ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ชี้การศึกษาไทยกดทับ "ชีวอำนาจ" เด็ก


ข่าวการศึกษา 5 มี.ค. 2561 เวลา 13:42 น. เปิดอ่าน : 5,691 ครั้ง
ชี้การศึกษาไทยกดทับ "ชีวอำนาจ" เด็ก

Advertisement

"สมพงษ์" เผยสังคมไทยเหลื่อมล้ำอันดับ 3 ของโลก ชี้ความเหลื่อมล้ำเป็นวาทกรรมทุกรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาแต่ในทางปฎิบัติไม่เกิดขึ้นจริง แนะสังคม ระบบการศึกษาเลิกกดทับชีวอำนาจเด็ก ลั่นไม่ลดความเหลื่อมล้ำ ปฎิรูปการศึกษา- ไทยแลนด์ 4.0 ไม่มีทางเกิดขึ้น ขณะที่ ป้ามล ฝากรัฐ ปิดเทอม 3 เดือน หาพื้นที่ให้เด็กยากจนมีกิจกรรมทำ พร้อมฝากพ่อแม่อย่าเปรียบเทียบลูก มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย แจง 50% เด็กข้ามเพศถูกรังแก ขาดโอกาสเพียบ ขอครอบครัว สังคมเข้าใจยอมรับ
 
 
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จัดมหกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว "กว่าทศวรรษ พัฒนาครอบครัวอบอุ่น สร้างคุณค่าคน และผลงานของเรา" โดยมี ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทย ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศทุนนิยมเบิกบาน การศึกษายังขาดคุณภาพ แต่ทุนนิยมกลับโตขึ้นเรื่อยๆ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การยอมรับระบบต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยมากยิ่งขึ้น 
 
"เด็กทุกคนมีสิ่งที่ซ่อนเร้นในตัวเองคือ ชีวอำนาจ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ คิดวิเคราะห์ มีเหตุผล แต่สังคม ระบบการศึกษาของไทยกลับกดทับชีวอำนาจเหล่านั้น สอนให้เด็กต้องคิดตาม ยอมจำนน ติดกรอบ ยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นโดยขาดอิสระในการคิด ปัจจุบันเด็กไทยจึงถูกทำหมันเรื่องความคิด ซึ่งถ้าระบบการศึกษา สังคม ปูพื้นฐานให้เด็กได้ปฏิบัติเรียนรู้ เกิดวิธีพลเมืองที่มีคุณภาพ รู้จักดึงพลังชีวอำนาจด้านดีของตนเองออกมาใช้ และลดภาวะกดดันทับชีวิต สิ่งที่ทำให้เด็กไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร อย่างวาทกรรมวิชาการ ความยากจน ระบบการศึกษาค่านิยมอคติ ซึ่งภาวะกดดันเหล่านี้ทำให้เด็กมีความทับซ้อนหลายชั้น  และการจะทำให้เด็กรู้จักใช้ชีวอำนาจด้านดี ต้องเริ่มจากเพิ่มพลังครอบครัว พยายามให้เด็กรู้จักตัวเอง มีความมั่นใจในตัวชีวิต สามารถวิเคราะห์ได้ ว่าตัวเองเป็นแบบนี้เกิดจากอะไร และอะไรที่ทำให้หลุดพ้นสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้น ชีวอำนาจอยู่ในเด็กแต่ละคน ถ้าสังคม ระบบการศึกษาดึงด้านดีออกมาได้ จะช่วยเด็กคิดเป็น คิดบวก อย่าให้เด็กคิดทำร้ายตัวเอง คิดแต่ปมด้อย และต้องรู้จักการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ใหญ่ต้องฟังเสียงเด็ก และไม่ยัดเยียด เป็นโค้ช และให้คำเสนอแนะแก่เด็ก" ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
 
ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่มีปรัชญาการศึกษาแต่เป็นประเทศที่ชอบการสอบมากๆ โดยจะเห็นได้จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ที่มีการจัดทดสอบตลอดเวลา ทำให้ระบบการวัดผลเป็นตัวครอบงำระบบการศึกษา เป็นการจัดกลุ่มคนในสังคม ไทยจึงเป็นประเทศที่มีเด็กออกกลางคันจากโรงเรียนค่อนข้างมาก ปีละประมาณ 2-3 แสนคน และการศึกษาเป็นอนุระบบของระบบทุนนิยมและการเมือง เป็นระบบที่ทำตามหน้าที่ในการป้อนคนเข้าสู่ระบบการตลาด ทำให้ไม่มีอำนาจในตัวเอง การศึกษาประเทศไทย จึงปฎิรูปไม่ได้สักครั้งและครั้งล่าสุดก็เช่นกันไม่สามารถปฎิรูปได้ สังคมไทยใน10 ปีข้างหน้า เด็กเกิดน้อยลง ด้อยคุณภาพและสังคมเสื่อม จะกลายเป็นเรื่องการใช้ความรุนแรง ปัญหาในเด็กจะมากขึ้น ถ้าสังคมและการศึกษาไม่มีแนวทางในการดึงชีวอำนาจทางบวกของเด็กให้เกิดขึ้นได้
 
ป้ามล หรือ นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำมีทุกแห่งในโลกนี้ แต่จะทำให้ลดลงได้นั้น ต้องเกิดจากการเข้าถึงโอกาสที่มาจากการออกแบบที่ทำให้คนยากจนเข้าถึงโอกาสและการศึกษาเหล่านั้น ซึ่งตอนนี้ไม่มีรัฐบาลชุดไหนที่มองถึงปัญหาเด็ก ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอม 3 เดือนกว่าๆ ของเด็ก ที่ไม่มีพื้นที่ให้เด็กยากจนได้มีกิจกรรมดีๆ หรือโอกาสดีๆ ได้ทำ ดังนั้น รัฐบาลควรลงทุนสร้างพื้นที่ กิจกรรมดีๆ ต้อนรับเด็กในช่วงปิดเทอม และต้องมองเห็นเด็กยากจน หรือเด็กด้อยโอกาสร่วมด้วย 
 
"ชีวิตของคนเราไม่มีสูตร การเรียนหนังสืออย่างเดียว ไม่ได้คิดวิเคราะห์ การเหลียวมองสังคม การทำกิจกรรม จะทำให้เด็กรู้จักรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ และการเลี้ยงลูกไม่ใช่เพียงให้ข้าวให้น้ำ ให้การศึกษาดีเพียงอย่างเดียว ระบบการศึกษา สังคมต้องมีวิธีที่ทำให้เด็กสามารถนำไปใช้ชีวิตจริงได้ ต้องมีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม เป็นพื้นที่กลางที่ต้องไม่ให้ข้อจำกัดความรู้เดิมเข้ามาสู่ความรู้ใหม่ นอกจากนั้น ระบบการศึกษาต้องมีเครื่องมือ มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับคนเปราะบางในสังคม ขณะที่ครอบครัว ต้องให้เด็กได้เรียนรู้ความล้มเหลวบ้าง อย่าให้เสพเฉพาะความสำเร็จ เพราะไม่เช่นนั้นเมื่อเขาล้มลงอาจจะรับมือไม่ไหว ที่สำคัญอย่าเปรียบเทียบเด็ก เนื่องจากทุกครั้งที่พ่อแม่เปรียบเทียบเด็กกับคนอื่น เด็กจะไม่มีแรงกำลังขึ้นที่สูง แต่เด็กจะไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ" นางทิชา กล่าว
 
ด้าน นายรณภูมิ สามัคคีคารมย์ มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย กล่าวว่า จากการสำรวจของมูลนิธิตั้งแต่ปี 2551-2557 พบข้อมูลว่า 14 คน ถูกฆ่ากันด้วยเหตุแห่งเพศ เนื่องจากเกลียดเพราะเป็นกะเทย  50% ของเด็กที่ไม่ใช่เพศชายและเพศหญิง จะถูกรังแกด้วยเหตุแห่งเพศ และมีปัญหาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพราะเด็กแสวงหายาต่างๆ เพื่อทำให้ตัวเองเป็นผู้หญิง เช่น ทานยาคุมกำเนิดมากเกินไปจนเกิดอาการหลอน รวมถึงสิทธิต่างๆ ไม่ครอบคลุม เช่น สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค และมีงานบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้เพราะขาดการยอมรับ สังคมผลักให้ทำงานในบางอาชีพได้ และอัตราการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้นในกลุ่มเด็กข้ามเพศที่ไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้น ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นในทุกเพศ จึงอยากให้ทุกคนมองเห็นรายละเอียด อย่าแสดงเจตจำนงว่าเพศไหนยอมรับไม่ยอมรับ โดยเฉพาะครอบครัวที่ต้องเข้าใจและยอมรับคนกลุ่มนี้ ลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและอย่ามองว่าเด็กกลุ่มนี้มีปัญหา  

นางพัดชา พรสกุลไพศาล ผู้ประสานงานศูนย์แสงอรุณ ศูนย์บำบัดยาเสพติดโดยพระกิตติคุณ กล่าวว่า สังคมจะตีกรอบเด็กว่าอะไรควรทำและไม่ทำ ส่งผลให้เด็กบางคนเมื่อมีอิสระในการเลือกก็มักจะใช้ไม่เป็น อย่างตนเติบโตมาในครอบครัว อยู่ในระบบการศึกษาที่ดีมาตลอด ได้ทำงานดี และประสบความสำเร็จอายุยังน้อย แต่เมื่อได้มีโอกาสไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด กัญชา และเฮโรอีน โดยเฉพาะเฮโรอีน มองว่าตัวเองไม่ติด ควบคุมได้ แต่กลายเป็นว่า 13ปี ติดเฮโรอีนอย่างหนักและทำลายระบบชีวิตทั้งระบบ ถูกจับในคดีหลักทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร เพราะต้องการเงินไปซื้อยาเฮโรอีน ถูกออกจากงานโดยไม่สนใจความทุกข์ของคนในครอบครัว กระทั่งใช้ยามากเกินไปจนเริ่มหลอน และทำให้บ้านไฟไหม้ เริ่มย้อนมองไปที่ครอบครัว ขอเลิกยา และสามารถทำได้ จนมาทำงานจิตอาสา ดูแลบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด ซึ่งสิ่งที่ตนเองผ่านมาได้หมดนั้น เกิดจากความเข้าใจและโอกาสจากครอบครัว รวมถึงสภาพแวดล้อม และสังคมรอบข้าง ดังนั้น การจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้นั้น ต้องมีการออกแบบพื้นที่ให้เด็กได้รู้จักการแก้ไข รับมือกับปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเด็กต้องมีพลังชีวอำนาจด้านบวกของตนเองมาใช้ 

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

ชี้การศึกษาไทยกดทับ "ชีวอำนาจ" เด็กชี้การศึกษาไทยกดทับชีวอำนาจเด็ก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

เปิดอ่าน 7,041 ☕ 1 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 50 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 64 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 198 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 499 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,755 ☕ 15 เม.ย. 2567

OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
เปิดอ่าน 848 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

13 ความเชื่อที่ควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
13 ความเชื่อที่ควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
เปิดอ่าน 11,684 ครั้ง

7 เทคนิคสร้าง KPI ยกระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
7 เทคนิคสร้าง KPI ยกระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 9,695 ครั้ง

หลากเทคนิค ช่วยให้นอนหลับสบาย
หลากเทคนิค ช่วยให้นอนหลับสบาย
เปิดอ่าน 13,039 ครั้ง

การปลูกต้นชวนชม ไม้คลาสสิค
การปลูกต้นชวนชม ไม้คลาสสิค
เปิดอ่าน 148,669 ครั้ง

เคยรู้บ้างมั้ยว่า GNU/GPL คืออะไร
เคยรู้บ้างมั้ยว่า GNU/GPL คืออะไร
เปิดอ่าน 33,686 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ