ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สสส. หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชนนักคิดสู่ “นักนวัตกรรุ่นใหม่” ติดอาวุธเปลี่ยน “ไอเดีย” เป็น “นวัตกรรม” เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ


ข่าวการศึกษา 6 พ.ย. 2562 เวลา 07:32 น. เปิดอ่าน : 4,981 ครั้ง
สสส. หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชนนักคิดสู่ “นักนวัตกรรุ่นใหม่” ติดอาวุธเปลี่ยน “ไอเดีย” เป็น “นวัตกรรม” เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

Advertisement

สสส. หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชนนักคิดสู่ “นักนวัตกรรุ่นใหม่” ติดอาวุธเปลี่ยน “ไอเดีย” เป็น “นวัตกรรม” เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
 
จากผลงานกว่า 132 โครงการของเยาวชนคนรุ่นใหม่ทั้งระดับมัธยมและอาชีวศึกษา ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดอย่างล้นหลามใน “โครงการประกวดผลงานนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ : THAI HEALTH INNO AWARDS ครั้งที่ 2” จนเหลือเพียง 18 ผลงานที่โดดเด่นและผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าสู่รอบสุดท้าย
 
และเพื่อให้นวัตกรรมเพื่อสุขภาพที่เหล่าเยาวชนทั้ง 18 ทีม คิดค้นขึ้นมานั้นสามารถตอบโจทย์การเป็นนวัตกรรมที่สามารถสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างได้ผล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จึงได้จัดกิจกรรม Workshop “การพัฒนาศักยภาพนวัตกรรุ่นใหม่ด้านนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ” เพื่อติดอาวุธความคิดต่อยอดไอเดียเพิ่มเติมให้เหล่าเยาวชน เพื่อให้ได้รับรู้และเข้าใจงานทางด้านเสริมสร้างสุขภาพอย่างถูกต้อง เพิ่มทักษะการคิดและพัฒนานวัตกรรมของแต่ละทีม โดยมีผู้เชี่ยวชาญและกระบวนการต่างๆ ที่จะช่วยให้ไอเดียดีๆ เหล่านั้นถูกยกระดับและพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สามารถผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
 
โดยกิจกรรม Workshop เริ่มด้วยการกล่าวเปิดงานโดย นพ. วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 2 สสส. ที่มาให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและอธิบายการทำงานของ สสส. ทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ก่อนเข้าสู่กิจกรรมสนุกสนานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศได้ทำความรู้จักกัน
 
สำหรับจุดเด่นของกิจกรรม Workshop  ในครั้งนี้คือจะมีการแยกกลุ่มระหว่างนักเรียนและครูที่ปรึกษาออกจากกันเพื่อให้ความรู้ในการสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานที่ที่แตกต่าง โดยกลุ่มนักเรียนนักศึกษาหลังจากได้รับความรู้จากกิจกรรมเรียนรู้แนวคิด กระบวนการเสริมสร้างสุขภาพตามกฏบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) จากการบรรยายของ ดร. ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนงานนวัตกรรม สสส. เยาวชนทั้ง 18 ทีมก็จะสนุกสนานกับกิจกรรม “จีบ” ซึ่งเป็นกิจกรรมแฝงความรู้สอนให้เข้าใจกระบวนการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักของการเรียนรู้คือ การคิดเชิงออกแบบ(Design Thinking)
 
เช่นเดียวกับกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษาที่แยกห้องไปอีกห้องหนึ่ง เนื้อหาหลักของการเรียนรู้คือ การคิดเชิงออกแบบเช่นเดียวกัน แต่มีการเพิ่มอาวุธสำคัญสำหรับที่ปรึกษาคือ วิธีให้คำปรึกษาแบบการให้คำปรึกษาและรับฟังด้วยหัวใจ(Coaching and Deep Listening) เพราะวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโครงการประกวดนวัตกรรมในครั้งนี้คือ การทำให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการกลายเป็น “นวัตกรรุ่นใหม่” ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ด้วยตัวเองอย่างแท้จริง ในขณะที่ครูที่ปรึกษาก็จะทำหน้าที่เป็น “โค้ช” ที่ดี ที่สามารถช่วยให้เด็กๆ สามารถสร้างนวัตกรรมที่ดีที่สุด
 
กิจกรรมในวันที่สองเข้มข้นขึ้นด้วยการให้เด็กนำโครงการที่คิดค้นมาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ โดยมี วิทยากรกระบวนการ(Facilitator) ที่เด็กๆ เรียกกันว่า “พี่ฟา” ลงไปคลุกคลีกับเด็กๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ คิด วิเคราะห์ แยกแยะนวัตกรรม พร้อมๆ ไปกับการให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับความรู้ในการทำหน้าที่โค้ชที่ดีเพื่อที่จะแนะแนวให้เด็กๆ ปรับแต่งแก้ไขนวัตกรรม กระบวนการ และกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้นวัตกรรมเพื่อสุขภาพนำไปใช้ได้อย่างแท้จริง
 
และเพื่อให้เหล่า “ยุวนวัตกร” ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สสส. จึงจัดผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จำนวนมากมาทำหน้าที่ ที่ปรึกษา(Mentor) ช่วยให้คำแนะนำ ช่วยวิเคราะห์และเสนอแนวคิดให้แก่ทีมต่างๆ เพิ่มเติมทำให้นวัตกรรมและกระบวนการที่แต่ละทีมคิดค้นขึ้นมีโอกาสเป็นไปได้จริงภายใต้ช่วงเวลาและงบประมาณที่กำหนดโดยได้ผลสูงสุด มีการทดลองนำเสนอผลงานของแต่ละทีมเพื่อฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการนำเสนอพร้อมๆ กับการรับฟังความเห็นเพื่อปรับปรุงข้อจำกัดต่างๆ ของตนเองอีกครั้งก่อนจะนำเสนอแนวคิดที่ตกผลึกจากการร่วมกิจกรรมในวันรุ่งขึ้น
 
ช่วงสุดท้ายของกิจกรรมในวันที่สามเป็นสิ่งที่เหล่านวัตกรน้อยตื่นเต้นและจะได้ประโยชน์มากที่สุดคือ การนำเสนอโครงการที่ปรับปรุงแล้วแก่กรรมการการตัดสินโครงการ ซึ่งทำหน้าที่ที่ปรึกษารอบสุดท้ายอีกครั้ง ซึ่งเมื่อกิจกรรมมาถึงตอนท้าย นวัตกรรมที่นักนวัตกรรุ่นใหม่ทั้ง 18 ทีมคิดขึ้นก็แทบจะตอบโจทย์และมีผลลัพธ์ที่ตรงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการทุกทีม
 
“สิ่งที่ได้คือความรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในงานของเราได้” “น้องกั๊ง” ชลิตา หวานซึ้ง จาก ทีม Boripat Health Care โรงเรียนบริพัตรศึกษา จากอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บอกถึงสิ่งที่ตนและทีมได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้
 
ความรู้ใหม่ๆ ของชลิตาก็คือกระบวนการคิดเชิงออกแบบหรือ Design Thinking นั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ “ครูฟาง” สมลักษณ์ พัดค้อ อาจารย์ที่ปรึกษา โครงการเครื่องผลิตน้ำหมักจากฝักคูน โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระบุว่า จากการสังเกต เมื่อนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบมาใช้ จะทำให้แนวทางการทำงานชัดเจนขึ้นและทำได้เป็นลำดับขึ้นตอนมากขึ้น และเมื่อรู้ถึงแนวทางการให้คำปรึกษาและรับฟังด้วยหัวใจ ก็พบว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีมาก
 
“เดิมเราตีกรอบเกินไป มีแนวทางของตนเองอยู่แล้ว และพยายามให้เด็กไปตามที่เราต้องการ แต่พอเปลี่ยนมาลองใช้วิธีการ Coaching ตั้งคำถามให้เด็กคิดเอง พบว่าเด็กสามารถคิดไอเดียใหม่ๆ และแก้ปัญหาได้ดี” ครูฟาง ระบุ
 
ในส่วนของที่ปรึกษาและคณะกรรมการ ปาพจน์ ตันสุวรรณ ผู้ชำนาญการ (โครงการพิเศษ) ศูนย์ส่งเสริมองค์กรคุณภาพ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าความพอใจการจัดงานครั้งนี้ที่นำทั้งนักเรียนและครูมาให้ความรู้ทางด้าน Design Thinking และแนะนำเทคนิค coaching ให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นการได้ประโยชน์อย่างมากทั้งครูและนักเรียน
 
“ผมคิดว่า สสส. ประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็กและนักเรียน และหวังว่าพวกเขาจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ ซึ่งนั่นก็น่าพอใจมากแล้ว”
ความคาดหวังของ อ.ปาพจน์ เป็นเช่นเดียวกับกับจุดประสงค์ของสสส. ซึ่งสะท้อนผ่านคำกล่าวปิดการการประชุมของ นพ.ปัญญา ไข่มุก ที่ปรึกษาโครงการฯ ที่ระบุว่า “การอบรมครั้งนี้จะทำให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งครูและนักเรียนกลายเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการสร้างนวัตกรรม สร้างสรรค์แนวคิดในการช่วยเหลือสังคม เผยแพร่กระจายไปในวงกว้างต่อไป”

 

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

สสส. หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชนนักคิดสู่ “นักนวัตกรรุ่นใหม่” ติดอาวุธเปลี่ยน “ไอเดีย” เป็น “นวัตกรรม” เพื่อสร้างเสริมสุขภาพสสส.หนุนพัฒนา18ทีมเยาวชนนักคิดสู่“นักนวัตกรรุ่นใหม่”ติดอาวุธเปลี่ยน“ไอเดีย”เป็น“นวัตกรรม”เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

เปิดอ่าน 9,310 ☕ 11 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 130 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 171 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 215 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 539 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,766 ☕ 15 เม.ย. 2567

OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
เปิดอ่าน 877 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

แพทย์ชี้เด็กยิ่งเล่นยิ่งฉลาด แนะพ่อแม่ส่งเสริมการเล่นอย่างอิสระ 7 ประการ
แพทย์ชี้เด็กยิ่งเล่นยิ่งฉลาด แนะพ่อแม่ส่งเสริมการเล่นอย่างอิสระ 7 ประการ
เปิดอ่าน 23,494 ครั้ง

ฟื้นความทรงจำ  ลำนำบทอาขยานย้อนยุค
ฟื้นความทรงจำ ลำนำบทอาขยานย้อนยุค
เปิดอ่าน 64,958 ครั้ง

สาวไส้ความง่อยเปลี้ยระบบศึกษาไทย ใครอยู่เบื้องหลังความเหวอะหวะซ้ำซาก?
สาวไส้ความง่อยเปลี้ยระบบศึกษาไทย ใครอยู่เบื้องหลังความเหวอะหวะซ้ำซาก?
เปิดอ่าน 18,538 ครั้ง

ดวงการเงิน 2558 ดูดวงการเงินปี 2558
ดวงการเงิน 2558 ดูดวงการเงินปี 2558
เปิดอ่าน 24,801 ครั้ง

ม่วงส่าหรี
ม่วงส่าหรี
เปิดอ่าน 31,459 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ