ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เยาวชนเมืองแพร่ รวมพลังอนุรักษ์ “ดนตรีพื้นบ้าน” ผสมผสาน “พื้นเมือง-สตริง” สืบสานภูมิปัญญาล้านนา


งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคม 10 มิ.ย. 2563 เวลา 07:08 น. เปิดอ่าน : 8,360 ครั้ง
เยาวชนเมืองแพร่ รวมพลังอนุรักษ์ “ดนตรีพื้นบ้าน” ผสมผสาน “พื้นเมือง-สตริง” สืบสานภูมิปัญญาล้านนา

Advertisement

 “สะล้อ ซอ ซึง” สามคำนี้มีคำว่า “สะล้อ” และ “ซึง” เท่านั้นที่เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ส่วนคำว่า “ซอ” นั้นหมายถึงการขับร้อง ทั้งสามคำนี้มักถูกใช้เรียกขานรวมกันหมายถึงดนตรีพื้นบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ ที่มีท่วงทำนองที่อันไพเราะจากเสียงดนตรีที่ผสมผสานกับคำร้องในภาษาพื้นเมืองได้อย่างมีเสน่ห์

          แต่ด้วยความเนิบช้าของท่วงทำนอง ท่าทางการแสดง และเครื่องดนตรีที่ดูเรียบง่าย อาจทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนหันไปสนใจเครื่องดนตรีสมัยใหม่เพราะความเท่ห์และทันสมัย ประกอบกับกระแสความนิยมในตลาดของผู้บริโภค ทำให้ “ดนตรีพื้นบ้าน-พื้นเมือง” นั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องของคนเฒ่าคนแก่ ที่มักจะนำมาเล่นกันเฉพาะในช่วงเทศกาลประเพณีต่างๆ เท่านั้น
          แต่สำหรับหรับเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งของ โรงเรียนเมืองแพร่ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พวกเขากลับมีมุมมองที่ต่างออกไป โดยเห็นว่าเครื่องดนตรีพื้นเมืองนั้นไม่จำเป็นต้องเล่นเป็นเพลงพื้นเมืองเสมอไป น่าจะประยุกต์และผสมผสานให้มีรูปแบบเหมือนกับดนตรีที่นิยมในปัจจุบันได้
พวกเขาจึงรวมตัวกันในชื่อ “วงดนตรี Me-Easy” ที่นำเครื่องดนตรีพื้นบ้านประเภทต่างๆ มาประยุกต์เพื่อแสดงร่วมกับเครื่องดนตรีสมัยใหม่ พร้อมจัดทำ “โครงการดนตรีสร้างสรรค์ พื้นเมืองบ้านเฮา” เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานดนตรีพื้นเมือง โดยได้รับการสนับสนุนจาก โครงการพลังเด็กและเยาวชนสร้างสรรค์แบ่งปันความสุขจังหวัดแพร่ และ สำนักสร้างสรรค์โอกาส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
 
          นายธนภูมิ อยู่คง “เป๊ป” , นายธีรภัทร์ เวียงห้า “ฟลุ๊ก” นายธนาวุฒิ ไชยปุระ “เตอร์” และ นายอนุวิท ขัดแสนจักร “บิ๊ก” ทั้ง 4 คนเป็นแกนนำและคณะทำงานของโครงการฯ ที่แม้จะเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความชื่นชอบในเสียงดนตรีวงสตริงที่ล้ำสมัย แต่พวกเขาก็ไม่ทิ้งความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองที่เป็นคนล้านนา จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการผสมผสานอดีตเข้ากับปัจจุบันซึ่งนั่นก็คือการนำเครื่องดนตรีพื้นบ้านมาผสมผสานให้เกิดความร่วมสมัย
          “เดิมทีผมก็ชอบเล่นกีตาร์ แต่พอได้ไปเห็นว่าเครื่องดนตรีพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่เขาก็สามารถเอามาเล่นกับวงสตริงให้ดูทันสมัยได้ ก็เลยคิดว่าเครื่องดนตรีพื้นบ้านของเราก็น่าจะทำได้เช่นกัน ก็เลยเริ่มต้นจากการเอา กลองป่งโป๊งมาใส่ในดนตรีที่เล่นไปพร้อมกับการเล่นกีตาร์” น้องเป๊ป หัวหน้าวงเล่า
          หลังจากนั้นพวกเขาก็เริ่มเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้านชนิดอื่นเข้ามาผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็น “ซึง” ที่เข้ากับเครื่องดนตรีสมัยใหม่ได้อย่างลงตัวเพราะว่ามีคีย์เดียวกันนอกจากนี้ก็มี “สะล้อ” และ “ซอด้วง” รวมไปถึงเครื่องตีอย่าง “ฆ้อง” และ “ฉาบ” รวมถึงเสียงอันเร้าใจจากกลองพื้นบ้านที่มีท่วงทำนองเป็นเอกลักษณ์ อาทิ “กลองปูจา” “กลองสิ้งหม้อง” “กลองมองเซิง” และ “กลองสะบัดชัย” ที่ได้มีการผสมผสานเรื่องของท่วงท่าและลีลาในการตีให้เข้าไปกับทำนองอย่างลงตัวด้วย
          “กลองพื้นบ้านของเราสามารถประยุกต์เล่นกับวงสตริงได้ทั้งหมด ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีวิธีการตีที่แตกต่างกันไป แต่กลองเกือบทั้งหมดจะทำหน้าที่ในการให้จังหวะเหมือนกัน โดยส่วนตัวแล้วผมชอบตีกลองสิ้งหม้อง เพราะจังหวะมันสนุกสนานเร้าใจ ส่วนมากจะเอาไปใช้แห่ในงานประเพณีต่างๆ เพราะมันก็คือกลองยาวของภาคกลางนั่นเอง” น้องฟลุ๊ก มือกลองกล่าว
          “ซึงสามารถนำมาประยุกต์เล่นกับกีตาร์ได้ มีความแตกต่างตรงเมโลดี้ที่จะเล่นแบบ โด-เร-มี-ฟา-ซอลฯ ส่วนของกีตาร์จะเล่นโน้ตเป็นคอร์ด ถ้าเอาซึงมาประยุกต์ให้มีคอที่จับสายเป็นเหมือนของกีตาร์ แล้วจูนเสียงให้ตรงกัน ก็จะสามารถเล่นด้วยกันได้อย่างสนุก ซึ่งเสียงของซึงจะโดดเด่นมากตอนเล่นโซโล่ แล้วก็เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือของเราด้วย” น้องเตอร์ อธิบาย
          “ทุกวันนี้วงของเราจะมีงานแสดงต่างๆ เข้ามาเดือนละ 3-4 งาน ถ้าช่วงเทศกาลก็จะมีงานเข้ามาเยอะหน่อย ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่สนใจวงของเราก็เพราะว่าเป็นวงดนตรีประยุกต์ หลายคนที่เห็นก็ยังงงว่าเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้านมาเล่นกับกีตาร์ได้ด้วยเหรอ” น้องบิ๊ก กล่าว
          นายวิโรจน์ คำธิยะ ครูที่ปรึกษาโครงการฯ เล่าว่า จากความสงสัยของเด็กๆ ที่เห็นเครื่องดนตรีของญี่ปุ่นสามารถเล่นผสมผสานกับดนตรีสมัยใหม่ได้โดยไม่รู้สึกว่าเป็นเครื่องดนตรีโบราณ พวกเขาก็เลยลองนำเครื่องดนตรีพื้นบ้านเข้ามาผสมผสาน เพราะจริงๆ แล้วดนตรีนั้นมีความเป็นกลางเหมือนกันทุกประเทศ แต่สิ่งที่ต่างคือเอกลักษณ์และความเป็นตัวตนของชาตินั้นๆ
          “โครงการนี้นอกจากพวกเขาจะได้ทักษะในเรื่องของดนตรีพื้นบ้านติดตัวไปแล้ว อีกเรื่องหนึ่งก็คือพวกเขาก็จะมีทักษะอาชีพติดตัวไปพร้อมกัน และยังมีการพัฒนาให้มีการแสดงประกอบการเล่นดนตรีให้มีความสนุกสนานตื่นเต้น ซึ่งระหว่างการแสดงก็จะสามารถถ่ายทอดความรู้และองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านออกไปให้คนได้ชมอีกด้วย ทุกวันนี้วงดนตรีของพวกเขามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเกือบ 20 คน ดนตรีพื้นบ้านสำหรับเด็กๆ กลุ่มนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องของการอนุรักษ์ แต่ดนตรีเป็นวิถีชีวิต ที่สามารถพัฒนาเป็นทักษะอาชีพสร้างรายได้ให้พวกเขาได้ในอนาคต”
            ปัจจุบันนอกจากวงดนตรีของโรงเรียนแห่งนี้จะถูกรับเชิญให้ไปแสดงในงานต่างๆ แล้ว พวกเขายังแสดงพลัง “จิตอาสา” ในการที่จะสืบสานวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน ด้วยการเข้าไป “ตีกลองปูจา(บูชา)” ที่ วัดพระธาตุช่อแฮ และ วัดป่าแดง ในทุกๆ “วันโกน” รวมไปถึงไปแสดงโชว์ประกอบการตีกลองให้กับนักท่องเที่ยวที่มาไหว้พระที่วัดพระธาตุช่อแฮได้รับชม
ซึ่งการตีกลองปูจานั้นเป็นการตีกลองเพื่อบอกวันพระ-วันโกน กล่าวคือเป็นการตีเพื่อเตือนให้ชาวบ้านรู้ว่าพรุ่งนี้จะถึงวันพระ ให้เตรียมตัวมาทำบุญตักบาตร ถือศีลภาวนา ซึ่งการตีกลองแบบนี้ได้เลือนหายจากหลายๆ ชุมชนในภาคเหนือเพราะขาดการสืบสานและถ่ายทอด
          ดนตรีพื้นบ้านของนักเรียนโรงเรียนเมืองแพร่ในวันนี้จึงไม่ได้เป็นแค่ของเก่าที่ควรอนุรักษ์ เพราะพวกเขาเอามาประยุกต์และผสมผสานกับเครื่องดนตรีสมัยใหม่ ให้กลายเป็น ดนตรีพื้นบ้านที่ “ร่วมสมัย” ที่สามารถช่วยสืบสานวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ของล้านนาได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือทักษะชีวิตที่จะติดตัวไปกับพวกเขาไปตลอด ที่พร้อมจะกลายเป็นทักษะอาชีพได้ทันทีที่พวกเขาต้องการ.

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

เยาวชนเมืองแพร่ รวมพลังอนุรักษ์ “ดนตรีพื้นบ้าน” ผสมผสาน “พื้นเมือง-สตริง” สืบสานภูมิปัญญาล้านนาเยาวชนเมืองแพร่รวมพลังอนุรักษ์“ดนตรีพื้นบ้าน”ผสมผสาน“พื้นเมือง-สตริง”สืบสานภูมิปัญญาล้านนา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

กศจ.ชัยภูมิ ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย 1/2559 แล้ว

กศจ.ชัยภูมิ ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย 1/2559 แล้ว

เปิดอ่าน 19,489 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มูลนิธิเอสซีจีชวนเยาวชนไทยหัวใจศิลป์ มาปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์งานศิลปะ ชิงรางวัลยุวศิลปินไทย 2567
มูลนิธิเอสซีจีชวนเยาวชนไทยหัวใจศิลป์ มาปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์งานศิลปะ ชิงรางวัลยุวศิลปินไทย 2567
เปิดอ่าน 101 ☕ คลิกอ่านเลย

เปิดตัวโครงการ International Friends for Peace ครั้งที่ 3  โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดร่วมกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์)
เปิดตัวโครงการ International Friends for Peace ครั้งที่ 3 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดร่วมกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์)
เปิดอ่าน 950 ☕ คลิกอ่านเลย

วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู เน้นทักษะนวัตกรรมอาชีพยุคใหม่ แก้ปัญหาขาดแรงงานสายอาชีวะ
วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู เน้นทักษะนวัตกรรมอาชีพยุคใหม่ แก้ปัญหาขาดแรงงานสายอาชีวะ
เปิดอ่าน 403 ☕ คลิกอ่านเลย

โครงการ Let’s Read and Play เพิ่มทักษะการอ่าน, สร้างพัฒนาการเรียนรู้ ในเด็กปฐมวัย
โครงการ Let’s Read and Play เพิ่มทักษะการอ่าน, สร้างพัฒนาการเรียนรู้ ในเด็กปฐมวัย
เปิดอ่าน 502 ☕ คลิกอ่านเลย

สมศ. จับมือภาคีส่งเสริมการนำผลประเมินไปใช้
สมศ. จับมือภาคีส่งเสริมการนำผลประเมินไปใช้
เปิดอ่าน 608 ☕ คลิกอ่านเลย

สสวท. หนุนครูอัปเดตความรู้อบรม "อุตุน้อย" ฟรี
สสวท. หนุนครูอัปเดตความรู้อบรม "อุตุน้อย" ฟรี
เปิดอ่าน 850 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

Nouns ( คำนาม ) Types ( ชนิดของคำนาม )
Nouns ( คำนาม ) Types ( ชนิดของคำนาม )
เปิดอ่าน 462,402 ครั้ง

ปิดถนน 13 สาย จัดงานวันพ่อ 3 -13 ธ.ค. นี้
ปิดถนน 13 สาย จัดงานวันพ่อ 3 -13 ธ.ค. นี้
เปิดอ่าน 12,423 ครั้ง

PowerPoint  ประกอบการประชุมสัมมนาการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)
PowerPoint ประกอบการประชุมสัมมนาการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)
เปิดอ่าน 13,494 ครั้ง

คลิป งูกินงู กินกลืนกันสดๆ งูหางกระดิ่ง VS King Snake
คลิป งูกินงู กินกลืนกันสดๆ งูหางกระดิ่ง VS King Snake
เปิดอ่าน 17,179 ครั้ง

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด
เปิดอ่าน 9,393 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ