ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์


บทความการศึกษา 15 มี.ค. 2561 เวลา 06:20 น. เปิดอ่าน : 9,451 ครั้ง

Advertisement

คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์

วิตกกังวลกับวิกฤตคุณภาพการศึกษาไทย ยิ่งใกล้วันปิดภาคเรียน ยิ่งยังมืดมนมองไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ไม่รู้ว่าปีการศึกษาหน้าเราจะค้นพบทางออกจากวังวนวิกฤตคุณภาพการศึกษาหรือไม่ จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้างจากคณะกรรมการอิสระทางการปฏิรูปการศึกษา ยังมองไม่เห็นวิสัยทัศน์ของผู้นำของประเทศว่าจะชี้นำไปทางใด ลองมองข้ามเขตแดนของประเทศออกไปทุกทิศทางเห็นแต่การเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลกที่ไม่หยุดนิ่ง ขณะที่บรรยากาศภายในประเทศเงียบสงบนิ่งอย่างน่าวังเวง

คำรำพึงที่หนึ่ง ของ ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่เคยเตือนรัฐบาลไทยไว้ว่า “คนจีนใช่ว่าอย่างที่เราคิด คบจีนไม่ระวังถูกยึดประเทศแน่” ท่านยกข้อมูลมาอ้างว่า คนจีนเป็นล้านเข้าไปในเวียดนามตอนเหนือ รัฐบาลเวียดนามกลัวมากขอให้กลับก็ไม่กลับ จีนหาว่ารังแกพลเมืองของจีน จึงส่งกองทัพเข้าลุย เส้นทางรถไฟช่วยให้จีนขนสินค้าราคาถูกมาดัมพ์ใส่ตลาดเวียดนาม อุตสาหกรรมเวียดนามพังเรียบรวมผู้ผลิตสินค้ารายย่อยด้วย วิถีจีนคือส่งสินค้าเกษตรราคาถูกไปตัดราคาทำให้เจ้าของพื้นที่เก่าเจ๊งไล่ออกจากตลาดแล้วเข้าควบคุมแทน จีนส่งนักท่องเที่ยวเข้าไปเวียดนามเยอะมาก เวียดนามบูม ธุรกิจท่องเที่ยวที่จีนทำกับเวียดนามเหมือนทำในไทยคือ มีรถเอง มีที่พักเอง ซื้อของเอง คนไทยและเวียดนามไม่ได้อะไรจากนักท่องเที่ยวจีน ทางรถไฟไปถึงไหนทหารจีนไปถึงที่นั่น

จีนเข้าลาว จีนถือโอกาสเข้าไปอยู่ในเมืองทางตอนเหนือของลาว 5 เมืองเต็มไปหมด เศรษฐกิจลาวอยู่ในมือของคนจีน คนลาวเป็นแรงงาน ทำไร่ไถนา

จีนเข้าพม่าหลังจากที่พม่าถูกบอยคอตจากอเมริกา พม่าหันไปพึ่งจีน หัวเมืองด้านเหนือของพม่า จีนจึงเข้าไปขนทรัพยากรจากพม่าปีละ 30,000 ล้านเหรียญ มาร่วม 50 ปีแล้ว ไม้ หยก ของป่า พลอย ทองคำ

จีนรุกเข้าอียู จีนส่งสินค้าขึ้นที่ท่าเรือ เจนัว อีตาลี กองทัพมดลำเรียงสินค้าขึ้นบก กระจายเข้าสู่คลังสินค้า ทางการไม่ทันตรวจสอบไม่ทัน อียูก็ยุ่งเหมือนกัน

คนจีนนั้นพร้อมอพยพเข้าไทยร้อยล้านคน รัฐบาลจีนเพิ่งประกาศนโยบายให้ประชาชนรายย่อยเอาเงินไปลงทุนในต่างประเทศคนละ 5-6 ล้านบาท โดยธนาคารจีนปล่อยให้กู้ได้ คนจีนเมื่อได้อพยพไปอยู่ที่ไหนแล้วจะไม่ยอมกลับบ้าน

จีนมีหลักสูตรเบ็ดเสร็จระยะสั้นสอนการจำทำธุรกิจ SME โดยมีเป้าหมายจะให้เยาวชนจีนเข้ามาทำใน สปป.ลาวและไทยในเร็วๆ นี้ ปัจจุบันธุรกิจในลาว ประมาณ 80% อยู่ในมือคนหนุ่มคนสาวจากจีน ที่มีอายุระหว่าง 22-30 ปี

ในไทย มีนักศึกษาหนุ่มสาวจากจีนรุ่นใหม่เข้ามาศึกษาหลักสูตรเฉพาะกิจ เพื่อประกอบธุรกิจและการค้าในไทย มาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น ABAC ศรีประทุม รัตนบัณฑิต แม่ฟ้าหลวง และ ม.อื่นๆ อีกจำนวนมาก เพื่อให้เข้ากับหลักเกณฑ์ SME ที่จีนได้กำหนดไว้ ระยะเวลาการศึกษา 6 เดือนถึง 2 ปี พวกเขามาเรียนเพื่อรู้ที่จะทำธุรกิจ ไม่ได้มาเรียนเพื่อเอาใบปริญญา มาเรียนภาษาไทย ให้มีความเข้าใจวัฒนธรรมไทยและวิถีชีวิตคนไทย

หลักสูตรเบ็ดเสร็จ SME ของจีน ผู้เรียนต้องเขียนแผนธุรกิจแผนการตลาดที่ต้องประกอบกิจการในประเทศไทยและ สปป.ลาว แล้วนำเสนอต่อส่วนงานของ SME ในจีน เมื่อโครงการแผนงานธุรกิจผ่านการประเมิน นักศึกษาจะได้รับทุนขั้นต้น 200,000 หยวน (1,000,000 บาท) ในงวดแรก และจะจ่ายงวดที่ 2-3 อีก งวดละ 200,000 หยวน เพื่อขยายกิจการ (ประมาณ 3,000,000 บาท)

ปัจจุบันคนจีนเป็นผู้ยึดครองเศรษฐกิจในลาวเกือบทั้งหมด เสมือนหนึ่งเป็น “มณฑล” รวมทั้งการถือครองที่ดินในลาวโดยถูกต้องจากการแต่งงาน ขยายสัมพันธ์ทางครอบครัวอย่างแนบแน่น สู่การโอนสัญชาติ นโยบายประชากรและยึดเศรษฐกิจโลก ฝรั่งไม่มีตามทัน ลาวจึงเป็นมิตรที่ดีที่สุดของจีนในเวลานี้ นอกจากลาวแล้วยังมีเกาหลีใต้เขาไปท่องเที่ยวและทำธุรกิจในลาวแล้วด้วย

ประเทศไทยก็คงจะเผชิญปัญหาเดียวกับลาว คนไทยเคยวิ่งตามฝรั่งทุกเรื่องแต่ฝรั่งรบตามกติกา ส่วนคนจีนรบทุกรูปแบบไม่มีกติกาแน่นอน ตอนนี้จีนรุกเงียบ เข้ายึดสวนทุเรียน สวนมังคุด สวนลำไย โดยกำหนดราคาซื้อขายเอง ตามมาด้วยธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายของฝากและอื่นๆ อีกมาก เราจะเตรียมตัวอย่างไรจึงจะอยู่รอด ถ้าไทยไม่ทำอะไรในวันนี้ ประเทศจะจนมาก เทคโนโลยีพร้อมที่จะเปลี่ยนโลก

 

หลักสูตรการศึกษาคือคำตอบ ทั้งรัฐบาลไทยและภาคเอกชนต้องสร้างหลักสูตรการศึกษาให้ทันโลก ให้ทันคน ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและทางเทคโนโลยี ให้เน้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเทคโนโลยีและภาษาธุรกิจ โลกมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว วิชาประวัติศาสตร์ต้องเรียนแต่ควรเลิกเรียนประวัติศาสตร์เพื่อยุยงคนไทยให้ไปกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าได้แล้ว ท่านเดโช ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีเขมร บอกคนเขมรว่า “อาชีพในอนาคต คนเขมรต้องพูดภาษาอังกฤษได้ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็น งานก่อสร้างบ้านด้วยไม้จะหายไป เหล็กจะเข้ามาแทนที่” เป็นคำพูดสั้นๆ แต่ชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ จึงพบว่าขณะนี้ในกรุงพนมเปญ เด็กเขมรเรียนกวดวิชาภาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ทุกตรอกทุกซอยทุกหัวมุมถนนด้วยราคาที่ไม่แพง

เคยมีคนงานก่อสร้างชาวเขมรที่เป็นวัยรุ่นเข้ามาก่อสร้างอาคารเรียนที่โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร ชัยภูมิ มีเด็กหนุ่มช่างเชื่อมอ๊อกเหล็กฝีมือชั้นเทพ ครูที่โรงเรียนไปถามว่าทำไมจึงมีฝีมือเยี่ยมขนาดนี้ เด็กคนงานเขมรบอกว่า ท่านนายกรัฐมนตรีฮุนเซนบอกว่า “ต่อไปข้างหน้างานก่อสร้างที่เอาไม้มาจากป่ามาทำบ้านจะหมดไป ถ้าอยากก้าวหน้าในอาชีพก่อสร้างต้องเรียนงานโลหะงานไฟฟ้างานเครื่องจักรเครื่องกล”

เด็กเขมรจึงได้เรียนวิชา “งานเชื่อมอ๊อกเหล็กในโรงเรียนมัธยมศึกษา” จนมีฝีมือชั้นเทพ

คํารำพึงที่สอง เป็นคำรำพึงของ จ.ส.อ.วุฒิพงษ์ พิพิธกุล อายุ 81 ปี อดีตทหารผ่านศึกเกาหลี ปี 2512 และอดีตแรงงานซาอุฯ 6 ปี ท่านบ่นมาว่า เมื่อ 50 ปีก่อน เกาหลีใต้ตามหลังไทยอยู่ 30 ปี แต่ภายหลังรัฐบาลของเขามีวิสัยทัศน์ ส่งนักศึกษาไปเรียนต่างประเทศมากที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชีย ดูสิตอนนี้เราตามเขาไม่ทันแล้ว รถยนต์ Backhoe เขาทำมาขายหลายยี่ห้อ ทั้งซัมซุง ฮุนได เมื่อก่อนเกาหลีไม่ค่อยมีอะไร พอนักศึกษาเขาเรียนจบมาจากต่างประเทศ เขาพัฒนาขึ้นเร็วมาก ไทยเราแทบย่ำอยู่กับที่ เพราะผู้นำไม่เก่ง คิดไม่เป็น หรือมีอะไรซ่อนเร้นอยู่ (ผู้นำในอดีต) เสียดายโอกาสของคนไทย โครงการหวยบนดิน (ของใครก็ไม่ต้องเอ่ยถึงมันแสลงใจคนหลายคน) ที่เราสามารถส่งนักศึกษาไปเรียนต่างประเทศได้ปีละประมาณ 800 คน ถ้าถึง 10 ปี ก็จะได้ถึง 8,000 คน ไม่รู้ว่าจะมีใครกล้าคิดโครงการแบบนี้ได้อีกหรือไม่

กลยุทธ์ของเกาหลีคือ ลดกำลังรบเปลี่ยนมาเป็นทหารช่างให้มากขึ้น ทหารช่างสามารถสร้างสาธารณูปโภค ถ้ากระจายทหารออกไปอยู่ตามต่างจังหวัด ไม่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ คงจะลดปัญหาต่างๆ ไปได้มาก เช่น ปัญหาจราจร ไม่ต้องสร้างทางลอยฟ้า ทหารยังสามารถช่วยตำรวจและเป็นวิทยากรทางการเกษตร และจะกลายเป็นครูสอนประชาชนได้อีกมากมาย

ผมไปเป็นทหารอยู่เกาหลี 1 ปี เห็นกองทัพของเกาหลีจัดการเยี่ยมมาก เขาปรับทหาร 80% ให้เป็นทหารช่าง มีหน้าที่สร้างถนน สะพาน และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ต้องไปจ้างบริษัทก่อสร้างแบบไทย เขายังมีเงินเหลือไปพัฒนาได้อีกหลายอย่าง รัฐบาลซื้อ อิฐ หิน ปูน ทรายให้ แรงงานใช้ทหารเพียบ แล้วเขาก็ฝึกออกไปเรื่อย 4 ปี รุ่นเก่าออกไป รุ่นใหม่เข้ามา ผลพลอยได้ทหารมีความรู้ ออกไปประกอบอาชีพเป็นนายช่างได้เลย สาธารณูปโภคในเกาหลีเมื่อปี 2512 ทหารทำเกือบ 100% ถนนหนทางของเกาหลีจากชานเมืองเข้าสู่เมืองหลวงทหารทำเกือบทั้งหมด

จ่าวุฒิพงษ์ยังบอกอีกว่า ผมเคยไปทำงานอยู่ซาอุฯ 6 ปี มีคนงานหลายชาติในเอเชีย ที่บริษัทที่จ่าวุฒิพงษ์ทำงานมีคนงานประมาณ 6,000 คน มีคนงานไทย 1,200 คน และเป็นฝีมือแรงงานที่เก่งกว่าแรงงานของทุกชาติ แต่ที่ด้อยกว่าเขาคือภาษาอังกฤษเท่านั้น ผมต้องแสดงเอง (จ่าวุฒิพงษ์พูดภาษาอังกฤษได้ดีมาก) คนงานไทยจึงถูกเขาเอาเปรียบตลอด บอกให้ช่วย Complain ให้หน่อยก็ไม่ค่อยกล้า

ดังนั้นผมว่าการแข่งขันเรื่องแรงงานในเอเชีย ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสำหรับคนไทย (ในสมัยนั้น) ให้เพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษเข้าไปหน่อยสู้เขาได้แน่ ไม่ต้องวิตก ดีไม่ดีแรงงานไทยจะขายดีด้วยซ้ำ

คํารำพึงที่สาม ของ ผอ.ประยูร ธีรพงษ์ ผ่านการนำเสนอของ ผอ.อนุพงษ์ บุญฑริกกุล หัวข้อกับดักทางการศึกษา : โกงตาชั่ง ท่านแจงว่าโรงเรียนสอนเด็กจบเร็วขึ้นกว่าหลักสูตร แล้วก็นำเอาเวลาที่เหลือไว้ติวเด็ก ใช้ทั้งครูในโรงเรียนและครูในโรงเรียนเครือข่ายติวเด็ก หรือเหนือกว่านั้นก็ไปจ้างเอาติวเตอร์มาติว ผลที่ตามมาก็คือ การศึกษาไม่ตรงไปตรงมา (โกงตาชั่ง) เพราะมันไม่มีผลมาจากการสอนของครู มันมาจากผลของการติว มันจึงกลายเป็น Teach for Test มันไม่ได้ Teach for Develop เพื่อให้เด็กได้พัฒนาจริงๆ ข้อสอบ O-Net จึงเป็นกับดักทางการศึกษา เพราะคะแนน O-Net ไม่ได้สะท้อนผลการเรียนรู้พัฒนาทักษะของตัวผู้เรียนเลย แต่มีผลกระทบกับ ผอ.โรงเรียนและกับซื่อเสียงของโรงเรียนโดยมีเด็กเป็นผู้ต้องแบกภาระ เด็กสู้เพื่อผู้บริหารและสู้เพื่อโรงเรียน หนึ่งเดือนกว่าๆ ก่อนจะสอบ O-Net ครูก็ต้องดูแลติวนักเรียนอย่างเข้มข้นมาก เพราะว่ามันเป็นการสู้เพื่อโรงเรียน ไม่มีครูและเด็กอยู่ในผลสำเร็จของการสอบนั้นเลย ควรเลิกได้หรือยังครับ

นี่คือเสียงนกเสียงกา (กูรู) ได้ร้องทัก ไฟกำลังไหม้บ้านเพื่อนแล้วเราจะนิ่งกันอยู่ได้อย่างไร

เพชร เหมือนพันธุ์

 

ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 14 มีนาคม 2561

 


คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์คำรำพึงของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวในการปฏิรูปการศึกษา:โดยเพชรเหมือนพันธุ์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เราสอบไปเพื่ออะไร?

เราสอบไปเพื่ออะไร?


เปิดอ่าน 21,309 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์

ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์


เปิดอ่าน 9,369 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)

สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)

เปิดอ่าน 11,165 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
Speed Leader 5 กุญแจความสำเร็จสร้างผู้นำ
Speed Leader 5 กุญแจความสำเร็จสร้างผู้นำ
เปิดอ่าน 13,603 ☕ คลิกอ่านเลย

บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"
บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"
เปิดอ่าน 16,073 ☕ คลิกอ่านเลย

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา
กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา
เปิดอ่าน 16,540 ☕ คลิกอ่านเลย

จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกกี่แห่ง? : รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกกี่แห่ง? : รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
เปิดอ่าน 12,123 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลการสอบไม่สามารถบอกได้ทุกอย่าง
ผลการสอบไม่สามารถบอกได้ทุกอย่าง
เปิดอ่าน 6,108 ☕ คลิกอ่านเลย

FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง
เปิดอ่าน 33,263 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

มาตรฐานวิชาชีพครู
มาตรฐานวิชาชีพครู
เปิดอ่าน 247,759 ครั้ง

ป้องกันก่อนถูก
ป้องกันก่อนถูก 'ฟ้าผ่า' เรื่องง่าย ๆ ไม่ควรมองข้าม
เปิดอ่าน 26,094 ครั้ง

[Clip] เล็กๆ เปลี่ยนโลก : เคล็ดลับง่ายๆ บริหารสมองสองซีก จากการนับเลข 1-10
[Clip] เล็กๆ เปลี่ยนโลก : เคล็ดลับง่ายๆ บริหารสมองสองซีก จากการนับเลข 1-10
เปิดอ่าน 13,807 ครั้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เปิดอ่าน 18,477 ครั้ง

งานแกะสลักไม้
งานแกะสลักไม้
เปิดอ่าน 163,260 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ