เปิดอ่าน 7,453 ครั้ง
ราชภัฏกับธนาคาร

ราชภัฏกับธนาคาร


เปิดอ่าน 7,577 ครั้ง
พระเจ้าแผ่นดิน

พระเจ้าแผ่นดิน


เปิดอ่าน 6,657 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ที่มีประสิทธิผลต่อการเป็นองค์กรคุณภาพของสถานศึกษาเข้มแข็ง

รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ที่มีประสิทธิผลต่อการเป็นองค์กรคุณภาพของสถานศึกษาเข้มแข็ง

เปิดอ่าน 25,383 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การศึกษาไทยด้อยคุณภาพ....แล้วจะปฏิรูปอย่างไร?
การศึกษาไทยด้อยคุณภาพ....แล้วจะปฏิรูปอย่างไร?
เปิดอ่าน 8,199 ☕ คลิกอ่านเลย

การประเมินจากภายนอกสถานศึกษาจำเป็นหรือไม่?
การประเมินจากภายนอกสถานศึกษาจำเป็นหรือไม่?
เปิดอ่าน 5,832 ☕ คลิกอ่านเลย

หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?
หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?
เปิดอ่าน 427,816 ☕ คลิกอ่านเลย

ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
เปิดอ่าน 30,493 ☕ คลิกอ่านเลย

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ครูใหญ่-ปฏิรูปศึกษา
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ครูใหญ่-ปฏิรูปศึกษา
เปิดอ่าน 12,063 ☕ คลิกอ่านเลย

โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (1)
โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (1)
เปิดอ่าน 11,616 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ไขปัญหาเกี่ยวกับ สถิติ วัดผล และวิจัย ตอนที่ 1
ไขปัญหาเกี่ยวกับ สถิติ วัดผล และวิจัย ตอนที่ 1
เปิดอ่าน 32,102 ครั้ง

ช่วยลูกทำการบ้านอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
ช่วยลูกทำการบ้านอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 11,450 ครั้ง

แนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบภาวะถดถอยทางการเรียน ด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย
แนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบภาวะถดถอยทางการเรียน ด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย
เปิดอ่าน 6,639 ครั้ง

ดูให้รู้ : โรงเรียนสร้างเด็กสุดยอดผู้นำ
ดูให้รู้ : โรงเรียนสร้างเด็กสุดยอดผู้นำ
เปิดอ่าน 11,769 ครั้ง

การได้สารพิษ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8
การได้สารพิษ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8
เปิดอ่าน 15,216 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ